สองนักวิทยาศาสตร์ Russell Marx และ Dr. Kevin Coffey จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน (University of Washington) เริ่มโครงการศึกษา "ความรู้สึกของหนูทดลอง" เพื่อปูทางไปสู่การใช้ในการศึกษาความรู้สึกของผู้ติดยาเสพติดและผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
ภาพจาก pixabay.com / jarleeknes
การทดลองและเรียนรู้ว่าเหล่าหนูรู้สึกยังไง มีหลายขั้นตอนตั้งแต่ การอัดเสียงด้วยไมโครโฟนชนิดพิเศษ เพราะเสียงของหนูเป็นแบบ Ultrasonic Vocalizations (USVs) ที่มีความถี่ 20 kHz to 115 kHz ซึ่งสูงเกินกว่าที่หูของมนุษย์จะได้ยิน พออัดเสร็จก็ต้องนำมาลดความเร็วลง แล้วทำให้เป็นภาพคลื่นเสียง (Sonograms) เพื่อที่ทำการคัดแยกและวิเคราะห์เสียง แต่มันติดปัญหาตรงที่ว่าเมื่อลดความเร็วเสียงแล้วมันจะมีความยาวมากขึ้นถึง 10 เท่า และความถูกต้องในการคัดแยก
แล้วพวกเขาก็เจอกับคำตอบที่จะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ โดยการเอาเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) ที่ชื่อว่า DeepSqueak เข้ามาใช้ในขั้นตอนการวิเคราะห์และแยกเสียง
เทคโนโลยี DeepSqueak ทำการคัดแยกเสียงของหนู ด้วยตัวอย่างต้นแบบเสียงที่ป้อนเข้าไปในรูปแบบภาพคลื่นเสียง (Sonograms) แล้วอัลกอริทึมจะทำการเรียนรู้เสียงด้วยตัวเองไปเรื่อยๆ พร้อมกับทำการหั่นเสียงออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้ง่ายต่อการแยกกลุ่มเสียงความรู้สึก ซึ่ง AI สามารถแยกเสียงออกมาได้อย่างแม่นยำและเข้าใจว่าอันไหนคือเสียงรบกวนและอันไหนคือเสียงของหนู
ผลจากการนำเทคโนโลยี DeepSqueak มาช่วยทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจว่า หนูจะมีความสุขจากการได้รับรางวัลเป็นน้ำตาลหรือการได้วิ่งเล่นกับหนูตัวอื่นๆ และเข้าใจอีกว่าเมื่อมีหนูตัวเมียอยู่ใกล้ๆ หนูตัวผู้จะมีพฤิตกรรมเปลี่ยนไป เป็นต้น และในอนาคตอาจจะมีการเทคโนโลยีที่ว่าไปใช้กับการแปลภาษาของหนูอีกด้วย เอามาใช้แปลการสื่อสารของหนูให้มนุษย์เข้าใจ
ถือว่าเทคโนโลยี AI ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยทั้งหาคำตอบและลดเวลาในการวิจัยให้เหล่านักวิทยาศาสตร์ และยังปูทางไปสู่การรักษาอีกด้วย ไม่แน่นะว่าต่อไปอาจจะมี AI ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพจิตก็เป็นได้
|
How to .... |