ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

แฮกเกอร์สร้างเว็บไซต์ดาวน์โหลดแอนตี้ไวรัสปลอม หลอกปล่อยมัลแวร์ใส่ทั้ง Windows และ Android

แฮกเกอร์สร้างเว็บไซต์ดาวน์โหลดแอนตี้ไวรัสปลอม หลอกปล่อยมัลแวร์ใส่ทั้ง Windows และ Android
ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-ai-image/view-people-addicted-their-smartphone-looking-scrolling-through-screens_186027272.htm
เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 1,882
เขียนโดย :
0 %E0%B9%81%E0%B8%AE%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A1+%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87+Windows+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0+Android
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

เมื่อพูดถึงแอนตี้ไวรัส (Antivirus) มันเป็นซอฟต์แวร์ด้านการจัดการความปลอดภัยไซเบอร์ในรูปแบบแรก ๆ ที่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ในยุค 90 มักจะมีความคุ้นเคยกันดี และบางคนมักเคยชินกับการใช้ของเถื่อนที่ติดตั้งมาจากร้านคอมพิวเตอร์ แล้วก็มีการใช้งานมาเรื่อยมาเนื่องจากคิดว่าซอฟต์แวร์จะช่วยป้องกันภัยไวรัสเข้าเครื่องได้ โดยไม่เคยได้เอะใจว่าเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถใช้งานซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสเถื่อนได้ หรือกระทั่งตัวแอนตี้ไวรัสเองก็อาจจะแฝงไวรัสหรือมัลแวร์มากับเครื่องได้เช่นเดียวกัน จนนำไปสู่การล้างเครื่องและลงวินโดว์ใหม่กันอยู่บ่อย ๆ แต่สำหรับข่าวนี้นั้น การโจมตีโดยใช้แอนตี้ไวรัสเป็นตัวนำได้ล้ำไปอีกระดับหนึ่งแล้ว

จากรายงานโดยเว็บไซต์ Cyber Security News ได้มีการตรวจพบกลยุทธ์การแพร่มัลแวร์แบบใหม่ของเหล่าผู้ไม่ประสงค์ดีผ่านการสร้างเว็บไซต์ปลอมเป็นเว็บไซต์สำหรับการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสแบรนด์ดังหลายแบรนด์ โดยเว็บไซต์เหล่านี้จะมีหน้าตาคล้ายคลึงกับเว็บไซต์อย่างเป็นทางการมาก ทำให้เหยื่อหลงตายใจดาวน์โหลดมัลแวร์มาติดลงเครื่องแบบไม่รู้ตัว ซึ่งจากรายงานนั้นพบการปลอมแปลงเป็นแบรนด์ดังต่อไปนี้

บทความเกี่ยวกับ Hacker อื่นๆ
  • Avast-securedownload[.]com : สำหรับเว็บไซต์ Avast ปลอมนั้น แฮกเกอร์จะมุ่งเน้นไปที่การโจมตีผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการ Android เป็นหลักผ่านไฟล์ติดตั้งปลอม (Avast.apk) ที่มีการตั้งชื่อที่คล้ายคลึงกับของแท้มาก โดยมัลแวร์ที่แฝงที่อยู่ในตัวไฟล์นี้จะเป็นมัลแวร์ประเภทสปายแวร์ (Spyware) ในชื่อ SpyNote ที่มีศักยภาพในการขโมยข้อมูล SMS ของเหยื่อ รวมไปถึงการบันทึกหน้าจอ การติดตามโลเคชัน ไปจนถึงใช้เครื่องของเหยื่อขุดเหรียญคริปโทเคอร์เรนซี อีกด้วย

    แฮกเกอร์สร้างเว็บไซต์ดาวน์โหลดแอนตี้ไวรัสปลอม หลอกปล่อยมัลแวร์ใส่ทั้ง Windows และ Android
  • Bitdefender-app[.]com : เว็บไซต์ปลอมของ Bit Defender นั้นมุ่งเน้นในการโจมตีผู้ใช้งาน Windows บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ด้วยการปล่อยมัลแวร์ Lumna ซึ่งเป็นมัลแวร์ประเภทขโมยข้อมูล (Infostealer) ผ่านไฟล์ติดตั้ง “setup-win-x86-x64.exe.zip”

    แฮกเกอร์สร้างเว็บไซต์ดาวน์โหลดแอนตี้ไวรัสปลอม หลอกปล่อยมัลแวร์ใส่ทั้ง Windows และ Android
  • Malwarebytes[.]pro : เว็บไซต์ปลอมเป็นเครื่องมือป้องกันมัลแวร์ชื่อดังนี้ก็มุ่งเน้นโจมตีผู้ใช้งาน Windows เช่นเดียวกัน ซึ่งไฟล์ติดตั้งก็จะมาในรูปแบบไฟล์บีบอัดคล้ายคลึงกับ Bit Defender ปลอม แต่มาในรูปแบบ .rar (“MBSetup.rar”) สำหรับตัวมัลแวร์นั้นก็จะเป็นมัลแวร์ประเภทขโมยข้อมูลเช่นเดียวกัน ภายใต้ชื่อ StealC

    แฮกเกอร์สร้างเว็บไซต์ดาวน์โหลดแอนตี้ไวรัสปลอม หลอกปล่อยมัลแวร์ใส่ทั้ง Windows และ Android

โดยวิธีการแพร่กระจายเว็บไซต์ปลอมเหล่านี้ใช้วิธีการใดทางทีมวิจัยยังไม่ฟันธง แต่ทางทีมวิจัยนั้นก็ได้ยกตัวอย่างความเสี่ยงที่ผู้ใช้งานเข้าเว็บไซต์ผิด และดาวน์โหลดซอฟต์แวร์แฝงมัลแวร์มาติดในอดีต จากการที่เว็บไซต์ของแฮกเกอร์ที่ใช้กลยุทธ์คล้าย ๆ กันนั้น คือใช้วิธีการตลาดแบบ SEO เพื่อให้ตัวเว็บไซต์ขึ้นหน้าแรกในการค้นหา สร้างความสับสนให้กับผู้ใช้งานว่าเว็บไซต์ใดเป็นของจริง อันนำไปสู่การดาวน์โหลดมัลแวร์

เพื่อความปลอดภัยทางทีมวิจัยแนะนำว่า ก่อนที่จะดาวน์โหลดซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันใด ๆ มาติดตั้งนั้น ต้องหมั่นตรวจสอบความถูกต้องให้ถี่ถ้วน ตั้งแต่ตัว URL ของเว็บไซต์ ไปจนถึงตัวไฟล์ว่ามีจุดผิดสังเกตหรือไม่ เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่สามารถเลี่ยงได้


ที่มา : cybersecuritynews.com

0 %E0%B9%81%E0%B8%AE%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A1+%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87+Windows+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0+Android
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
นักเขียน : Editor    นักเขียน
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น