ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

มหาวิทยาลัยแห่งวอเตอร์ลูเตรียมเลิกใช้เครื่องขายของอัตโนมัติ หลัง นศ. พบตู้มีระบบจดจำใบหน้าซ่อนอยู่

มหาวิทยาลัยแห่งวอเตอร์ลูเตรียมเลิกใช้เครื่องขายของอัตโนมัติ หลัง นศ. พบตู้มีระบบจดจำใบหน้าซ่อนอยู่
ภาพจาก : https://vendingwarehouse.nz/
เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 2,305
เขียนโดย :
0 %E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4+%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87+%E0%B8%99%E0%B8%A8.+%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

มหาวิทยาลัยแห่งวอเตอร์ลู ที่มีชื่อเสียงในสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์, วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ประกาศเตรียมเลิกใช้งานเครื่องขายสินค้าอัตโนมัติรุ่นปัจจุบันทั้งหมดที่ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัย หลังมีนักศึกษาพบว่าตัวเครื่องนั้นมีระบบจดจำใบหน้า (Facial Recognition) ฝังอยู่ในระบบของเครื่อง 

โดยเครื่องในซีรีย์ดังกล่าวเป็นตู้ขายของอัจฉริยะ (Smart Vending Machine) ที่ให้บริการอยู่ภายในวิทยาเขต ซึ่งกลายเป็นประเด็นขึ้นมา หลัง SquidKid47 สมาชิกเว็บบอร์ด Reddit ได้โพสรูปเครื่องขายช็อคโกแลตชื่อดัง M&Ms ที่กำลังขัดข้องจนปรากฎข้อความบนเครื่องว่า Invenda.Vending.FacialRecognition.App.exe - Application Error

มหาวิทยาลัยแห่งวอเตอร์ลูเตรียมเลิกใช้เครื่องขายของอัตโนมัติ หลัง นศ. พบตู้มีระบบจดจำใบหน้าซ่อนอยู่
ภาพจาก https://www.reddit.com/r/uwaterloo/comments/1anvv0q/hey_so_why_do_the_stupid_mm_machines_have_facial/

โดยโพสดังกล่าวนั้นสร้างความสนใจจากเหล่าผู้ใช้งานเว็บบอร์ดเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นได้มีการสืบสวนกรณีดังกล่าวจนพบว่าตัวเครื่องนั้นถูกให้บริการโดยบริษัท Adaria Vending Machine ซึ่งถูกผลิตโดยบริษัท Invenda Group อีกทีหนึ่ง

ตัวแทน0kdบริษัท Adatia Vending Machine ซึ่งเป็นผู้อำนวยการแผนกเทคโนโลยีของบริษัท ได้ออกมาตอบโต้ว่า “เครื่องไม่สามารถจดจำใบหน้าของบุคคลทั่วไปได้ด้วยอุปกรณ์ และแอปพลิเคชั่นที่มีภายในเครื่อง” พร้อมทั้งยังระบุว่า “ตัวเครื่องนั้นไม่ได้ถ่ายหรือเก็บรูปใบหน้าของผู้ใดไว้ในตัวเครื่อง ระบบดังกล่าวนั้นมีไว้เพียงเพื่อตรวจสอบว่ามีผู้ที่ต้องการใช้บริการอยู่ในบริเวณหน้าตัวเครื่องไหม เพื่อที่จะได้ทำการเปิดส่วนการให้บริการขายสินค้าได้อย่างถูกต้องตามความต้องการ” อีกทั้งยังยืนยันว่า ได้ปฏิบัติตามกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคล หรือ GDPR อย่างเคร่งครัด

ทาง Invenda Group ยังได้ออกมาย้ำว่า ตัวเครื่องนั้นไม่ได้บันทึกข้อมูลเช่นรูปภาพของผู้ใช้งานไว้ รวมถึงไม่ได้มีการส่งออกข้อมูลเหล่านั้นผ่านทางอินเตอร์เน็ต และได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวอย่างเคร่งครัด

ส่วนทางมหาวิทยาลัยแห่งวอเตอร์ลู ได้กล่าวถึงมาตรการเพื่อจัดการกับประเด็นข้างต้นกับทาง CTV News ว่า

“ทางมหาวิทยาลัยไม่นิ่งนอนใจ และได้ทำการเตรียมเลิกใช้งานพร้อมส่งตัวเครื่องกลับคืนให้กับทางผู้ให้บริการ โดยในระหว่างการดำเนินการ ทางมหาวิทยาลัยได้จัดการปิดการใช้งานซอร์ฟแวร์ที่เป็นประเด็นดังกล่าวลงแล้ว”

ทาง Business Insider ยังได้ระบุอีกว่า สาเหตุที่เทคโนโลยีการตรวจจับใบหน้าได้กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมานั้น เริ่มต้นมาจากเหตุการณ์ในปี ค.ศ. 2018 (พ.ศ. 261) ที่ทางการจีนได้ใช้เทคโนโลยีนี้เพื่อจับตามองนักเรียนในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ซึ่งได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของความไม่ไว้วางใจระหว่างนักเรียน กับเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย 


ที่มา : www.businessinsider.com

0 %E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4+%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87+%E0%B8%99%E0%B8%A8.+%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
นักเขียน : Editor    นักเขียน
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น