เมื่อวันอังคารที่ 5 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมานี้ทางไทยแวร์ได้เข้าร่วมงานเสวนา เรื่อง ซอฟต์แวร์ไทย จะก้าวอย่างไรในเวทีอาเซียน ซึ่งได้จัดมาเป็นครั้งที่ 3 แล้วครับ น่าเสียดายที่เราพลาดครั้งที่ 1 และ 2 ไป (ให้สัญญาว่าครั้งต่อไปจะไม่พลาดครับ) โดยตัวงานจัดขึ้นที่ห้อง 208 ชั้น 2 โซน G อาคารหอประชุมปัญญาภิวัฒน์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ถ.แจ้งวัฒนะ ตอนขับรถไปก็ไปหลงเลี้ยวเข้าศูนย์ราชการซะนี่ เห้อ
วัตถุประสงค์ของการจัดเสวนาครั้งนี้คือ
1. เพื่อให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศไทย ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พศ.2558 (AEC 2015)
2. เพื่อให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์เกิดการตื่นตัวและเตรียมความพร้อมในการกำหนดนโยบายเชิงพาณิชย์และการร่วมมือกันในประเทศรวมทั้งกับประเทศสมาชิก
3. เพื่อให้เป็นเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทั้งทางด้านเทคโนโลยีและการค้าของผู้ประกอบการ รวมถึงการระดมสมองหาแนวทางการเข้าสู่ประชาคมอาเซียอย่างไม่เสียเปรียบ
4. เพื่อรับทราบความต้องการของภาคเอกชนต่อองค์กรภาครัฐ และในทางกลับกันผู้ประกอบการจะได้รับทราบนโยบายของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
5. เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นการทำแผนแม่บทของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยเพื่อการก้าวต่อไปอย่างถูกต้องในเวทีอาเซียนก่อนที่จะถึงกำหนดในปี พศ. 2558
การเสวนาในครั้งที่ 3 นี้เราพูดถึงการพัฒนาทุนมนุษย์ของวงการซอฟแวร์
แต่ก่อนจะเริ่มเรื่องทั้งหมด คุณไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว – กรรมการอาเซียน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้รายงานสรุปการเสวนาครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ซึ่งทุกท่านสามารถ Download ได้ที่นี่เลยครับ
เราเริ่มครั้งที่ 3 กันเลยดีกว่า คุณไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ได้นำเสนอว่าประเทศไทยเราควรมีบุคลากรไอที ครบทั้ง 7 ตามนี้
1.Programmers
2.Tester
3.Document Specialist
4.Business Analyst (BA)
5.Software Architect (SA)
6.System Analyst (SA)
7.Project Manager (PM)
โดยให้พัฒนาแยกสาขากันไป เช่น หากต้องการเป็น Programmer ควรจะลงลึกไปว่าจะถนัดด้านใด JAVA, ภาษา C เป็นต้น
ในมุมมองของทางสถานศึกษานั้น อ.เสาวณี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ก็ว่า ทางม. กรุงเทพ เองได้มีการสอนนักศึกษาเพื่อรองรับกระแสตลาดการเติบโตของเทคโนโลยีในอนาคต อย่าง Mobile Application และก็เห็นว่านักศึกษาที่เป็น IT ส่วนใหญ่จะไม่คล่อง ในเรื่องของการทำ document ซึ่งปัจจุบันบริษัทใหญ่ๆ ทั่วไปต้องใช้เพราะมีการทำ ISO หรือ CMMI แล้ว
คุณธรรมทัศน์ ได้ให้ความเห็นในเรื่องบุคคลากรไอทีว่า หากซอฟต์แวร์ไทยเทียบกับวงการกีฬา มีปัญหาเดียวกันคือ บุคคลากรไทยขาดการทำงานเป็น teamwork ขาดโค้ชที่ดี ขาดการ Management, นักศึกษาไทยมองเรื่องเงินเดือนเป็นตัวแปรหลักในการเลือกสถานที่ทำงาน และขาดความคิดสร้างสรรค์ เด็ก IT ไม่ได้ผ่านการ Learning Technology ที่ถูกต้องอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ไม่เคยได้ทดลองทำงานด้าน IT อย่างจริงจังทำให้บริษัทที่รับมาต้องเริ่มอบรมใหม่เพราะไม่มีพื้นฐาน
พร้อมยกตัวอย่างสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ถือว่าเป็น Model ที่ดีเพราะให้นักศึกษา ฝึกงานตั้งแต่ปี 1 และเราจำเป็นต้องดูแลเรื่องนี้เป็นพิเศาเพราะเรามีคู่แข่งขันที่มาแรงอย่างประเทศฟิลิปปินส์ เนื่องจาก Outsource ของที่นั่นแต่ละบริษัทจะผ่าน Certification และมีเงินเดือนค่อนข้างต่ำ ถือว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัวของซอฟต์แวร์ไทยมาก
ซึ่งในประเด็นนี้คุณไพโรจน์ ให้ความเห็นว่าส่วนของ Document Specialist คนไทยไม่ควรทำตรงนี้ หากมองในส่วนของ AEC สู้กับฟิลิปปินส์ไม่ได้ในเรื่องภาษาอังกฤษ เราน่าจะไปพัฒนาบุคคลากร ในส่วนอื่น ๆ ที่เราถนัดแทน
ผมเองที่คลุกคลีอยู่กับ Programmer ชาวไทยมามาก ก็เลยให้ความเห็นไปว่าควรพัฒนาภาษาอังกฤษให้กับกลุ่มนักพัฒนาด้วย โดยเฉพาะในสถาบันการศึกษาไม่ใช่สอนแต่การ Coding อย่างเดียว ปัญหาของ Document Specialist ของไทยหลัก ๆ คือมักรู้เฉพาะส่วนงานของตัวเองอย่างเดียว บางคนทำเอกสารภาษาไทยยังไม่สามารถสื่อสารให้ผู้ใช้งานระบบรู้เรื่องได้เลย เพราะไม่ได้รู้ทั้งระบบ รู้แค่ส่วนที่ตนเองทำ โดยรวมผมเห็นว่าบุคลากรซอฟต์แวร์ของไทยมีปัญาหาด้าน 1. ภาษา 2.การสื่อสาร 3.Creativity 4.สิ่งที่สอนในมหาวิทยาลัยไม่ได้ใช้กันจริงๆ ซึ่งเราควรพัฒนาส่วนนี้ให้กับบุคคลากรซอฟแวร์ของไทยครับ ไม่ใช่แก้ปัญหาโดยการจ้างฝรั่งอย่างเดียว
คุณวิษณุพงษ์ มองว่า IT Sales และ Marketing มีความสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยไม่น้อยไปกว่า กลุ่มคนทำ Software เพราะถึงจะมีกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ดีอย่างไร แต่ไม่มีการขายที่ดีหรือการตลาดที่ดีก็ไม่มีประโยชน์ และนักศึกษาที่จบใหม่ ทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการ และสถาบันการศึกษาควรจะหารือกันในเรื่องของ Demand และ Supply รวมถึงแนวทางของเทคโนโลยีในอนาคต เพราะไม่ใช่ว่าในอนาคตจะมีแต่กระแสตลาดเทคโนโลยี Mobile application อย่างเดียว
รศ.ดร.พิสิษฐ์ เองจึงขอแบ่งปันความรู้เรื่องการพัฒนานักศึกษาของต่างประเทศ เช่น ในประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย บริษัทผลิตซอฟแวร์ที่นั่นหากจะรับนักศึกษาที่จบมหาวิทยาลัยเข้าทำงาน เขาจะส่งนักศึกษาไปเรียนจนจบจากสถาบันที่สอนเฉพาะด้านมาก่อนจึงจะรับเข้าทำงาน หรือประเทศเยอรมัน มี Model ที่ดีในการพัฒนานักศึกษา ซึ่งทางสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ได้นำ Model นี้มาใช้ คือการเน้นให้นักศึกษาฝึกงานเยอะๆ ส่งนักศึกษาไปฝึกงานประมาณ 6 เดือน 1 ปี เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าไปสู่โลกแห่งความจริง และเห็นว่าสถานประกอบการและ สถาบันการศึกษาควรหันหน้าเข้าหากันเพื่อให้ความร่วมกันเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กนักศึกษาได้เข้าไปฝึกงานมากขึ้น
คุณไตรรัตน์ จึงสรุปช่วงแรกว่า ทรัพยากร/บุคลากรซอฟต์แวร์ ที่จะออกไปในตลาด ควรจะเน้น 3 อย่าง 1.คิดเป็น 2.พูดเป็น 3.ทำเป็น ซึ่งทั้ง 3 ด้านนี้ ต้องเป็นความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการและมหาวิทยาลัย โดยผู้เข้าร่วมเสวนาแต่ละท่านได้ให้ความคิดเห็น ดังนี้
o คุณกิตตินันท์– เห็นว่านักศึกษาไทยควรจะมีใบประกอบวิชาชีพด้าน IT ซึ่ง TSEP มีนโยบายการให้ทุนและให้ Certification สอนทุกอย่างที่ “เรา” ต้องการให้กับนักศึกษา
o คุณไพโรจน์ – เห็นว่าควรจะให้มหาวิทยาลัยควรปรับตัวเป็น Software College เพื่อลงลึกในการศึกษาแต่ละเรื่องมากขึ้น
o คุณไตรรัตน์ – บางมหาวิทยาลัยมีเงื่อนไขในการรับนักศึกษาฝึกงานว่าต้องมีค่าเบี้ยเลี้ยงด้วย ทำให้บางบริษัทไม่อยากรับเพราะต้องเสียเวลาอบรม และยังต้องเสียเงินอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามแต่ละบริษัทไม่ได้มีปัญหาในเรื่องการจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงแค่ต้องการให้นักศึกษาเป็นงานมาบ้างแล้ว
o ดร.ดัชกรณ์ – เสริมว่าอาจารย์ควรเข้าไปศึกษาในสถานประกอบการด้วยเพื่อจะได้สัมผัสประสบการณ์ทำงานจริง และในส่วนของเบี้ยเลี้ยงอยากให้มองเป็นค่าเดินทางให้กับนักศึกษา
o คุณสินีนาฎ – เห็นว่าควรบรรจุหลักสูตรการทำงานจริงในโปรเจ็คสำหรับจบการศึกษาร่วมกับสถานประกอบการ ซึ่งหากเด็กทำงานผ่าน บริษัทจะให้ความเห็นว่าผ่าน และทางบริษัทจะจ่ายเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงให้แก่นักศึกษาด้วย
o คุณธรรมทัศน์ – บริษัทใช้ Model ให้พนักงานเป็นหุ้นส่วนในบริษัท เพื่อสร้างให้พนักงานมองบริษัทเป็นเจ้าของบริษัท เพื่อจะได้ทุ่มเทกับงาน และมุ่งเน้นทำงานในสิ่งที่ตัวเองอยากทำรวมถึงเป็นมีพี่เลี้ยงคอยแนะนำ
o ดร.ดัชกรณ์ – สอบถามว่าสถานประกอบการมองว่าการรับพนักงานเข้าสถานประกอบการมีแนวทางอย่างไร
o คุณวิษณุพงษ์ – การรับพนักงานใหม่จะให้มีการทำข้อสอบ Algorithm ซึ่งจะมีการเขียน flow หรือตั้งโจทก์ให้ผู้สมัครลอง codinge program
o คุณกิตตินันท์ – เสนอว่าจะส่งข้อสอบสำหรับการรับพนักงานให้ทางมหาวิทยาลัยดูว่ากข้อสอบแบบทำงานจริง และข้อสอบจากเรียนแตกต่างกันอย่างไร เพื่อที่ทางมหาวิทยาลัยจะได้ปรับหลักสูตรให้เข้ากับการใช้งานจริงได้ และอยากให้ทางมหาวิทยาลัยเน้นการเรียนการสอนในเรื่องของ Algorithm ให้มากขึ้น เพราะนักศึกษาจะได้ปรับตัวให้เข้าการการทำงานจริง
o อ.เสาวณี – ทางม.กรุงเทพมีนโยบายให้นักศึกษาที่เรียนจบปีการศึกษา 53 เป็นต้นไป ต้องมีใบ Certification 1 ใบเป็นอย่างน้อย และทางมหาวิทยาลัยมองว่าการผลิตนักศึกษาเพื่อให้ตอบโจทก์ของผู้ประกอบการในตลาดได้เป็นเรื่องที่ยาก เพราะกระแสเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่ทางมหาวิทยาลัยก็พยายามจะปรับหลักสูตรให้เข้ากับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป และทางมหาวิทยาลัยเห็นด้วยกับคุณสินีนาฎที่ให้นักศึกษาเข้าไปฝึกงานในการทำงานจริง แต่ติดอยู่ในส่วนของเงื่อนเวลาเนื่องจากเวลาเรียนของนักศึกษาและเวลาการทำงานโปรเจ็คของทางสถานประกอบการไม่สัมพันธ์กัน ซึ่งทางมหาวิทยาลัยอาจจะลองทำเป็น pilot group ขึ้นมา ในส่วนของภาษาอังกฤษในอนาคต ม.กรุงเทพจะมีการสอนแบบ bilingual แต่อย่างไรก็ตามต้องใช้เวลาปรับกันสักระยะหนึ่ง
เราคุยแรกเปลี่ยนความรู้กันไปเรื่อยจนถึงเวลาประมาณ สี่โมงกว่า ๆ ก็ปิดการเสวนา ทางสภาหอการค้าของความร่วมมือสถานประกอบการและ สถาบันการศึกษา ประกอบไปด้วย บริษัท Infotronics, บริษัท 9Expert, บริษัท RV Global Soft, บริษัท T.J.SConsultants, TSEP, บริษัท ภูมิซอฟต์ จำกัด, บริษัท เอด้าซอฟท์ จำกัด, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, สถาบันปัญญาภิวัฒน์ และ บริษัท ไทยแวร์ คอมมิวนิเคชัน จำกัด เข้าร่วมกิจกรรมการเสวนาครั้งต่อๆ ไป โดยเป็นคณะทำงานเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์สู่ซอฟต์แวร์อาเซียนทั้งนี้ก็เพื่อ “การก้าวอย่างมั่นใจ ของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยในเวทีอาเซียน”
บันทึกการประชุมโดย คณะทำงานจาก บริษัท การจัดการความรู้เอเซีย จำกัด
ตรวจสอบข้อความโดย นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว – กรรมการอาเซียน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
แก้ไขเพิ่มเติม จัดเรียงให้บุคคลทั่วไปอ่านง่ายขึ้น โดย วีรพล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไทยแวร์ คอมมิวนิเคชัน จำกัด www.thaiware.com
สรุปการประชุมฉบับเต็มอย่างเป็นทางการ สามารถ Download ได้ที่นี่นะครับ
หากท่านใด มีความสนใจต้องการสอบถาม หรือเพิ่มเติมในส่วนไหน สามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็นที่หน้านี้ได้เลยครับ ทางไทยแวร์ ยินดีเปิดพื้นที่ให้ครับ