ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

อากาศร้อน อย่าโทษดวงอาทิตย์ แล้วเราจะโทษอะไรได้บ้าง ลองอ่านในบทความนี้

อากาศร้อน อย่าโทษดวงอาทิตย์ แล้วเราจะโทษอะไรได้บ้าง ลองอ่านในบทความนี้

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 10,217
เขียนโดย :
0 %E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99+%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87+%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

อัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลก เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าเทียบกับเมื่อ 50 ปีก่อน และการที่โลกอบอุ่นขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น และนักวิทยาศาสตร์สรุปว่า เราไม่สามารถอธิบายได้ด้วยวัฏจักรตามธรรมชาติเพียงอย่างเดียว เพราะมันมีผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจก หรือ Greenhouse Gases (GHGs) ที่ถูกปล่อยออกมาโดยกิจกรรมของมนุษย์เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย

โดยสภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ก๊าซเรือนกระจก ทั้ง คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide), มีเทน (Methane) และ ไนตรัสออกไซด์ (Nitrous oxide) ขึ้นสู่จุดสูงสุดในช่วงระยะ 800,000 ปีที่ผ่านมา และความสามารถในการเก็บกักความร้อนของก๊าซเหล่านี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศของโลกในหลายๆ ทาง

บทความเกี่ยวกับ Global warming อื่นๆ

อากาศร้อน อย่าโทษดวงอาทิตย์ แล้วเราจะโทษอะไรได้บ้าง ลองอ่านในบทความนี้

บทสรุปของ IPCC

เพื่อหาบทสรุปในแง่วิทยาศาสตร์ ของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก รวมถึงการหาทางออกว่าเราจะช่วยโลกได้อย่างไร ทำให้ในปี 1988 องค์การสหประชาชาติได้ตั้งกลุ่มที่มีชื่อเรียกว่า Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) โดยคณะทำงานจะมีการประชุมร่วมกันในทุกๆ 2-3 ปี เพื่อสรุปผลการค้นพบและเขียนรายงานสรุปความเคลื่อนไหวล่าสุดของ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกหรือ Climate Change ซึ่งเป็นรายงานที่แสดงให้เห็นถึงข้อตกลง และข้อสรุปที่ชุมชนนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำเห็นพ้องต้องกัน

โดยข้อสรุปอันดับแรกของ IPCC คือ ก๊าซเรือนกระจกหลายๆ ตัวมีส่วนสำคัญทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน และมนุษย์ปลดปล่อยก๊าซเหล่านี้ในหลายๆ รูปแบบ โดยส่วนใหญ่มาจากกระบวนการเผาไหม้เชื้อเพลิงในรถยนต์ รวมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรม และโรงไฟฟ้า โดยก๊าซที่มีส่วนสำคัญกับปัญหาโลกร้อนคือ คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 โดยมีก๊าซรูปแบบอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบคือ ก๊าซมีเทน ที่มาจากพื้นที่ฝังกลบขยะ จากก๊าซธรรมชาติ และจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียม รวมถึงการทำเกษตรกรรม (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก๊าซที่เกิดขึ้นในระบบย่อยอาหารของปศุสัตว์) ไนตรัสออกไซด์ จากปุ๋ย และก๊าซที่ใช้ในระบบทำความเย็น และกระบวนการทางอุตสาหกรรม รวมถึงการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ที่ทำหน้าที่ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้สถานการณ์โลกร้อนยิ่งเลวร้าย

คุณสมบัติของก๊าซต่างๆ

ก๊าซเรือนกระจกแต่ละชนิด ก็มีความสามารถในการเก็บกักความร้อนที่แตกต่างกันไป ก๊าซบางชนิดนั้นเก็บความร้อนได้มากกว่า คาร์บอนไดออกไซด์ ตัวอย่างเช่น โมเลกุลของก๊าซมีเทนนั้นไม่สามารถคงอยู่ในชั้นบรรยากาศได้ยาวนานเท่าโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ก๊าซมีเทนนั้นก็มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา และก๊าซไนตรัสออกไซด์ นั้นก็มีความสามารถในการเก็บกักความร้อนได้ดีกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ ถึง 264 เท่า

ในส่วนของก๊าซอื่นๆ อย่าง คลอโรฟลูออโรคาร์บอน หรือ CFCs ที่ถูกห้ามการใช้งานในหลายภูมิภาคของโลก เพราะว่ามันทำลายชั้นโอโซนของโลก และมันมีความสามารถในการเก็บกักความร้อนได้สูงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ ถึง 1,000 เท่า แต่ด้วยความที่อัตราการปลดปล่อยของ CFCs นั้นต่ำกว่าคาร์บอนไดออกไซด์มากๆ ทำให้มันไม่ค่อยส่งผลกระทบกับปัญหาโลกร้อนสักเท่าไหร่

และเมื่อก๊าซที่พวกเราปลดปล่อยขึ้นไปนั้นได้ทำหน้าที่เก็บกักความร้อนในชั้นบรรยากาศ ทำให้เกิดสภาวะ เรือนกระจก หรือ Greenhouse effect โดยก๊าซเหล่านี้ยอมให้แสงอาทิตย์ส่องผ่านลงมายังพื้นโลก แต่มันเก็บกักความร้อนที่แผ่ออกมาจากผิวโลก ไม่ถูกปลดปล่อยออกไปในอวกาศ เหมือนเช่นผนังกระจกใสในโรงเรือนที่ใช้ปลูกพืช และยิ่งมีก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศมากเท่าไหร่ ผลกระทบก็ยิ่งรุนแรง และแน่นอนว่าโลกยิ่งร้อนขึ้นเรื่อยๆ

อากาศร้อน อย่าโทษดวงอาทิตย์ แล้วเราจะโทษอะไรได้บ้าง ลองอ่านในบทความนี้

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง

แม้จะมีความพยายามในระดับโลกเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีความเคลื่อนไหวที่สำคัญคือ ความตกลงปารีส (Paris climate agreement) ที่เกิดขึ้นในปี 2015 ที่เป็นความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อกำหนดมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ แต่อย่างไรก็ดี การปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีอัตราการปลดปล่อยสูงสุดในปี 2018

ผู้คนโดยส่วนใหญ่คิดว่า ภาวะโลกร้อน (Global warming) และ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก (Climate change) นั้นเป็นสิ่งเดียวกัน แต่นักวิทยาศาสตร์นิยมเลือกใช้คำว่า Climate change เมื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนในขณะนี้ ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศ และระบบภูมิอากาศของโลก และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกนั้น ไม่ได้ส่งผลเพียงแค่ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้เกิดเหตุการณ์เกี่ยวกับสภาพอากาศที่มีความสำคัญ ทำให้เกิดการลดลงของจำนวนประชากรสัตว์ป่า และการเปลี่ยนแปลงสภาพถิ่นที่อยู่ของพวกมัน ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และทำให้เกิดผลกระทบต่างๆ อีกมากมาย


ที่มา : www.nationalgeographic.com , th.wikipedia.org


0 %E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99+%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87+%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
ไม่เสพติดไอที แต่ชอบเสพข่าวเทคโนโลยี หาความรู้ใหม่ๆ มาใส่สมอง
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น