ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

อธิษฐานสิจ๊ะ ญี่ปุ่น ปล่อยดาวเทียมสร้างฝนดาวตกสวยๆ แต่ทำไมมีคนไม่ปลื้ม

อธิษฐานสิจ๊ะ ญี่ปุ่น ปล่อยดาวเทียมสร้างฝนดาวตกสวยๆ แต่ทำไมมีคนไม่ปลื้ม

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 4,884
เขียนโดย :
0 %E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B9%8A%E0%B8%B0+%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99+%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9D%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%86+%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%A1
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

ใครที่ชอบชื่นชมความงดงามของปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ แต่ก็หงุดหงิดที่ความสวยงามเหล่านั้นไม่เคยเกิดขึ้นในสถานที่ หรือในเวลาที่เราเฝ้าดูได้ง่ายๆ ไม่แน่ว่าดาวเทียมแบบใหม่ของญี่ปุ่นอาจเป็นสิ่งที่คุณกำลังรออยู่

ไม่ต้องรอคอยปรากฏการณ์ฝนดาวตกสวยๆ ที่จะเกิดขึ้นนานทีปีหนอีกต่อไป เพราะดาวเทียมดวงนี้สามารถสร้างฝนดาวตกที่สวยงาม แค่เพียงเราสั่งงานมันเท่านั้น ซึ่งในทางทฤษฎีแล้ว ดาวเทียมดวงนี้สามารถสร้างฝนดาวตกได้ง่ายๆ แค่เพียงสั่งงาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว การสร้างฝนดาวตกจำลองมันจะง่ายขนาดนั้นเลยจริงไหม เป็นอะไรที่ต้องทดลองให้รู้กันไป

บทความเกี่ยวกับ japan อื่นๆ

โดยบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่อยู่เบื้องหลังไอเดียดาวเทียมสร้างฝนดาวตกนี้มีชื่อว่า Astro Live Experiences (ALE) พวกเขาได้ทำการส่งดาวเทียมขึ้นไปสู่ห้วงอวกาศด้วยจรวดแบบ Epsilon

จากระดับวงโคจรต่ำของโลก (Low-Earth orbit) ที่ความสูงประมาณ 400 กิโลเมตรเหนือผิวโลก (248.6 ไมล์) และด้วยน้ำหนัก 65 กิโลกรัม ดาวเทียมนี้จะทำหน้าที่ปล่อยเม็ดโลหะขนาดเล็กที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 1 ซม. ลงมายังโลก โดยเม็ดโลหะขนาดเล็กจะถูกเผาไหม้เมื่อเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลกคล้ายกับสะเก็ดดาวตก ทำให้เกิดเส้นไฟสวยงามปรากฏบนท้องฟ้าที่เห็นได้จากระยะไกลในรัศมี 200 กิโลเมตรบนโลก (124 ไมล์) และดาวเทียมแต่ละดวงจะบรรจุเม็ดโลหะเอาไว้ให้มากพอสำหรับการแสดงโชว์ได้หลายๆ ครั้ง และโปรเจคสร้างฝนดาวตกเทียมนี้มีชื่อว่า Sky Canvas

โดยคุณ Hiroki Kajihara จากบริษัท ALE กล่าวกับสื่อ Wired ว่า "เมื่อเปรียบเทียบกับดาวตกตามธรรมชาติ ดาวตกของเรานั้นน่าตื่นตา และเคลื่อนที่ผ่านชั้นบรรยากาศด้วยความเร็วที่ช้ากว่า ทำให้มองเห็นได้เป็นระยะเวลานาน"

แต่การจะสร้างดาวตกจำลองนั้นไม่ใช่อะไรที่ง่ายเลย

เพื่อให้เม็ดโลหะถูกเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศ มันต้องการความเร็วที่มากพอ ดั้งนั้นเม็ดโลหะต้องถูกยิงออกมาจากดาวเทียม แทนที่จะเป็นการปล่อยให้มันหล่นลงมาเฉยๆ และต้องควบคุมแรงถีบจากการยิงให้เกิดขึ้นกับดาวเทียมให้น้อยที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้ตำแหน่งของดาวเทียมเคลื่อนออกจากจุดที่มันควรจะอยู่

โดยทีมงานได้ออกแบบถังความดันแก๊สเพื่อใช้ยิงเม็ดโลหะออกไปที่ความเร็วสูงถึง 8 กิโลเมตรต่อวินาที และคุณ Adrien Lemal ซึ่งเป็นวิศวกรของ ALE กล่าวกับสื่อ BBC ว่า "สิ่งนี้ไม่เคยมีใครสร้างขี้นมาก่อนบนโลก และเราต้องแน่ใจว่ามันทำงานได้ดีในอวกาศ"

ทีมงานต้องการให้ดาวเทียมใช้งานได้อย่างจริงจังในปีหน้า พวกเขาหวังว่าจะได้จัดแสดงฝนดาวตกเหนือเมือง ฮิโรชิมะ เนื่องในโอกาสครบรอบ 75 ปี ที่เมืองนี้ถูกฝ่ายอเมริกาทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ใส่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

แต่ก็ยังมีความกังวลจากหลายๆ ฝ่ายว่า ถ้าหากดาวเทียมของ ALE ตั้งองศาการยิงเม็ดโลหะผิดพลาด ก็อาจสร้างความเสียหายให้กับดาวเทียมดวงอื่นๆ ได้ โดยคุณ Moriba Jah จากโปรแกรมศึกษาวัตถุอวกาศจาก University of Arizona กล่าวกับสื่อ National Geographic ว่า "ก่อนที่เราจะเอาอะไรขึ้นไปบนอวกาศ เราต้องคิดให้รอบคอบก่อนที่จะทำอะไรลงไป"


ที่มา : www.sciencealert.com


0 %E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B9%8A%E0%B8%B0+%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99+%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9D%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%86+%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%A1
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
ไม่เสพติดไอที แต่ชอบเสพข่าวเทคโนโลยี หาความรู้ใหม่ๆ มาใส่สมอง
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น