Twitter ได้ดำเนินการตรวจสอบระบบภายในใหม่อีกครั้งหนึ่งหลังจากที่มีผู้ใช้ร้องเรียนเข้ามาว่า ระบบการแสดงผลภาพพรีวิว (การครอปรูป) ของ Twitter มีแนวโน้มที่จะเหยียดสีผิว เพราะหลังจากที่ได้ทวีตรูปภาพที่มีทั้งคนผิวขาวและผิวดำก็พบว่าภาพที่แสดงผลในพรีวิวมักจะเป็นภาพของคนผิวขาวเสมอ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะอยู่ส่วนใดของรูปก็ตาม
Trying a horrible experiment...
— Tony “Abolish (Pol)ICE” Arcieri 🦀 (@bascule) September 19, 2020
Which will the Twitter algorithm pick: Mitch McConnell or Barack Obama? pic.twitter.com/bR1GRyCkia
โดยเมื่อสองปีก่อนทางบริษัทได้ปรับปรุงเครื่องมือและอัลกอริทึมเป็นตัวช่วยในการครอปรูปภาพให้จับ “จุดเด่นของภาพ” แทนการตรวจจับใบหน้าที่อาจมีความคลาดเคลื่อนในรูปที่ไม่มีใบหน้าคนอย่างภาพวิวหรือสิ่งของต่างๆ ที่จะใช้การครอปส่วนกลางของรูปภาพมาแสดงผลแทนหากตรวจไม่พบใบหน้าในรูปนั้นๆ
ซึ่งหลังจากที่ Twitter ได้ปรับระบบใหม่นี้ก็ทำให้มีคำถามว่าการที่อัลกอริทึมของ Twitter ใช้การจับจุดเด่นในภาพและมีการแสดงผลภาพคนผิวขาวมากกว่าผิวดำนั้นอาจเป็นการอคติในการเรียนรู้ของ AI ที่ทำให้เกิดการเหยียดสีผิวหรือไม่? เพราะไม่เพียงแค่ภาพคนเท่านั้น แต่ภาพวาดของการ์ตูนเองก็ไม่แสดงผลภาพตัวการ์ตูนผิวดำเช่นกัน
I wonder if Twitter does this to fictional characters too.
— Jordan Simonovski (@_jsimonovski) September 20, 2020
Lenny Carl pic.twitter.com/fmJMWkkYEf
ทางบริษัทไม่ได้นิ่งนอนใจในประเด็นนี้แต่อย่างใด และ Dantley Davis ที่เป็นหัวหน้าฝ่ายดีไซน์ของ Twitter ก็ได้ออกมาทวีตว่าทางบริษัทกำลังตรวจสอบระบบนี้และได้ทวีตภาพที่มีการตัดต่อเล็กน้อยให้ทั้งคนผิวขาวและผิวสีใส่ชุดสูทเดียวกัน ผลปรากฏว่าภาพที่มีการตัดต่อนั้นมีการแสดงผลภาพคนผิวสีที่ไม่ได้ตัดต่อเพิ่มเติม
Here's another example of what I've experimented with. It's not a scientific test as it's an isolated example, but it points to some variables that we need to look into. Both men now have the same suits and I covered their hands. We're still investigating the NN. pic.twitter.com/06BhFgDkyA
— Dantley (@dantley) September 20, 2020
และพนักงานของ Twitter อีกหลายคนก็ได้ออกมาทวีตขอบคุณผู้ใช้ที่สังเกตเห็นข้อบกพร่องของระบบและแจ้งเข้ามาเพื่อให้บริษัททำการตรวจสอบระบบในส่วนนี้อีกครั้ง พร้อมทั้งยืนยันว่าจะดำเนินการวิเคราะห์ถึงลักษณะการทำงานของระบบนี้อย่างละเอียดเพื่อลดความอคติของเครื่องมือนี้ลงอย่างเต็มที่
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าในช่วงหลายปีมานี้จะมีการพัฒนาความสามารถของ AI ให้ก้าวกระโดดไปอย่างมาก แต่เราก็ยังเห็นข้อบกพร่องในประเด็นนี้อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งหลายๆ คนก็สันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะบุคคลที่พัฒนาและป้อนข้อมูลให้กับ AI เหล่านี้นั้นเป็นมนุษย์ที่ยังมีความอคติในใจอยู่ ทำให้อาจมีการถ่ายทอดอคตินี้ไปสู่ AI ได้นั่นเอง
|
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่.. |