ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

นักเภสัชศาสตร์นำเอา AI มาช่วยในการผลิตและคิดค้นยารักษาโรค OCD

นักเภสัชศาสตร์นำเอา AI มาช่วยในการผลิตและคิดค้นยารักษาโรค OCD

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 5,487
เขียนโดย :
0 %E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B2+AI+%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84+OCD
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

การพัฒนาของเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดดนั้นทำให้เกิดข้อถกเถียงกันว่า AI จะเข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์หรือไม่ เพราะในปัจจุบันนี้ก็มีการคาดการณ์ว่าอาชีพส่วนหนึ่งจะหายไปในอนาคตจากการพัฒนาของ AI (Artificial Intelligence) นี้ ซึ่งล่าสุดบริษัท Startup สัญชาติอังกฤษที่มีชื่อว่า Exscientia ได้ร่วมมือกับบริษัท Sumitomo Dainippon Pharma (หนึ่งในบริษัทผลิตยาเจ้าใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น) ในการ นำเอา AI เข้ามาใช้ในการพัฒนายาที่ใช้รักษาโรค OCD ในมนุษย์ โดยใช้เวลาในการพัฒนาและคิดค้นส่วนประกอบและโครงสร้างทางเคมีของยาด้วยเวลาประมาณ 1 ปี เท่านั้น (จากกระบวนการปกติที่จะต้องมีการทดลองและพัฒนาเกือบ 5 ปี)

โรค OCD (Obsessive Compulsive Disorder)
 
บทความเกี่ยวกับ Artificial intelligence อื่นๆ

โดยโมเลกุลของยานี้มีชื่อว่า DSP-1181 สร้างขึ้นจากอัลกอริทึมที่ AI ทำการประมวลผลข้อมูลของยาที่ใช้รักษากลุ่มอาการ OCD ในปัจจุบันเข้ากับลักษณะอาการและข้อมูลการวิจัยเกี่ยวกับกลุ่มอาการดังกล่าว แล้วนำเอาข้อมูลทั้งหมดนี้มาประมวลผลเพื่อ พัฒนาสูตรทางเคมีที่ใช้ในการผลิตยาตัวใหม่ โดยทางผู้พัฒนากล่าวว่ายาที่ AI คิดค้นขึ้นมาใหม่นี้มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่ายารักษาอาการ OCD ที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่มีลักษณะการทำงานที่คล้ายเดิม คือ ยาจะเข้าไปจับกับตัวรับ (Receptor) ภายในสมองที่ก่อให้เกิดอาการ OCD ขึ้น และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมและหยุดความคิด (หรือการกระทำ) ซ้ำๆ นั้นลงได้

ศาสตราจารย์ Andrew Hopkins CEO ของบริษัท Exscientia ได้อธิบายว่าเขาสนใจเรื่องการนำเอา AI มาช่วยในการพัฒนายารักษาโรคต่างๆ ของมนุษย์เนื่องจาก การประมวลผลของ AI นั้นรวดเร็วกว่าของมนุษย์มาก และมันสามารถนำเอาข้อมูลมาชั่งน้ำหนัก, ตั้งสมมติฐานและทำการทดลองถึงความเป็นไปได้ภายในระบบของมันก่อนที่จะประมวลผลโครงสร้างทางเคมีของยาออกมา ซึ่งในส่วนนี้ก็ช่วยประหยัดเงินและเวลาให้กับทีมวิจัยได้มากเลยทีเดียว

“AI มีการประมวลผลที่รวดเร็วและแม่นยำกว่ามนุษย์มาก การนำเอาพวกมันเข้ามาช่วยในการคิดค้นยาครั้งนี้เราต้องผลิตและทดลองตัวยาเพียงแค่ 350 ตัวเพียงเท่านั้น ซึ่งก็นับได้ว่าเป็นเพียงแค่ 1 ใน 5 ของกระบวนการปกติ และอัลกอริทึมของมันยังสามารถนำเอาไปปรับใช้ได้กับตัวยาอื่นๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ, มะเร็ง, เนื้องอก หรือโรคอื่นๆ ที่พบเห็นได้ยาก”

และการนำเอา AI เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและคิดค้นยานี้ก็ได้รับคำชื่นชมจาก Sir John Bell ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ของคณะแพทย์มหาวิทยาลัย Oxford อีกด้วย

“การพัฒนาและคิดค้นยารักษาโรคเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาเนื่องจากผลิตภัณฑ์เคมีต่างๆ ทางการแพทย์นั้นต้องอาศัยความแม่นยำและปลอดภัยสูงก่อนที่จะปล่อยออกมาจากห้องทดลองได้ ซึ่งทาง Exscientia ก็ช่วยลดระยะเวลาในส่วนนี้ไปได้มากเลยทีเดียว ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์” 

ซึ่งยา DSP-1181 กำลังอยู่ในกระบวนการผลิตและการทดลองอีกเล็กน้อยก่อนจะเข้าสู่กระบวนการคลินิกขั้นต้นที่จะนำเอายาตัวนี้มา ทดลองกับมนุษย์ในช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งหากการทดลองใช้กับมนุษย์ในครั้งนี้ประสบความสำเร็จ เราก็น่าจะได้ได้เห็นยาที่ผลิตขึ้นโดย AI มากขึ้นในเร็วๆ นี้ 

“ปีนี้เป็นปีแห่งการเริ่มต้นของการใช้ AI เข้ามามีส่วนช่วยในการผลิตยา แต่พอจบศตวรรษยารักษาโรคใหม่ๆ จะต้องถูกผลิตขึ้นมาจาก AI อย่างแน่นอน” Hopkins กล่าวทิ้งท้าย


ที่มา : www.exscientia.ai , www.bbc.com , www.vox.com , www.ft.com , www.analyticsinsight.net

0 %E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B2+AI+%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84+OCD
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
สมาชิก : Member    สมาชิก
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่..
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
23 มีนาคม 2564 02:04:29 (IP 124.122.19.xxx)
GUEST
Comment Bubble Triangle
ศศิธร ชาวนา
โอเคนะค่ะ..เเต่เเม่เเบบ.สวยที่สุดก่อไม่จำเปนที่ต้องมีคนมาชวนพูดตา่งๆนานาเพราะ..กูมีชีวิตอยุ่ค่ะ..สมองมากกว่า..คนที่ได้รับประโยชน์อีก..กรุณานะค่ะ..อย่าเบา..
ดอกเตอร์..มุนษต้องกินต้องไช้..นึกว่าผีหลอก..เเท้ๆหลอกคนหลอกคน..มีไปขอายุ..พิธี..หนีผี.ระวัง.ไม่ไช่เด็กชมพูนะ...เเม่เหล็ก+สาร+ย่อ.*มีจริง..โดนหลอกมาเป็นปีเเล้ว..365วัน..กันต์..โควิด..ระวัง!!!