ในระยะหลังนั้น ความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของ macOS อาจไม่เท่าเหมือนดังเก่า เนื่องมาจากการที่มีข่าวการตรวจพบช่องโหว่ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ รวมทั้งตกเป็นเป้าของการแฮกด้วยวิธีการต่าง ๆ มากมาย และยังมีมัลแวร์หลากสายพันธุ์คอยจับจ้องเล่นงาน สำหรับข่าวนี้ผู้ใช้งาน macOS อาจจะต้องมีความระมัดระวังตัวมากยิ่งขึ้น
จากรายงานโดยเว็บไซต์ Cyber Security News ได้กล่าวถึงการตรวจพบช่องโหว่ความปลอดภัยตัวใหม่บนระบบ Sandbox ของระบบปฏิบัติการ macOS ซึ่งระบบดังกล่าวนั้นเป็นระบบป้องกันภัยไซเบอร์ด้วยการสร้างภาวะแวดล้อมที่จำกัดขึ้นมาเพื่อกักตัวมัลแวร์ไว้ทำการวิเคราะห์และจัดการกับมัลแวร์ โดยช่องโหว่ดังกล่าวนั้นถูกตรวจพบโดยทีมวิจัยจากไมโครซอฟท์ ภายใต้รหัสช่องโหว่ CVE-2025-31191 หรือ ช่องโหว่ Sandbox Escape
โดยช่องโหว่ดังกล่าวนี้จะอยู่ในส่วน Security-scoped Bookmarks ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่เปิดช่องให้แอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่อยู่ใน Sandbox สามารถเข้าถึงไฟล์ของผู้ใช้งานที่ถูกกำหนดไว้ได้ ซึ่งไอเทมบน Bookmarks เหล่านี้ตามปกติจะถูกปกป้องด้วยระบบเข้ารหัส HMAC-SHA256 พร้อมด้วยคีย์เฉพาะของแต่ละแอปพลิเคชันในรูปแบบ HMAC-SHA256(secret, [bundle-id]) ซึ่งช่องโหว่นี้จะเป็นการอาศัยประโยชน์จากระบบป้องกันการเข้าถึง Keychain ที่โดยปกติแล้วระบบของ Apple จะจำกัดการเข้าถึงไอเทมต่าง ๆ ของระบบ Keychain ที่อยู่ใน com.apple.scopedbookmarksagent.xpc ด้วยการใช้ระบบกลั่นกรองการเข้าถึงที่มีชื่อว่า Access Control Lists (ACL) แต่ทั้งนี้ระบบป้องกันดังกล่าวที่กล่าวมานั้น กลับไม่ได้ป้องกันการลบหรือสับเปลี่ยนไอเทมบน Keychain แต่อย่างใด
ภาพจาก : https://cybersecuritynews.com/macos-sandbox-escape-vulnerability/
ทีมวิจัยยังได้อธิบายต่ออีกว่า ด้วยช่องโหว่ที่กล่าวมานี้ ทำให้มัลแวร์ที่แทรกตัวเข้าไปใน Sandbox สามารถเข้าถึง และลบกุญแจต่าง ๆ ที่อยู่ใน ScopedBookmarkAgent ได้ ซึ่งหลังจากที่แฮกเกอร์ใช้มัลแวร์ลบคีย์เรียบร้อยแล้ว แฮกเกอร์ก็จะทำการแทรกคีย์ใหม่เข้าไปพร้อมเพิ่มรายชื่อของตัวคีย์เข้าไปใน ACL เพื่อให้สามารถเข้าถึงระบบได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นแฮกเกอร์ยังสามารถที่จะปฏิบัติการตามนี้ได้อีกด้วย
สำหรับผลิตภัณฑ์ของ Apple ที่ได้รับผลกระทบจากช่องโหว่ดังกล่าวนั้น มีดังนี้
โดยทาง Apple ได้ออกมาแจ้งเตือนให้ผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการรุ่นที่ได้รับผลกระทบ อัปเดตขึ้นเป็นรุ่นล่าสุดในทันทีเพื่อปิดช่องโหว่ดังกล่าว และทางไมโครซอฟท์ก็ได้ออกมาแจ้งว่าแอปพลิเคชัน Microsoft Defender for Endpoint นั้นสามารถที่จะช่วยตรวจจับกิจกรรมผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของ Keychain ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นการนำมาติดตั้งอาจช่วยให้ตัวระบบนั้นมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นสำหรับผู้ใช้งานในระดับองค์กร
|