เพราะเทคโนโลยี Storage อาจไม่เพียงพอต่อการเก็บข้อมูลได้อย่างยาวนานเป็น 100 ปี เมื่อปีที่แล้ว ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562) GitHub จึงได้วางแผนครั้งใหญ่ภายใต้โครงการ Arctic Code Vault ที่จะนำโค้ดของซอฟต์แวร์ Open Source ใน public repository ของ GitHub ไปใส่ไว้ในฟิล์ม ฝังเอาไว้ที่ขั้วโลกเหนือ เพื่อเก็บไว้ให้คนรุ่นหลังในอีก 1,000 ปีข้างหน้า ซึ่งอาจฟังดูน่าเหลือเชื่อ แต่ความจริงที่ว่าสภาพอากาศหนาวเหน็บที่พอเหมาะ น่าจะทำให้สามารถเก็บรักษาไว้ได้ยาวนานมากขึ้น ก็มีความเป็นไปได้
ภาพจาก https://github.blog/2020-07-16-github-archive-program-the-journey-of-the-worlds-open-source-code-to-the-arctic/
ซึ่งวันนี้ GitHub ก็ออกมาประกาศแล้วว่า ได้นำโค้ดของซอฟต์แวร์ Open Source ทั้งหมดไปฝังไว้ที่หมู่เกาะสวาลบาร์ด มหาสมุทรอาร์กติก ดินแดนขั้วโลกเหนือตอนใต้เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคมที่ผ่านมา ตอนแรกเป้าหมายของ GitHub คือ ตั้งใจจะดำเนินการให้สำเร็จในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้มีการปิดพรมแดน เลยมีความจำเป็นต้องพักโครงการเอาไว้ก่อน
ภาพจาก https://github.blog/2020-07-16-github-archive-program-the-journey-of-the-worlds-open-source-code-to-the-arctic/
ซึ่งโค้ดเหล่านี้ถูกเก็บไว้อย่างปลอดภัยในฟิล์มแสงพิเศษของ piqlFlim ที่สามารถเก็บรักษาไว้ได้เป็นเวลานาน สามารถอ่านข้อมูลได้ด้วยคอมพิวเตอร์ หรือใช้แว่นขยายส่องดูด้วยตาของมนุษย์ก็ยังได้ ในกรณีที่อนาคตอาจมีเหตุการณ์ให้ไฟฟ้าดับทั่วโลก รวมถึงป้องกันความเสียหายจากสัตว์น้ำด้วยตู้คอนเ่ทนเนอร์นิรภัยอีกที มีจำนวน 186 ฟิล์ม และเก็บข้อมูลเอาไว้มากถึง 21 TB
ภาพจาก https://github.blog/2020-07-16-github-archive-program-the-journey-of-the-worlds-open-source-code-to-the-arctic/
ไม่ว่าในอีก 1,000 ปีข้างหน้า อารยธรรมของมนุษย์จะก้าวหน้าไปแค่ไหน หรือเสื่อมสลายลงไปเท่าไหร่ โค้ดเหล่านี้ก็พร้อมให้เก็บเกี่ยวมาศึกษาต่อไปได้ ถ้ามันใช่อย่างที่คิดจริงๆ อ่ะนะ
|
งานเขียนคืออาหาร ปลายปากกา ก็คือปลายตะหลิว |