ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

นักพัฒนาระวังตัว พบไฟล์แพ็กเกจ jQuery ฝังโทรจัน แฝงตัวอยู่บน Repo ของ npm, GitHub, และ jsDelivr

นักพัฒนาระวังตัว พบไฟล์แพ็กเกจ jQuery ฝังโทรจัน แฝงตัวอยู่บน Repo ของ npm, GitHub, และ jsDelivr
ภาพจาก : https://blog.phylum.io/persistent-npm-campaign-shipping-trojanized-jquery/
เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 3,102
เขียนโดย :
0 %E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7+%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%88+jQuery+%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99+%E0%B9%81%E0%B8%9D%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%99+Repo+%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87+npm%2C+GitHub%2C+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0+jsDelivr
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

สำหรับนักพัฒนาซอฟท์แวร์และแอปพลิเคชันนั้น อาจต้องมีการดาวน์โหลดอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ มาจากเว็บไซต์ดังเช่น GoitHub กันเป็นเรื่องปกติ นั่นทำให้แฮกเกอร์ได้ใช้ประโยชน์จากจุดนี้ด้วย

จากรายงานข่าวโดยเว็บไซต์ The Hacker News นั้น ได้มีการรายงานถึงการตรวจพบแพ็กเกจ jQuery (JavaScript Library รูปแบบหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อให้พัฒนาเว็บไซต์ได้ง่ายและสวยงามน่าดึงดูดมากขึ้น) แฝงโทรจันมากกว่า 68 แพ็กเกจ ถูกฝากไปในแหล่งรวมข้อมูล (Repository หรือ Repo) ชื่อดังในวงการนักพัฒนามากมายหลายแหล่ง เช่น GitHub, jsDelivr และ NPM

โดยนักวิจัยจาก Phylu.io ซึ่งเป็นบริษัทด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ได้กล่าวว่า jQuery แฝงโทรจันเหล่านี้มี “รูปแบบการโจมตีที่ซับซ้อน มีความทานทนต่อการพยายามกำจัดจากระบบรักษาความปลอดภัย” และการใช้งาน Library เหล่านี้จะส่งผลให้เว็บไซต์นั้นเสี่ยงต่อการถูกโจมตีห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain Attacks อีกด้วย

ซึ่งจากทางทีมวิจัยได้ตรวจพบแพ็กเกจ jQuery แฝงมัลแวร์ดังกล่าวบน Repo ของ NPM ระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม - 23 มิถุนายน ปีนี้ โดยตัวแพ็กเกจที่มีปัญหานั้นถูกตั้งชื่อเพื่อล่อลวงเหยื่อไว้มากมายหลายชื่อ เช่น cdnjquery, footersicons, jquertyi, jqueryxxx, logoo, และ sytlesheets โดยมีข้อสังเกตว่า ทุกแพ็กเกจน่าจะถูกรวบรวม ประกอบกันขึ้นมาเองโดยเหล่าแฮกเกอร์ที่อาจจะมาจากหลายกลุ่ม เนื่องมาจากการที่มีแพ็กเกจจำนวนมาก มีวิธีการตั้งชื่อที่มักจะไม่ได้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และมักจะถูกอัปโหลดขึ้นโดยบัญชีผู้ใช้งานที่ไม่ค่อยซ้ำกัน นอกจากนั้นแล้ว ระยะเวลาในการอัปโหลดแต่ละแพ็กเกจนั้นยังมีระยะห่างของเวลาที่มากพอสมควรอีกด้วย

นอกจากนั้นแล้วทาง Phylum.io ยังมีข้อสังเกตที่น่าสนใจอีกหลายอย่างเกี่ยวกับกลุ่มแพ็กเกจ jQuery แฝงโทรจันกลุ่มดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการที่ “แพ็กเกจต้องสงสัยบน GitHub ส่วนมากมักมีส่วนเกี่ยวข้องกับบัญชีผู้ใช้งาน "indexsc" ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง” “บนแพ็กเกจเหล่านี้ แฮกเกอร์มักจะฝังมัลแวร์ไว้ในส่วนฟังก์ชัน 'end' ซึ่งช่วยให้แฮกเกอร์สามารถทำการดูดข้อมูลจากเว็บฟอร์มของเหยื่อไปยัง URL เป้าหมายที่แฮกเกอร์กำหนดไว้ได้” และ “แฮกเกอร์มักจะทำให้แหล่งที่มานั้นดูน่าเชื่อถือ หรือใช้กลเม็ดในการโหลดโค้ดให้ฝ่า Firewall ได้ง่าย ด้วยการทำงานผ่าน jsDelivr แทนที่จะโหลดโค้ดผ่านทาง GitHub โดยตรง”

นักพัฒนาระวังตัว พบไฟล์แพ็กเกจ jQuery ฝังโทรจัน แฝงตัวอยู่บน Repo ของ npm, GitHub, และ jsDelivr
ภาพจาก https://blog.phylum.io/persistent-npm-campaign-shipping-trojanized-jquery/

จากข่าวดังกล่าว จะเห็นได้นักพัฒนาเว็บไซต์อาจต้องมีการตรึกตรองให้มากขึ้นกว่าเดิม เวลาที่จะมีการนำเอา JavaScript Library ตัวใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์ เพราะ ถ้ามีการนำเอาตัวที่ต้องสงสัยเข้ามาใช้งานนั้น แทนที่เว็บไซต์จะใช้งานได้ดี กลับจะกลายเป็นถูกขโมยข้อมูล หรือถูกนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์เชิงลบของเหล่าแฮกเกอร์แทน


ที่มา : thehackernews.com , www.javatpoint.com , blog.phylum.io

0 %E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7+%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%88+jQuery+%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99+%E0%B9%81%E0%B8%9D%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%99+Repo+%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87+npm%2C+GitHub%2C+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0+jsDelivr
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
นักเขียน : Editor    นักเขียน
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น