เป็นประเด็นร้อนขึ้นมาทันที เมื่อ iLaw หยิบยกเรื่องราวที่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเห็นชอบให้ผ่านร่างกฎหมาย พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบ 133 เสียง ไม่เห็นชอบ 0 เสียง และงดออกเสียง 16 เสียง โดยหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ทาง iLaw หยิบมาพูดถึงคือ การโพสต์แสดงความคิดเห็น หรือการเขียนบทความบนโลกออนไลน์ที่โจมตีหรือ "เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐนั้น" อาจถูกจัดให้เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ฯ
โดยอ้างอิงข้อมูลจาก iLaw ได้มีการระบุว่า พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ฯ ฉบับนี้ได้เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถ ขอข้อมูลจากผู้ดูแลระบบ หรือข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสามารถเข้ายึดอุปกรณ์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ สามารถทำการค้นหา เจาะข้อมูล ทำสำเนาข้อมูล สามารถสอดส่องข้อมูลได้แบบ Real-time โดยในกรณีเร่งด่วน เจ้าหน้าที่รัฐสามารถกระทำการโดยไม่ต้องขอหมายศาล โดยที่เจ้าของระบบคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถขออุทธรณ์ เพื่อยับยั้งการ ยึด เจาะข้อมูล หรือการขอข้อมูลโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งถ้าใครไม่ให้ความร่วมมือ หรือแม้แต่ไม่ยอมกำจัดไวรัสออกจากระบบคอมพิวเตอร์ นั้นก็อาจทำให้ต้องถูกลงโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท
เรามาดูข้อความใน พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นปัญหา โดยขอนำข้อความบางส่วนจาก มาตราที่ 3 มานำเสนอเอาไว้ดังนี้
มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้
"การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์" หมายความว่า มาตรการหรือ การดำเนินการที่กำหนดขึ้นเพื่อป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศอันกระทบกับความมั่นคงของรัฐ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางการทหาร และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ"ภัยคุกคามทางไซเบอร์" หมายความว่า การกระทำหรือดำเนินการใดๆ โดยมิชอบโดยใช้คอมพิวเตอร์ หรือ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือ โปรแกรมไม่พึงประสงค์ โดยมุ่งหมายให้เกิดการประทุษร้าย หรือ เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง"
จะเห็นว่าคำจำกัดความของ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ นั้นหมายความถึงการใช้งานคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรม ในลักษณะของแฮกเกอร์ เพื่อทำให้เกิดความเสียหายกับระบบคอมพิวเตอร์ใดๆ ซึ่งเป็นเรื่องความปลอดภัยทางระบบคอมพิวเตอร์ ไม่ได้เกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็น หรือเขียนวิพากษ์วิจารณ์หน่วยงานรัฐแต่อย่างใด
แต่เรามาดู เนื้อความในมาตราที่ 59 ซึ่งทาง iLaw ได้แสดงความคิดเห็นว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้ อาจเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถเอาผิดกับผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ต หรือระบบคอมพิวเตอร์ เป็นช่องทางในการวิพากษ์วิจารณ์หน่วยงานรัฐ ด้วยการขยายคำจำกัดความของ ภัยคุกคามไซเบอร์ ให้กว้างขึ้น ดังนี้
มาตรา 59 ในพระราชบัญญัตินี้
ภัยคุกคามระดับวิกฤติ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ภัยคุกคามจากการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงเป็นวงกว้าง ทำให้การทำงานของหน่วยงานรัฐ การให้บริการของโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศที่ให้กับประชาชนล้มเหลวทั้งระบบ จนรัฐควบคุมไม่ได้และเสี่ยงจะทำให้บุคคลจำนวนมากเสียชีวิตหรือระบบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์จำนวนมากถูกทำลายเป็นวงกว้างในระดับประเทศ
2. ภัยคุกคามทางไซเบอร์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขันหรือมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา การรบหรือการสงคราม
ซึ่งในข้อ 2 ทาง iLaw ได้แสดงความคิดเห็นว่า เป็นจุดอันตราย เนื่องจากเป็นถ้อยคำที่ตีความหมายของ ภัยคุกคามไซเบอร์ ได้กว้างกว่าที่กำหนดไว้ในมาตราที่ 3 โดยเนื้อความสำคัญคือ "ภัยคุกคามทางไซเบอร์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ" ซึ่งการเขียนเอาไว้แบบนี้ มีความเสี่ยงที่ในอนาคต อาจมีผู้ตีความว่า ภัยคุกคามไซเบอร์ หมายรวมถึงเรื่องของ เนื้อหา บนโลกออนไลน์ที่วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล หรือหน่วยงานรัฐได้
เมื่อมีการหยิบยกประเด็นในเรื่องนี้ขึ้นมาโดย iLaw เราลองมาฟังเรื่องราวจากอีกฟากฝั่งหนึ่ง โดย นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ซึ่งเป็นที่ปรึกษากฎหมายสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และเป็นหนึ่งในผู้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ได้ชี้แจงเกี่ยวกับข้อกังวล 8 ข้อของ iLaw โดยมีสื่อ MGR Online ได้นำเสนอข้อมูลการชี้แจงของนายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ เอาไว้ดังนี้
คำชี้แจง : มีการร่างมาจากกฎหมายของสหภาพยุโรป-สิงคโปร์ ซึ่งถ้อยคําชัดเจน
(นิยาม “ภัยคุกคามทางไซเบอร์” ในมาตรา 3 หมายความว่า “การกระทำหรือการดำเนินการใดๆ โดยมิชอบโดยใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์โดยมุ่งหมายให้เกิดการประทุษร้ายต่อระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง”)
คำชี้แจง : ไม่จริง
คำชี้แจง : ต้องมีการขออำนาจจากศาล (ตามมาตรา 65) และใช้กับอาชญากรที่โจมตีระบบสาธารณูปโภคจนล่ม ไม่เกี่ยวกับประชาชนทั่วไป
คำชี้แจง : จนท.จะใช้อํานาจตามคําสั่งศาล ถ้ามีการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ ที่ทําให้ระบบล่มเท่านั้น เฉพาะกับผู้กระทําผิด ไม่ใช่ประชาชน
คำชี้แจง : ไม่มีเขียนในกฎหมาย
คำชี้แจง : ไม่จริง ขอศาลยกเลิกได้
คำชี้แจง : สภาความมั่นคงแห่งชาติ เข้ามาเพราะเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีคนล้มตายจํานวนมากตามที่อธิบายข้างต้น (ตามความหมายของ “ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในระดับวิกฤต” ที่ระบุไว้ในมาตรา 59)
คำชี้แจง : โทษจําคุกมีเฉพาะถ้าเจ้าหน้าที่รัฐไปเปิดเผยข้อมูลที่ได้มา ไม่เกี่ยวกับประชาชน
|
ไม่เสพติดไอที แต่ชอบเสพข่าวเทคโนโลยี หาความรู้ใหม่ๆ มาใส่สมอง |