ก่อนที่จะไปอ่านบทความ "จบไม่สวย!! รวมเหตุการณ์ 'ทิ้งทวน' สุดเจ็บแสบของเหล่า(อดีต)พนักงาน ในด้านไอที" ลองมาตอบคำถามเล่นๆ กันก่อนว่า "ตอนออกจากที่เก่านั้น จบกันด้วยดีหรือเปล่า?" คงจะมีคำตอบอยู่ในใจแล้วใช่ไหมครับ ไม่ว่าคำตอบจะเป็นอะไร เชื่อเลยว่าหลายคน อยากจบแบบสวยๆ ทั้งนั้น เพื่อที่ว่า จะได้ไม่ต้องมามีปัญหากันในภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายของพนักงานที่เป็นลูกจ้าง หรือฟากของบริษัทที่เป็นนายจ้าง
"ถ้าจบสวย ก็โบกมือลากันแบบอบอุ่น คล้ายตอนจบแบบ Happy Endingในหนังภาพยนต์"
แต่ถ้าเหตุการณ์กลับตาลปัตรมีประเด็นหรือปัญหาที่เคลียไม่จบ จนทำให้เหล่าพนักงานอัดอั้นตันใจ จนความรู้สึกแปรเปลี่ยนเป็นไปความคับแค้นใจ จนอยากที่จะ "เอาคืน" บ้างล่ะ
"คงจะเป็นหนังภาพยนต์ Bad Ending ที่หักหลังกันในตอนจบ"
ดังตัวอย่างเหตุการณ์ (Case Study) นี้ ที่เหล่าอดีตพนักงานได้ทำการแก้แค้น บริษัทที่เคยพึ่งพาอาศัย ด้วยการ "สร้างความเสียหายด้านไอที" เพื่อความสะใจของตน หรือผลประโยชน์ส่วนตัว ดังนี้
ย้อนกลับไปในปีคริสต์ศักราช 2016 สถาบันการศึกษาในรัฐอินดีแอนา ที่ชื่อว่า American College of Education ถูกนายทริโน วิลเลียมส์ (Triano Williams) พนักงานผิวสีที่เป็นผู้เชียวชาญด้านไอที ยื่นหนังสือร้องเรียนเรื่องการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ
แต่ทางสถาบันกลับแก้ปัญหาด้วยการ สั่งย้ายให้ไปทำงานที่เมืองอื่น ซึ่งนายคนนี้ก็ปฏิเสธและไม่ยอมทำตาม เนื่องจากเขาให้เหตุผลว่า "มีการแจ้งเงื่อนไขการทำงานระยะไกลไป (Teleworking) ตั้งแต่ตอนเข้าแรกๆ แล้ว" แต่สุดเขาก็ถูกเชิญออกจากตำแหน่งโดยทางสถาบันก็ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนมาให้ แต่เขาก็ยังรู้สึกไม่พอใจ เขาจึงตัดสินใจ "เอาคืน" สถาบันการศึกษานี้ ด้วยการ "เปลี่ยนพาสเวิร์ดของบัญชี Google" ของสถาบัน ทำให้ทางสถาบันเข้าใช้งานอีเมลไม่ได้ ส่งผลให้นักเรียนกว่า 2 พันคน ไม่ได้รับอีเมลและเอกสาร
จากนั้นก็เป็นเรื่องราวฟ้องร้องกัน โดยทนายของนายทริโนให้การกับศาลว่า "เขานั้นไม่ได้เป็นคนทำ แล็ปท๊อปมันบันทึกรหัสผ่านเอง และเขาก็ได้ส่งเครื่องคืนทันทีที่ออกจากตำแหน่ง" และทนายของเขายังกล่าวเป็นนัยๆ อีกว่า "เขาอาจจะจำรหัสผ่านก็ได้นะ ถ้าจ่ายเงิน 2 แสนเหรียญ (ประมาณ 6 ล้านบาท) พร้อมจดหมายรับรองการทำงานในแง่บวก" ไม่บอกก็รู้ว่านี่เป็น การเอาคือแบบโต้งๆ
อย่างไรก็ดีเสีย ทางสถาบันก็ไม่ได้นิ่งเฉย ได้พยายามติดต่อกับทาง Google เพื่อขอกู้คืนบัญชีที่เสียไป แต่ก็ไม่เป็นผลเพราะว่าบัญชีอีเมลสำคัญนี้ไม่ได้จดทะเบียนในชื่อของสถาบัน แต่กลับถูกจดทะเบียนในชื่อส่วนตัวของนายทริโน ทำให้การขอกู้คืนบัญชีครั้งนี้ ไม่สามารถทำได้ ทำให้ทางสถาบันเกิดความเสียหายมาก
แต่ท้ายที่สุดเขาก็แพ้คดีความพร้อมกับต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่สถาบันเป็นเงินกว่า $248,350 (ประมาณ 7.7 ล้านบาท) เรียกได้ว่าได้ความสะใจพร้อมกับเสียทั้งชื่อเสียงและเงินทองจริง
ในปีคริสต์ศักราช 2014 บริษัทผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยในโลกไอที Esselar ถูกแฮกมือถือ 900 เครื่อง ต่อหน้าต่อตาลูกค้ารายใหญ่ ในขณะที่สาธิตการใช้งาน มันเป็นการ "แก้แค้น" ของอดีตบุคคลสำคัญในองค์กร เช่นนาย นายริชาร์ด นีล (Richard Neale) คนนี้ ที่เป็นอดีตหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง และผู้อำนวยการฝ่ายไอที
ต้นสายปลายเหตุของเรื่องทั้งหมด เริ่มต้นจากการที่เขาต้องออกตำแหน่งแบบ "จบไม่สวย" แต่จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม มันได้สร้างความเจ็บแค้นใจให้กับเขาเป็นอย่างมาก จนทำให้เขาวางแผนแก้แค้นครั้งใหญ่ ที่ต้องใช้เวลานานกว่า 6 เดือน กว่าจะได้ "ตบหน้า" เหล่าเพื่อนร่วมงานเก่า ด้วยการ แฮกโทรศัพท์มือถือของพนักงานในบริษัทกว่า 900 เครื่อง เท่านั้นยังไม่พอ เขายังลบข้อมูลทุกอย่างทิ้ง อีกด้วย ซึ่งมันเกิดขึ้นในระหว่างที่บริษัท Esselar กำลังพรีเซนต์งานให้แก่ลูกค้ารายใหญ่อย่าง Aviva
ผลจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้ Aviva ที่เป็นลูกค้าของ Esselar ตัดสินใจฉีกสัญญามูลค่า 7 หมื่นปอนด์ ต่อปี (ประมาณ 3 ล้านบาท) และยังสร้างมูลค่าความเสียหายโดยรวม ทั้งด้านชื่อเสียง และโอกาสทางธุรกิจด้วย โดยความ เสียหายมีการคาดคะเนว่าน่าจะสูงถึง 5 แสนปอนด์ (ประมาณ 17 ล้านบาท) เลยทีเดียว และยังทำให้ความน่าเชื่อถือลดลงอย่างมาก จนทำให้ Esselar ต้องทำการปรับเปลี่ยนแบรนด์เพื่อความอยู่รอด
แต่ท้ายที่สุด นายริชาร์ด นีล ก็ได้รับโทษทัณฑ์จากการกระทำ โดยศาลตัดสินให้ต้องนอนในซังเตเป็นเวลา 18 เดือนเลย
สองเหตุการณ์ก่อนหน้า เกิดขึ้นจากความคับแค้นใจ ที่ถูกปลดออกจากตำแหน่ง แต่เรื่องต่อไปนี้ค่อนข้างต่างกัน "เพราะเกิดจากความเข้าใจผิด" ของนางสาวแมรี่ ลูเป้ คูลี่ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ของบริษัทสถาปนิกแห่งหนึ่ง ที่ได้เข้าใจไปเองว่ากำลังจะโดนไล่ออก หลังจากเห็นประกาศรับสมัครงานในตำแหน่งของเธอ ซึ่งข้อมูลผู้ติดต่อก็เป็นชื่อและเบอร์โทรของเจ้านายเธอ มันทำให้เธอไม่พอใจเป็นอย่างมาก และลบข้อมูลโครงการต่างๆ ย้อนหลัง 7 ปีทิ้งทั้งหมด นั่นทำให้เกิดความเสียหายราว 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 78,082,500 บาท)
แต่ความจริงก็มาปรากฎภายหลังว่า ประกาศรับสมัครงานที่เธอเห็นนั้น เป็นของเพื่อนเจ้านายที่ฝากให้ช่วยหาคนในตำแหน่งเดียวกับเธอ นี่เป็นการเข้าใจผิดครั้งใหญ่ ตอนนี้เธอจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น คงพอเดาได้ใช่ไหมเอ่ย
อย่างไรก็ดี "การแก้แค้น" ด้วยการทำให้บริษัทเก่าเกิดความเสียหาย อาจถูกฟ้องร้องจนติดคุกติดตารางเลยก็ได้ ฉะนั้นเมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรม ควรเล่นตามเกมส์ผ่านกระบวนการทางกฏหมาย เพื่อเพลย์เซฟ และสุดท้ายนี้ หวังว่าทุกคนที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ คงไม่ได้กำลังสร้างความเสียหายให้กับบริษัทนะ
ข้อมูลทั้งหมดถูกนำมาเรียบเรียงใหม่ จากบทความของ แคสเปอร์สกี้ แลป "เตือนนายจ้างระวังลูกจ้างเก่าที่คับแค้นแน่นอก ใช้ช่องทางเพื่อแก้แค้นทางไซเบอร์" โดยทาง แคสเปอร์สกี้ แลปก็ได้แนะนำวิธีป้องกันการแก้แค้นทางไซเบอร์มาด้วยดังนี้
|
How to .... |