การจับปลาเพื่อนำมาทำเป็นอาหารนั้นมีอยู่มาอย่างยาวนานตั้งแต่จุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่ามนุษย์ แต่การตกปลาในรูปแบบของกีฬาหรือ การตกปลาเพื่อนันทนาการนั้นเพิ่งเกิดขึ้นมาเมื่อไม่ช้าไม่นานมานี้เอง และผู้ที่นิยมตกปลาเพื่อเป็นการกีฬาหรือเพื่อความบันเทิงใจนั้นก็ยึดถือในเรื่องของการ แกะเบ็ดออกจากปากปลาแล้วปล่อยมันกลับคืนไป ด้วยแนวความคิดที่ว่าเป็นการอนุรักษ์ประชากรปลาให้มันได้มีชีวิตอยู่อย่างยั่งยืน
แต่อย่างไรก็ดี ผลการวิจัยล่าสุดที่เผยแพร่ใน Journal of Experimental Biology บอกกับเราว่าการตกปลาแล้วปล่อยมันไปนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นการทำร้ายปลาอย่างรุนแรง และสามารถส่งผลให้มันตายได้เลย
การวิจัยนี้เน้นไปที่การศึกษาความเสียหายที่เกิดจากตะขอเบ็ดที่เกี่ยวเข้ากับปากของปลา เมื่อมันโดนขอเกี่ยวแล้ว ก็มีโอกาสที่เนื้อเยื้อบริเวณปากจะเกิดความเสียหาย และในบางกรณีก็เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง แต่ก็มีความเชื่อมาอย่างยาวนานว่า ปลาจะไม่ได้รับความเจ็บปวดจากการโดนเบ็ดเกี่ยว เมื่อแกะเบ็ดออกมันก็หายเจ็บแล้ว ด้วยแนวความคิดแบบนี้ทำให้ไม่เกิดความวิตกกังวลใดสำหรับการตกปลาเพื่อนันทนาการ แต่ผลการวิจัยชี้ว่า การที่มีตะขอเกี่ยวปากปลาในช่วงระยะเวลาสั้นๆ นั้นไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง
โดยนักวิจัยได้เขียนเอาไว้ในรายงานว่า "การใช้ภาพวีดีโอแบบความเร็วสูง ร่วมกับการคำนวณในเรื่องพลศาสตร์ของไหล ทำให้เกิดคำถามว่า อาการบาดเจ็บบริเวณรอบๆ ปากของปลานั้นส่งผลกระทบเชิงลบต่อการดูดกลืนอาหารของปลาหรือไม่? พวกเราตั้งสมมติฐานว่า ปลาที่มีอาการบาดเจ็บที่ปากอันเนื่องจากเคยโดนเบ็ดเกี่ยว จะทำให้ความสามารถในการกินอาหารของมันลดลง"
และก็ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าสมมติฐานนั้นถูกต้อง ซึ่งกลไกการกินอาหารด้วยการดูดนั้น มีความสำคัญกับปลาหลายๆ ชนิดที่ใช้วิธีการดูดเพื่อจับและกลืนเหยื่อ และปลาที่มีอาการบาดเจ็บที่ปากจากการโดนตะขอเกี่ยว จะทำให้ความสามารถในการกินอาหารของมันลดลง ทำให้มันเสี่ยงต่อการตาย
และนักวิจัยกล่าวอย่างชัดเจนว่า "ปลาที่บาดเจ็บจากการโดนตะขอเกี่ยว จะทำให้ความสามารถในการกินอาหารของมันลดลง ถึงแม้มันจะได้รับการนำตะขอออกแล้วก็ตาม"
งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งเน้นไปที่ผลกระทบเรื่องการกินอาหารของปลาที่เคยโดนเบ็ดเกี่ยวปาก และผลก็ออกมาในเชิงลบอย่างชัดเจน และผลงานวิจัยชิ้นอื่นๆ ที่จะตามมานั้นจะมองเรื่องอื่นๆ ในภาพรวมว่าปลาที่เคยถูกตกและปล่อยกลับคืนนั้น จะมีโอกาสรอดชีวิตมากน้อยขนาดไหน แต่ด้วยความเป็นจริงที่ว่า อาการบาดเจ็บที่ปากนั้นมีผลกระทบต่อการกิน แค่นี้ก็คงจะเดาได้ไม่ยากว่า ภาพรวมเกี่ยวกับเรื่องนี้มันไม่น่าจะออกมาดีได้เลย
ก็พอสรุปได้ว่า สำหรับคนที่ชอบตกปลาเพื่อการกีฬา หรือตกปลาเพื่อนันทนาการ ที่เคยคิดว่ามันไม่ได้ส่งผลเสียอะไรกับปลา เปลี่ยนความคิดเสียใหม่ก็ยังทันนะครับ
|
ไม่เสพติดไอที แต่ชอบเสพข่าวเทคโนโลยี หาความรู้ใหม่ๆ มาใส่สมอง |
ความคิดเห็นที่ 3
15 ตุลาคม 2561 00:34:50
|
||
GUEST |
Leotheras01
คนเขียนบทความนี่เคยตกปลาป่าววะ แนะนำแดกปลาเยอะๆ เคยเห็นปลาตามบ่อไหม พวกปลาบึก สวาย บ่อดังๆเช่น บึงสำราญ ปลาบึกตัวนึงราคาไม่ใช่ถูกๆนำมาให้ตกเล่น ถ้าโดนเบ็ดแล้วตายห่าง่ายๆ คงตายยกบ่อล่ะ
|
|
ความคิดเห็นที่ 2
14 ตุลาคม 2561 20:27:55
|
||
GUEST |
หม่อมสามหยอย
คนเขียนบทความกินปลาเยอะนะครับ เป็นห่วง
|
|
ความคิดเห็นที่ 1
14 ตุลาคม 2561 18:00:54
|
||
GUEST |
นักตกปลา
2 วัน มันก็แดกเหยื่อเหมือนเดิมคับ เคยเจอปลาเก๋าที่ตกได้ มีเหยื่อปลอม อยู่ในท้อง 5 ตัว นักวิจัย ต้องหัดตกปลาให้มากกว่านี้นะ |
|