เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้มีข่าวออกมาว่าทางกรมการเกษตรและสหกรณ์ประมงของฮ่องกง หรือ AFCD (Hong Kong’s Agriculture, Fisheries and Conservation Department) ที่รับเลี้ยงดูสัตว์เลี้ยงของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ได้รับผลการตรวจเชื้อ COVID-19 จากเนื้อเยื่อภายในจมูกและช่องปากของสุนัขตัวหนึ่งเป็นผลบวกอ่อนๆ (Weak Positive) หรือมีค่าการติดเชื้อไวรัสในระดับต่ำ
ซึ่งเมื่อทราบผลการตรวจเชื้อ ทาง AFCD ก็ได้ตัดสินใจ กักตัว สุนัขที่ผลเป็นบวกนี้แยกกับตัวอื่นๆ เป็นเวลา 14 วัน (เช่นเดียวกับการกักตัวของมนุษย์ในกลุ่มเสี่ยง) เพื่อตรวจหาการเติบโตของเชื้ออีกทีหนึ่ง ซึ่งผลการ ตรวจเชื้อซ้ำ ในวันที่ 2 มีนาคมก็แสดงให้เห็นว่า สุขภาพโดยรวมของสุนัขตัวนี้ก็อยู่ในเกณฑ์ดี และไม่มีสัญญาณหรือแสดงอาการป่วยแต่อย่างใด รวมทั้งตรวจ ไม่พบไวรัสในช่องปาก ของสุนัขตัวนี้แล้ว แต่ยังพบเชื้อภายในโพรงจมูกอยู่
แต่หลังจากที่รายงานเรื่องผลตรวจของสุนัขตัวนี้แพร่ออกไปก็ทำให้คนส่วนหนึ่งเกิดความกังวลว่านี่อาจเป็นครั้งแรกที่เชื้อไวรัส COVID-19 เกิดการกลายพันธุ์จนสามารถแพร่ระบาดจากผู้ป่วยมาสู่สัตว์เลี้ยงได้ ถึงแม้ว่าทาง AFCD และ WHO จะยืนยันตรงกันว่าในขณะนี้ยัง “ไม่มีหลักฐานพิสูจน์ชัดเจน” ว่าสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัขและแมวจะสามารถติดเชื้อ COVID-19 ได้ แต่ก็ไม่ได้คลายความกังวลให้กับเจ้าของสัตว์เลี้ยงเท่าไรนัก
ภาพจาก : https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/advice-for-public/myth-busters
ส่วนเหตุผลที่ผลการตรวจเชื้อของสุนัขตัวนี้ออกมาเป็นผลบวกนั้น คาดการณ์ว่าน่าจะเป็นเพราะสุนัขตัวนี้อยู่ ใกล้ชิดกับเจ้าของที่ติดเชื้อมาโดยตลอด และเรายังไม่ทราบแน่ชัดว่าเชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถมีชีวิตอยู่นอกร่างกายมนุษย์ได้เป็นเวลากี่วัน แต่สำหรับสุนัขที่มีความใกล้ชิดกับเจ้าของแล้วนั้น การที่เจ้าของติดเชื้อก็น่าจะทำให้มีความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อไปยังสิ่งของต่างๆ ในบริเวณบ้าน และอาจลอยไปติดอยู่ในโพรงจมูกหรือขนของสัตว์เลี้ยงของผู้ป่วยได้อีกด้วย
ภาพจาก : https://travelwirenews.com/wp-content/uploads/2020/03/5e600b6585f54039d513ea1d.jpg
และ Jane Gray หัวหน้าสัตวแพทย์ของสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งฮ่องกง SPCA (Hong Kong Society for the Prevention of Cruelty to Animals) ก็ได้ออกความเห็นว่า เคสนี้น่าจะใกล้เคียงกับในช่วงปี 2003 ที่มีการระบาดของโรค SARS และพบว่า สัตว์เลี้ยงที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยบางตัวก็มีผลตรวจเป็นบวก แต่ไม่แสดงอาการป่วย เพราะสัตว์เลี้ยงเหล่านั้นไม่ได้ “ติดเชื้อ” เพียงแต่มีเชื้อติดอยู่ตามลำตัวและสามารถกำจัดออกไปได้ในเวลาอันรวดเร็ว
Shelia McClelland ผู้ก่อตั้งสมาพันธ์การคุ้มครองสัตว์ตลอดชีวิต LAP (Lifelong Animal Protection Charity) ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง CNN ว่าเธอได้พูดคุยกับเจ้าของสัตว์เลี้ยงจำนวนมากที่ กังวลว่าสัตว์เลี้ยงจะติดโรค หรือกังวลว่าจะต้องปล่อยสัตว์เลี้ยงทิ้งไว้หากตนเองติดเชื้อ ซึ่งภายใต้สถานการณ์ที่ค่อนข้างกดดันนี้ก็มีความเสี่ยงที่ผู้คนจะตัดสินใจปล่อยสัตว์เลี้ยงทิ้งไว้หรือฆ่าสัตว์เลี้ยงของตนเองทิ้งได้ และคนอื่นๆ ที่ไม่ได้เลี้ยงสัตว์ก็มักจะแสดงท่าทีรังเกียจสัตว์เลี้ยงและเจ้าของโดยไร้เหตุผล ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วจากหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นชี้ว่า สุนัขมีความเสี่ยงในการกระจายเชื้อพอๆ กับสิ่งของอย่างลูกบิดประตู เพียงเท่านั้น
สัตว์เลี้ยงกว่า 30,000 ตัวถูกทิ้งไว้ในเมือง Wuhan ที่ถูกสั่งปิด
แต่หากเจ้าของมีความกังวลว่าสัตว์เลี้ยงจะติดเชื้อ COVID-19 ก็ควร ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งก่อนและหลังการเล่นกับสัตว์เลี้ยงของตนเอง และสามารถ เช็ดทำความสะอาดเท้า ของสัตว์เลี้ยงหลังพาออกไปเดินเล่นข้างนอก ด้วยทิชชู่เปียกได้ แต่ไม่ควรเช็ดบ่อยเพราะอาจทำให้อุ้งเท้าของพวกมันแห้งจนเกินไป
|
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่.. |