ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

ผู้ใช้งาน Redhat Linux ระวัง ! พบช่องโหว่ OpenSSH เปิดทางแฮกเกอร์ยิงโค้ดใส่เครื่องโดยไม่ได้รับอนุญาต

ผู้ใช้งาน Redhat Linux ระวัง ! พบช่องโหว่ OpenSSH เปิดทางแฮกเกอร์ยิงโค้ดใส่เครื่องโดยไม่ได้รับอนุญาต
ภาพจาก : https://www.wallpaperflare.com/black-and-red-logo-red-hat-rhel-red-hat-enterprise-linux-red-wallpaper-275887
เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 2,408
เขียนโดย :
0 %E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99+Redhat+Linux+%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87+%21+%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88+OpenSSH+%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AE%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%95
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

ระบบปฏิบัติการ หรือ OS นั้นถูกสร้างขึ้นมาอย่างซับซ้อน ทำให้ระบบปฏิบัติการทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น DOS, UNIX, Windows หรือ MacOS แม้กระทั่ง Linux ก็มักจะมีช่องโหว่ร้ายแรงให้ได้หวั่นใจกันอยู่เสมอ

จากรายงานโดย The Hacker News ได้มีรายงานถึงการตรวจพบช่องโหว่ของ OpenSSH ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือที่ให้ผู้ใช้งานทำงานทำงานรีโมทได้ผ่าน SSH Protocol ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อส่วนดังกล่าวมีช่องโหว่ ก็ย่อมส่งผลต่อความร้ายแรงของช่องโหว่ไปด้วย โดยช่องโหว่ที่ค้นพบดังกล่าวนั้นมีชื่อว่า CVE-2024-6409 ซึ่งเป็นช่องโหว่ที่ถูกค้นพบระหว่างที่กลุ่มนักวิจัยทางความปลอดภัยไซเบอร์กำลังตรวจสอบการทำงานของช่องโหว่ CVE-2024-6387 (หรือ RegreSSHion) ซึ่งเป็นช่องโหว่ที่เกี่ยวข้องกับระบบรีโมทผ่าน SSH Protocol เช่นเดียวกัน

บทความเกี่ยวกับ Operating System อื่นๆ

โดยช่องโหว่ CVE-2024-6409 นั้นจะเกี่ยวข้องกับการใช้ Privsep Child Process ในการรันโค้ดจากระยะไกล ซึ่งระบบโปรเซสดังกล่าวนั้นตามปกติจะใช้ในการแยกสิทธิ์ในการจัดการระบบที่โดยทั่วไปนั้นจะต้องใช้ User ที่มีสิทธิ์ในระดับ Root เพื่อจัดการ และป้องกันผู้ใช้งานที่ไม่มีสิทธิ์ (Unprevileged) เข้ามายุ่งเกี่ยวในการจัดการระบบได้ แต่ช่องโหว่นี้นั้นจะเปิดช่องให้แม้แต่ผู้ใช้งานที่ไม่สิทธิ์ก็สามารถรันโค้ดจากระยะไกลได้ ถ้าเป็นไปตามเงื่อนไขคือ 

“ถ้าผู้โจมตีไม่ยืนยันตัวตนในเวลาที่กำหนด (LoginGraceTime โดยปกติจะถูกกำหนดอยู่ที่ 120 วินาที) ตัวโปรโตคอล OpenSSH จะทำการรัน SIGALRM handler ในรูปแบบ Asynchronously ขึ้นมาพร้อมกับฟังก์ชั่นที่ไม่ปลอดภัยหลายตัว โดยเฉพาะตัวฟังก์ชั่น cleanup_exit() ที่สามารถนำไปสู่การยิงโค้ดจากระยะไกล (Remote Code Execution) จากผู้ใช้งานที่ไม่มีสิทธิ์ในระบบได้”

แต่ถึงแม้ช่องโหว่นี้จะมีความร้ายแรง เป็นอันตรายสูง แต่การโจมตีนั้นต้องใช้วิธีการที่ซับซ้อนด้วยเทคนิคระดับสูง ทำให้ทางทีมวิจัยระบุว่า โอกาสคือแฮกเกอร์จะเข้าถึงระบบเพื่อรันโค้ดได้นั้นหมายความว่า เหยื่อจะต้องอยู่ในภาวะที่ “โชคร้ายมาก” (Worst Case Scenario) ซึ่งผู้ที่มีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากช่องโหว่นี้คือ ผู้ที่ใช้งาน Red Hat Enterprise Linux 9 ใน เวอร์ชัน 8.7p1 และ 8.8p1 เท่านั้น

สำหรับปัญหาช่องโหว่ดังกล่าว แหล่งข่าวไม่ได้ระบุว่าผู้พัฒนา Linux รุ่นดังกล่าวได้ทำการออก Patch หรืออัปเดตมาเพื่อทำการแก้ไขปิดช่องโหว่แล้วหรือยัง ทางทีมข่าวขอให้ผู้ใช้งานทำงานอัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุด และ ถ้ามีข้อสงสัยให้ติดต่อทางช่องทางติดต่ออย่างเป็นทางการของผู้พัฒนา


ที่มา : thehackernews.com , nvd.nist.gov , github.com , www.redhat.com

0 %E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99+Redhat+Linux+%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87+%21+%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88+OpenSSH+%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AE%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%95
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
นักเขียน : Editor    นักเขียน
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น