ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

พบช่องโหว่ความปลอดภัยใหม่บน Windows Remote Desktop ที่ให้แฮกเกอร์ทำ RCE ได้

พบช่องโหว่ความปลอดภัยใหม่บน Windows Remote Desktop ที่ให้แฮกเกอร์ทำ RCE ได้
ภาพจาก : https://biscomputer.com/microsoft-reminder-windows-server-20h2-reaches-eos-next-month/%E2%80%9D
เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 1,079
เขียนโดย :
0 %E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%99+Windows+Remote+Desktop+%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%AE%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B3+RCE+%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

เครื่องมือยอดฮิตสำหรับเหล่าทีมเทคนิคที่ต้องทำงานระยะไกลคงจะหนีไม่พ้น Windows Remote Desktop ที่เปิดโอกาสให้สมาชิกทีมสามารถเข้ามาแก้ปัญหาต่าง ๆ บนเครื่องไม่ว่าจะจากมุมไหนของโลกก็ได้ แต่จุดนี้ก็มีช่องโหว่หลายช่องให้แฮกเกอร์ใช้งานเช่นเดียวกัน

จากรายงานโดยเว็บไซต์ Cyber Security News ได้รายงานถึงการตรวจพบช่องโหว่ของบริการ Windows Remote Desktop โดยมาจากไมโครซอฟท์เอง ซึ่งช่องโหว่นี้มีชื่อว่า CVE-2024-49115 มีความร้ายแรงที่ค่อนข้างสูงมากจนได้รับคะแนน CVSS ถึง 8.1 เลยทีเดียว

บทความเกี่ยวกับ Microsoft อื่นๆ

ข้อมูลในเชิงเทคนิคนั้น แหล่งข่าวไม่ได้เปิดเผยมากนัก แต่มีการเปิดเผยว่าช่องโหว่ดังกล่าวที่ทำให้แฮกเกอร์สามารถใช้เทคนิคยิงโค้ดจากระยะไกล (Remote Code Execution) ได้นั้น มาจากจุดอ่อนที่แฝงอยู่ในระบบถึง 2 ตัว นั้นคือ

  • CWE-591: จุดอ่อนของระบบที่เกิดจากการบรรจุข้อมูลสำคัญมีความอ่อนไหวสูง (Sensitive Data) ในหน่วยความจำที่ถูกล็อกอย่างไม่สมบูรณ์
  • CWE-416: Use After Free หรือ จุดอ่อนที่เกิดจากการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างบนหน่วยความจำที่ว่างลงหลังจากการถูกใช้งาน

โดยหลังจากที่จุดอ่อนดังกล่าวเกิดขึ้น แฮกเกอร์จะใช้ประโยชน์จากตรงนี้ด้วยการใช้ Remote Desktop Gateway ต่อสายเข้ามายังเครื่อง ซึ่งหลังจากที่ต่อเข้ามาได้สำเร็จ ผลลัพธ์จะนำไปสู่การเกิด Race Condition (ภาวะการทำงานซ้ำ) จนเปิดช่องโหว่ Use-After-Free บนหน่วยความจำ ทำให้แฮกเกอร์สามารถรันโค้ดจากระยะไกลบนหน่วยความจำดังกล่าวได้ทันที และที่น่ากลัวไปกว่านั้นคือ การใช้งานช่องโหว่นี้สามารถทำได้โดยที่แฮกเกอร์ไม่จำเป็นจะต้องมีสิทธิ์ในการเข้าถึงระบบ และเหยื่อไม่จำเป็นจะต้องเข้ามายุ่งเกี่ยวอะไรด้วย (เรียกได้ว่าเหนือกว่าการใช้มัลแวร์ที่ต้องหลอกให้เหยื่อติดตั้งก่อน)

แต่ข่าวดีก็คือ การใช้งานช่องโหว่นั้น ถึงแม้ตามคำอธิบายข้างบนจะดูง่าย แต่ในทางปฏิบัติค่อนข้างซับซ้อนระดับต้องใช้ความชำนาญพิเศษเพื่อใช้ช่องโหว่ดังกล่าว และช่องโหว่ดังกล่าวนั้นทางไมโครซอฟท์ก็ได้ทำการออกอัปเดตในช่วงกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมาเพื่ออุดช่องโหว่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยผู้ที่ใช้งาน Windows รุ่นดังต่อไปนี้ ขอให้ทำการตรวจสอบว่าเป็นเวอร์ชันล่าสุดหรือยัง ถ้ายัง ขอให้ทำการอัปเดตโดยด่วน

  • Windows Server 2016
  • Windows Server 2019
  • Windows Server 2022
  • Windows Server 2025

ที่มา : cybersecuritynews.com

0 %E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%99+Windows+Remote+Desktop+%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%AE%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B3+RCE+%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
นักเขียน : Editor    นักเขียน
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น