การพัฒนาด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วเกิดผลกระทบต่อคนทั้งโลก ทั้งในมุมการทำธุรกิจ ในมุมของการใช้ชีวิต วันนี้จะมานำเสนอในมุมของขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่เพิ่มมากขึ้นในทุกวัน
ด้วยเทคโนโลยีที่ดีขึ้นทำให้การใช้วัตถุดิบในการผลิตอุปกรณ์น้อยลง จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดใหญ่ก็ลดขนาดลงเรื่อยๆ ทำให้เกิดการผลิตจำนวนมากทำให้ราคาถูกลง จนมีการใช้กันแพร่หลาย ผลกระทบจากเรื่องนี้คือ การสะสมของขยะอิเล็กทรอนิกส์
ขยะอิเล็กทรอนิกส์ เป็นขยะที่มีอัตราเพิ่มจำนวนมากที่สุดในโลก จากข้อมูลในปี 2018 มีขยะอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น 48.5 ล้านตัน ทั่วโลกมีความสามารถในการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้เพียงแค่ 20% โดยวิธีการกำจัดส่วนใหญ่ใช้วิธีฝังกลบ ทุกวันนี้ยังไม่มีประเทศไหนที่จัดการเรื่องนี้แบบจริงจัง (ในประเทศไทยมีกฎหมายห้ามนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างชัดเจน แต่ก็ยังเป็นปลายทางในการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์)
ถ้าหากการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์มีการจัดการอย่างถูกต้อง และมีการสนับสนุนจากรัฐบาล จะสามารถสร้างอาชีพ พร้อมเม็ดเงินหลายล้านเข้าประเทศ นอกจากแนวคิดที่จัดทำลายแบบถูกต้อง ก็ยังมีแนวคิดนำคืนผู้ผลิตแบบ 100% เป็นยังไงมาดูกันครับ
รูปที่ 1 ส่วนประกอบของขยะอิเล็กทรอนิกส์
คำว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) คือขยะจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่หมดอายุการใช้งาน ชิ้นส่วนพัง บางครั้งเกิดจากแม่บ้านอยากได้เครื่องใหม่จากโฆษณาในทีวี จากข้อมูล ปี 2016 ขยะอิเล็กทรอนิกส์มีมากถึง 44.7 ล้านตัน (ทั่วโลก) โดยแบ่งออกเป็น ขยะจากอุปกรณ์ปรับอุญหภูมิ 7.6 ล้านตัน อุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ 16.8 ล้านตัน อุปกรณ์ชิ้นใหญ่ 9.1 ล้านตัน จอทีวี 6.6 ล้านตัน และในอุปกรณ์ไอที ชิ้นเล็กๆ 3.9 ล้านตัน โดยในตัวอุปกรณ์ไอที มีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็น พลาสติก ABS, เซรามิก, ทองแดง ตามลำดับ
รูปที่ 2 ตารางธาตุที่พบในขยะอิเล็กทรอนิกส์
จากตารางธาตุด้านบน แสดงให้เห็นว่า มีสารประกอบหลายๆ ตัวที่ยังใช้ในอุตสาหกรรมมีโอกาสขาดแคลนในอนาคต (สีฟ้า) ธาตุที่เป็นอันตรายในระยะยาว (สีแดง) อันตรายถึง 100 ปี
รูปที่ 3 ตารางแสดงอัตราการนำกลับมาใช้
จะเห็นได้ว่า ยังมีสารประกอบที่มีความต้องการในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นจำนวนมาก แต่การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ยังทำได้ไม่เทียบเท่ากับความต้องการ โดยธาตุบางอย่างก็ยังมีความต้องการสูง ดูได้จากตารางอัตราการนำกลับมาใช้
รูปที่ 4 ผังลำดับการอยู่ของขยะอิเล็กทรอนิกส์
จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าการต้องการวัสดุมาผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีจำนวนมาก แต่ความสามารถในการนำกลับมาใช้ใหม่น้อยมาก ทำให้เกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่สามารถกำจัดได้เยอะมาก จากการคำนวณ คือ 50 ล้านตันต่อปี นึกออกไหมครับว่าเยอะแค่ไหน เอาง่ายๆ ขยะเยอะขนาดนี้สามารถ ทำเครื่องบินพาณิชย์ได้ 125,000 ลำเยอะไหมล่ะครับ จากการคาดคะเน ขยะอิเล็กทรอนิกส์จะมีมากถึง 120 ล้านตันในปี 2050 โดยเมื่อสองปีที่แล้ว (2018) มีขยะอิเล็กทรอนิกส์ฝังตัวอยู่ตามบ้าน มากกว่า 100 ล้านชิ้น ทั่วโลก 80% ของขยะที่ว่า ไม่ได้ถูกนำมาจัดการอย่างถูกต้อง (20% นำกลับมากำจัดและแยกชิ้นส่วนอย่างถูกต้อง) และคาดว่า 76% อยู่ในสถานะ กำจัดไม่ถูกต้องหรือแค่โยนใส่ถังขยะ
รูปที่ 5 การเดินทางของขยะอิเล็กทรอนิกส์
ขยะที่กำจัดไม่ได้ ส่วนหนึ่งฝังกลบลงดิน ส่วนที่เหลือถูกส่งออกไปประเทศที่รับซื้อ จากรายงานของ TDRI ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศปลายทางที่ถูกนำขยะอิเล็กทรอนิกส์มาทิ้ง รายงานนี้ ถูกยืนยันจากข่าวหลายๆ ข่าวที่เกิดขึ้น เช่น ไฟไหม้ขยะมีพิษที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง หรือ ข่าวการตรวจค้นขยะมีพิษในนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้ เป็นต้น โดยเส้นทางขนขยะมีพิษ ถูกขนมาทางเรือตามภาพ (รูปที่ 5 การเดินทางของขยะอิเล็กทรอนิกส์ เส้นสีดำ)
รายงานขั้นตอนการเก็บขยะในประเทศไทย
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยตรง มีเพียงกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับการจัดการของเสียอันตรายทำให้เคยเกิดกรณีสารพิษปนเปื้อนในดินที่นครราชสีมา จนต้องออกแนวทางแก้ปัญหาระดับชุมชน จนแก้ปัญหานี้ได้สำเร็จ
ขยะอิเล็กทรอนิกส์มีพิษไม่ไช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป การจัดการอย่างมีระบบ มีวินัยในการกำจัดขยะ แยกขยะมีพิษ เป็นสิ่งที่คนในสังคมต้องช่วยกัน เพื่อลูกหลานของเราในอนาคต
|
Review...Every thing |