เมื่อช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาได้มีข่าวเรื่องการฟ้องร้องของกลุ่ม LGBTQ กับ YouTube เรื่องการปิดกั้นการโฆษณาของคอนเทนท์ YouTube สำหรับกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยทางโจทก์ได้ระบุว่าตัวอัลกอริทึมของ YouTube นั้นไม่เอื้ออำนวยต่อการลงคอนเทนท์ของพวกเขา และมีการ “คัดกรองเนื้อหาอย่างไม่เป็นธรรมและขัดขวางการสร้างรายได้ของกลุ่ม LGBTQ” เนื่องจากคลิปของ YouTuber ที่เป็น LGBTQ นั้นถูกจัดเนื้อหาเอาไว้ว่าเป็นคอนเทนท์จากผู้สร้างที่เป็น Queer
โดย Stephanie Frosch หนึ่งใน LGBTQ Creator ที่มียอดผู้ติดตามเกือบ 370,000 คนนั้นเคยได้รับเงินจาก YouTube ที่ราว 23,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 726,500 บาท) ในช่วงปีค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2553) แต่ ณ ตอนนี้เธอได้เงินเพียงแค่เดือนละไม่ถึง 100 ดอลลาร์ (ราว 3200 บาท) เท่านั้น รวมทั้ง YouTuber ที่เป็น LGBTQ คนอื่นๆ เองก็ได้รับเงินจำนวนที่ไม่เป็นธรรมด้วย นอกจากนี้คอนเทนท์บางอย่างของผู้ที่เป็น LGBTQ ก็ ถูกจำกัดการเข้าถึง แม้ว่าจะไม่ได้มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมภายในคลิปด้วยเช่นกัน
DO NOT LET YOUTUBE GET AWAY WITH THIS.
— Chase Ross 🐝 (@ChaseRoss) May 30, 2018
I uploaded my video TWICE to see if the word "transgender" would trigger the algorithm... and every step of the way was fine UNTIL I added the word Transgender. RIGHT away, the video was demonetized.
Literally. RIGHT. AWAY. pic.twitter.com/mvCucFPyZP
ทาง Google ก็ได้ออกมาโต้แย้งข้อกล่าวหานี้และกล่าวว่าแพลทฟอร์มของทางบริษัทนั้นอยู่ภายใต้ Communications Decency Act หรือกฎหมายคุ้มครองดูแลความเหมาะสมของสื่อสังคมออนไลน์ มาตรา 230 ที่ทางบริษัทมีสิทธิในการควบคุมเนื้อหาภายในแพลทฟอร์มอย่างความรุนแรง, สื่อลามก หรือเนื้อหาที่ผิดกฎหมายที่ทำการโพสต์โดยผู้ใช้ (ในกรณีนี้คือ YouTube Creator) และไม่จำเป็นจะต้องรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่ผู้ใช้งานโพสต์บนแพลทฟอร์มของบริษัท
แต่ Peter Obstler ทนายความของฝั่งโจทก์ได้แย้งว่า YouTube (และ Google) ไม่สามารถอ้างกฎหมายมาตราดังกล่าวนี้ได้เพราะเป็นการ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
และช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมานี้ ทางกระทรวงยุติธรรมก็ได้เข้ามาแทรกแซงและขอให้ศาลยุติธรรมเพิกถอนคดีดังกล่าวนี้ โดยแย้งว่ากฎหมายมาตรา 230 นี้ไม่ได้มีการจำกัดเนื้อหาที่เหล่า YouTuber อัปโหลดลง YouTube และปิดกั้นการลงวิดีโอของ YouTuber แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม Obstler ก็แย้งอีกว่าอัลกอริทึมของ Google (และ YouTube) นั้นมีการเลือกปฏิบัติต่อ Creator ที่เป็น LGBTQ จริง เพราะมันไม่ได้ตรวจจับและคัดกรองเนื้อหาตามที่ทางบริษัทระบุ แต่มันใช้การระบุว่า YouTuber คนนั้นๆ เป็น LGBTQ หรือไม่ต่างหาก และสิ่งที่น่าสนใจในคดีนี้คือการที่ฝั่งโจทก์ได้ ยกเอาคำสั่งใหม่ของ Donald Trump ที่จะยกเลิกการคุ้มครองมาตรา 230 และบังคับให้บริษัทต้องมีส่วนรับผิดชอบในส่วนนี้ออกมากล่าวอ้างต่อจำเลยอีกครั้งหนึ่ง
“เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา Donald Trump ได้บังคับใช้คำสั่งใหม่ออกมา และการกระทำของกระทรวงยุติธรรม (ที่สั่งเพิกถอนคดีไปเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน) ก็เป็นการขัดกับคำสั่งใหม่ของประธานาธิบดี”
Brian Willen ที่ปรึกษาคดีความของ Google ก็ได้ออกมาโต้แย้งในประเด็นนี้อีกครั้งและกล่าวว่าในส่วนของ คดีความครั้งนี้นั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกับคำสั่งของ Trump เลยแม้แต่น้อย และทนายความของฝั่งกระทรวงยุติธรรมก็ได้ออกมาเสริมว่าคำสั่งใหม่ของ Trump นั้นเน้นประเด็นสำคัญของมาตรา 230 ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับการฟ้องร้องครั้งนี้
ซึ่งเหตุผลที่กล่าวมานี้ก็ฟังขึ้นอยู่ไม่น้อยเพราะใจความสำคัญของคดีนี้คือการ “ได้รับเงินอย่างไม่เป็นธรรม” ของผู้ใช้ที่เป็น LGBTQ มากกว่าประเด็นเรื่องความรับผิดชอบของหน่วยงาน แม้ว่าจะมีผลประโยชน์เกี่ยวเนื่องกันแต่สิ่งที่เหล่า YouTuber ที่เป็น LGBTQ โฟกัสคือเหตุผลที่ทาง YouTube เลี่ยงการจ่ายเงินให้กันพวกเขามากกว่า
ความคืบหน้าของคดีนี้ก็ยังคงต้องรอดูกันต่อไปอีกระยะหนึ่ง แต่หากคดีถูกยกฟ้องไปก็คาดว่า Obstler ก็น่าจะต้องทำการยื่นอุทรณ์ต่อไปอีก
|
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่.. |