ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

เหนือเมฆ ! แฮกเกอร์ใช้ Spotify Playlist เพื่อโปรโมตซอฟต์แวร์เถื่อน และโปรโกงเกม

เหนือเมฆ ! แฮกเกอร์ใช้ Spotify Playlist เพื่อโปรโมตซอฟต์แวร์เถื่อน และโปรโกงเกม
ภาพจาก : https://wall.alphacoders.com/big.php?i=1093974
เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 447
เขียนโดย :
0 %E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%86+%21+%E0%B9%81%E0%B8%AE%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89+Spotify+Playlist+%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

การเผยแพร่โปรโมตซอฟต์แวร์เถื่อนนั้น ในอดีตที่ผ่านมาหลายคนอาจคุ้นเคยกับซุ้มขายซอฟต์แวร์เถื่อนตามห้างดัง ตามมาด้วยยุคการใช้เว็บบอร์ดและ Bittorrent เพื่อโปรโมต แต่ในปัจจุบัน การโปรโมตซอฟต์แวร์เถื่อนกลับไปไกลกว่านั้นแล้ว

จากรายงานโดยเว็บไซต์ Bleeping Computer ได้รายงานถึงการตรวจพบพฤติกรรมการโปรโมตซอฟต์แวร์เถื่อน, โปรแกรมโกงเกม, รวมไปถึงลิงก์สแปม และ เว็บไซต์สำหรับการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์เถื่อน (Warez Sites) ด้วยวิธีการที่เหนือความคาดหมาย นั่นคือ การใช้รายการลำดับการฟัง หรือ Playlist ที่อยู่บนแอปพลิเคชันสำหรับการสตรีมมิ่งเพลง และพอดแคสต์ชื่อดังอย่าง Spotify ซึ่งเป็นการใช้เทคนิคด้วยการใช้คำที่คนมักจะค้นหาบ่อย ๆ เพื่อทำให้เวลาค้นหาคำ Playlist ดังกล่าวก็จะปรากฎขึ้นมาลำดับต้น ๆ ในทันที

บทความเกี่ยวกับ Digital Marketing อื่นๆ

โดยเป็นเทคนิครูปแบบเดียวกันกับที่ผู้พัฒนาเว็บไซต์ และนักการตลาดนำมาใช้งานเพื่อเพิ่มผู้เข้าชมเว็บไซต์ หรือที่เรียกว่า SEO (Search Engine Opitimization) ซึ่งทีมวิจัยได้ระบุว่า การระบุการทำเช่นนี้ ไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อการค้นหาแล้วขึ้นมาลำดับต้น ๆ บน Spotify เท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการค้นหาผ่าน Search Engine อย่าง Google อีกด้วย ทำให้แฮกเกอร์สามารถโปรโมตซอฟต์แวร์เถื่อน ไปจนถึงการใช้ประโยชน์เพื่อการปล่อยมัลแวร์ได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น ด้วยการอาศัยความแข็งแกร่งของโดเมน Spotify ที่ทำให้การค้นหาเจอนั้นง่ายกว่าการใช้งานเว็บไซต์ทั่วไป ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ใช้งาน Google ทำการค้นหาด้วยคำว่า “Free Software” “Free Download” หรือ “Crack” ตัว Playlist ที่ตั้งชื่อโดยแฮกเกอร์ที่มีการใช้คำเดียวกัน ก็จะปรากฎขึ้นมาบนหน้าแรกโดยอัตโนมัติ

ซึ่งการโปรโมตของซอฟต์แวร์เถื่อนบน Spotify ครั้งล่าสุดที่ทางทีมวิจัยได้ยกมาเป็นตัวอย่างนั้นคือ ทางแฮกเกอร์ได้ทำการตั้งชื่อ Playlist โดยขึ้นต้นว่า "Sony Vegas Pro 13 Crack..." ซึ่งเป็นการพยายามโปรโมตตัวแคร็ก (เครื่องมือที่ช่วยให้สามารถใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนโดยที่ไม่ต้องใส่รหัสเฉพาะที่ซื้อมา) โดยมีชื่อเว็บไซต์อยู่บน Playlist และในส่วนบอกรายละเอียด (Description) ซึ่งสำหรับการเผยแพร่ซอฟต์แวร์เถื่อนตัวอื่น ๆ นั้นก็มักจะมีการตั้งชื่อไฟล์ และใส่รายละเอียดที่คล้ายคลึงกัน โดยใน Playlist นั้นเมื่อตรวจสอบแล้วกลับพบเป็นเพียงการบรรจุเพลงต่าง ๆ แบบสุ่มเท่านั้น ไม่มีสิ่งผิดปกติแต่อย่างใด

เหนือเมฆ ! แฮกเกอร์ใช้ Spotify Playlist เพื่อโปรโมตซอฟต์แวร์เถื่อน และโปรโกงเกม
ภาพจาก : https://www.bleepingcomputer.com/news/security/spotify-abused-to-promote-pirated-software-and-game-cheats/

นอกจากนั้น ทางทีมวิจัยยังพบว่า แฮกเกอร์ยังได้มีการทำพอดแคสต์ (Podcast) ปลอม ที่มีความยาวเพียง 20 วินาที โดยข้างในมีคำพูดชักชวนให้ผู้เข้ามาชมกดลิงก์ที่อยู่ในส่วนบอกรายละเอียด โดยลิงก์นั้นอาจจะแตกต่างกันออกไป บางรายอาจเป็นการปล่อยลิงก์ไฟล์ Torrent แต่บางรายอาจจะเป็นลิงก์สแปม หรือ ลิงก์ที่จะพาไปสู่ช่องบนแอปแชท Telegram ก็ได้ ซึ่งตัวอย่างคำพูดที่อยู่ในพอดแคสต์ปลอมที่ถูกยกตัวอย่างมานั้นจะอยู่ในลักษณะดังนี้

"Hello viewers, welcome to my channel, there is good news from me, if you want to download or listen to audiobooks from this channel, please click the link in the description and sign up there then you will get unlimited book access, please follow me I am looking for several ebook and audiobook options. Thank you for coming to my channel, warm greetings from me."

โดยบางพอดแคสต์นั้น นอกจากจะเป็นการแจกลิงก์ตามที่กล่าวมาไว้ข้างต้น แฮกเกอร์ยังได้มีการตั้งชื่อเชิญชวนโดยมุ่งเน้นไปยังเหล่าเกมเมอร์ ด้วยชื่อที่ดึงดูดใจอย่าง “Free Cheat Code”, “Fortnite Hacks”, “Roblox Scripts” รวมไปถึง "GTA V Mods” ซึ่งเป็นการตั้งชื่อตามกระแสวิดีโอเกม Grand Theft Auto ภาค 5 ที่กำลังโด่งดัง รวมไปถึงคำที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมโกงเกม หรือที่รู้จักกันในชื่อ Trainers อีกด้วย

อย่างไรก็ดี ทางทีมวิจัยก็ได้ตักเตือนมาว่า การแจกซอฟต์แวร์ด้วยเหล่าแฮกเกอร์นั้นมักจะมีจุดประสงค์แฝงไว้อยู่ ซึ่งซอฟต์แวร์ หรือแคร็กที่ดาวน์โหลดมานั้นอาจจะสามารถใช้งานได้จริง แต่อาจจะมีมัลแวร์สอดไส้ไว้อยู่เพื่อลักลอบเข้าสู่ระบบเครื่องของผู้ที่ดาวน์โหลดไป ดังนั้น ขอให้ผู้ใช้งานมีความระมัดระวังตัวให้มาก


ที่มา : www.bleepingcomputer.com

0 %E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%86+%21+%E0%B9%81%E0%B8%AE%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89+Spotify+Playlist+%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
นักเขียน : Editor    นักเขียน
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น