จักรพรรดิ นโปเลียน โบนาปาร์ต แห่งฝรั่งเศส อาจหาทางชดเชยเรื่องความสูงของตัวเอง ด้วยการแสวงหาอำนาจ และสงครามที่ยืดเยื้อแทน และมีการศึกษาค้นคว้าเมื่อเร็วๆ นี้ อ้างว่าผู้ชายที่ตัวเตี้ยกว่าจะมีความก้าวร้าวมากกว่าผู้ชายที่สูงกว่าจริงหรือไม่
และผลการวิจัยล่าสุด ที่จัดทำโดยนักวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์ควบคุมโรคใน แอตแลนต้า (Atlanta) รัฐจอร์เจีย (Georgia) ได้กล่าวไว้ว่าคนที่ตัวเตี้ยกว่ามักจะมีอารมณ์โกรธ และรุนแรงกว่าคนที่สูง
โดยนักวิทยาศาสตร์สังเกตว่า ผู้ชาย 600 คนที่อายุระหว่าง 18 ถึง 50 ปีที่มีส่วนสูงไม่มากนัก พวกเขามักจะรู้สึกว่าเป็นชายที่ไม่สมบูรณ์แบบ และมีแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรง หรือก่ออาชญากรรม มากกว่าชายตัวสูงถึง 3 เท่า ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ก็ได้กล่าวอีกว่า นี่เป็นผลมาจาก "ความเครียดที่รู้สึกว่าตัวเองเป็นชายที่ไม่สมบูรณ์แบบ" จึงทำให้พวกเขาก้าวร้าวมากขึ้น
ภาพวาดที่แสดงให้เห็น จักรพรรดิ นโปเลียน โบนาปาร์ต
เนื่องจากค่านิยมทางสังคม ที่เชื่อว่าผู้ชายต้องร่างกายสูงใหญ่ และการที่เขาตัวเตี้ยกว่าระดับมาตรฐานของผู้ชายทั่วไปทำให้รู้สึกว่าเป็นชายที่ไม่สมบูรณ์ และนักวิทยาศาสตร์ยังอธิบายเพิ่มเติมอีกว่าอาการที่คนเตี้ยแสดงความก้าวร้าวออกมาให้เห็นมากกว่านั้นเป็นเพราะว่าขาดความสูง อาการนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในนามว่า "นโปเลียน คอมเพล็กซ์ (Napoleon complex)" มันได้ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1926 โดยนักจิตวิทยาชาวออสเตรียที่มีชื่อว่า Alfred Adler
ในปี 2018 นักทฤษฎีจิตวิทยาวิวัฒนาการนามว่า Mark van Vugt และทีมนักวิจัยของเขาที่มหาวิทยาลัย Vrije Universiteit Amsterdam ได้ค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับอาการ Napoleon complex ในผู้ชาย ซึ่งพวกเขาก็ได้มาถึงข้อสรุปที่ว่า ผู้ชายที่ตัวเตี้ยกว่าจะมีปฏิกิริยาก้าวร้าวมากกว่าเมื่อเทียบกับผู้ชายตัวสูง และผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวอีกอย่างว่าคนที่ตัวเตี้ยจะมีความรู้สึกว่าตัวเองอ่อนแอ และมีความหวาดระแวงในระดับที่สูงกว่า
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ก็มีความเป็นไปได้สูง ที่การศึกษานี้จะรวบรวมกลุ่มการทดสอบที่มีขนาดเล็กเกินไปที่จะคาดการณ์ปฏิกิริยาได้ถูกต้องระหว่างความสูง และความก้าวร้าว นอกจากนี้ยังมีงานวิจัย อื่นๆ ที่นำไปสู่การค้นพบสิ่งที่ขัดแย้งเช่นกัน โดยในปี 2007 งานวิจัยของมหาวิทยาลัย Central Lancashire ที่ชี้ให้เห็นว่าอาการ นโปเลียน คอมเพล็กซ์ (Napoleon complex) อาจเป็นเพียงเรื่องเหลวไหล
การศึกษานี้ค้นพบได้ว่าผู้ชายตัวเตี้ยมีแนวโน้มที่จะปล่อยวางหรือโมโหร้ายน้อยกว่าผู้ชายที่มีความสูง ซึ่งในระหว่างการทดลองผู้เข้าร่วมการวิจัยต้องต่อสู้กัน และนักวิจัยได้ทำการติดตามอัตราการเต้นของหัวใจทั้งสองฝ่าย จอภาพแสดงอัตราการเต้นหัวใจได้แสดงให้เห็นว่าผู้ชายที่สูงกว่ามีแนวโน้มจะหัวร้อน และตีกลับมากกว่า
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเรื่องการเจริญเติบโตของสถาบัน เวสเซ็กซ์ (Wessex) ที่ดำเนินการในสหราชอาณาจักร ซึ่งได้ติดตามพัฒนาการทางจิตวิทยาของเด็กๆ ตั้งแต่ครั้งแรกที่พวกเขาเข้าโรงเรียนจนไปถึงวัยผู้ใหญ่ ก็ได้พบว่า "ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญอย่างใดเลยในการทำงานของบุคลิกภาพ ที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องของความสูง"
|