ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

นักวิจัยคิดค้น Smart Glue กาวที่สามารถควบคุมการติดกับวัตถุได้ด้วยกระแสไฟฟ้า

นักวิจัยคิดค้น Smart Glue กาวที่สามารถควบคุมการติดกับวัตถุได้ด้วยกระแสไฟฟ้า

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 3,156
เขียนโดย :
0 %E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99+Smart+Glue+%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%96%E0%B8%B8%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย MTU (Michigan Technological University) ได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่มีชื่อว่า Smart Glue หรือกาวอัจฉริยะ ที่สามารถใช้งานได้ทั้งในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเท และพื้นที่ใต้น้ำ รวมทั้งยังสามารถ ควบคุมการติดกับวัตถุด้วยการปล่อยกระแสไฟฟ้า ได้อีกด้วย

ซึ่ง Smart Glue นี้ ได้ต่อยอดมาจากงานวิจัยของผู้ช่วยศาสตราจารย์ Bruce Lee ประจำคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering) ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี Michigan (MTU - Michigan Technological University) ที่คิดค้นเรื่องนี้ขึ้นมาในปี 2017 และเริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาในปี 2020 นี้

นักวิจัยคิดค้น Smart Glue กาวที่สามารถควบคุมการติดกับวัตถุได้ด้วยกระแสไฟฟ้า

ภาพจาก : https://www.mtu.edu/news/stories/2020/february/mtu-engineers-zap-and-unstick-underwater-smart-glue.html

โดยเขาได้แนวคิดเรื่องนี้มาจากประสบการณ์ตรงที่เขามักจะ ประสบปัญหากับการใช้งานผ้าปิดแผลหรือพลาสเตอร์ ที่เมื่อลอกออกมักจะดึงขนบริเวณใกล้กับแผลหลุดออกมาด้วย หรือในบางครั้งที่เกิดความผิดพลาดในการติดพลาสเตอร์ ก็อาจส่งผลให้แผลฉีกจากความเหนียวของกาว สร้างความเจ็บปวด ให้กับเราอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว นอกจากนี้ยัง ทิ้งรอยกาว เหนียวๆ เอาไว้ให้หงุดหงิดอีกต่างหาก

ด้วยเหตุนี้ Lee จึงเกิดแนวคิดในการประดิษฐ์กาวชนิดใหม่สำหรับพลาสเตอร์ปิดแผลที่มีความเหนียวติดทน, กันน้ำได้ และไม่สร้างความลำบากหรือทิ้งความเจ็บปวดไว้หลังจากการลอกทิ้งขึ้นมา โดยได้ แรงบันดาลใจมาจากเมือกใต้เท้าของหอยแมลงภู่ ที่มีความเหนียวและใช้งานได้ดีในพื้นที่ใต้น้ำ และได้ศึกษาเกี่ยวกับเมือกดังกล่าวนี้ และแยกส่วนประกอบทางเคมีของมันออกมา พบว่ามี สารประกอบโปรตีนและกรดอะมิโน DOPA (3,4-Dihydroxyphenylalanine) ที่มีความคล้ายคลึงกับสารโดปามีน (Dopamine) ในมนุษย์ 

เมือกใต้เท้าของหอยแมลงภู่

นักวิจัยคิดค้น Smart Glue กาวที่สามารถควบคุมการติดกับวัตถุได้ด้วยกระแสไฟฟ้า

ภาพจาก : https://jeb.biologists.org/content/jexbio/220/4/517/F1.large.jpg

จากนั้นเขาก็ได้ทำการสังเคราะห์สารดังกล่าวนี้ขึ้นมาใหม่ให้มีลักษณะใกล้เคียงกันกับเมือกใต้เท้าของหอยแมลงภู่ที่สามารถนำเอาไปใช้งานเพื่อติดกับสิ่งของอื่นๆ คล้ายกาวได้ และทดลองนำเอาไฟฟ้ามาใช้งานร่วมกับสารดังกล่าวนี้เพื่อคลายความเหนียวของกาวลง แต่ส่วนที่ยากของการวิจัยในครั้งนี้คือการ ทำให้ DOPA นี้กลับมามีคุณสมบัติคล้ายกาวที่สามารถใช้งานเพื่อติดกับสิ่งอื่นๆ ได้อีกครั้งหนึ่ง

“เราเชื่อว่ามีอีกหลายคนที่ได้ทดลองสกัดสารที่มีความคล้ายคลึงกับเมือกของหอยแมลงภู่เพื่อนำมาประดิษฐ์สิ่งอื่นๆ อีกมากมาย แต่การนำเอากระแสไฟฟ้ามาใช้ร่วมกันนั้นเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งการสกัดสารดังกล่าวนี้มาประดิษฐ์เป็นกาวนั้นง่ายกว่าการที่เราใช้กรดแบบทั่วๆ ไปในการผลิตกาวอยู่มากเลยทีเดียว และการนำเอาสารนี้มาปรับใช้ในลักษณะนี้ก็ง่ายต่อการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ไฟฟ้าอีกด้วย เพราะเราสามารถควบคุมมันได้คล้ายกับการกดปุ่ม”

ในขั้นตอนนี้ Lee ได้ร่วมมือกับ Seleh Akram Bhuiyan นักศึกษาปริญญาเอกวิศวกรรมชีวการแพทย์ ในการพัฒนาประสิทธิภาพของกาวชนิดนี้ โดย Bhuiyan ได้นำเอาแร่ ไทเทเนียมและแพลททินัมมาใช้เพื่อทดลองปฏิกิริยากับกระแสไฟฟ้า และผลการทดลองในขั้นตอนนี้ก็พบว่าเมื่อมีกระแสไฟไหลผ่านสายไฟฟ้าที่เชื่อมต่อไว้กับกาวนั้นจะทำให้ความเหนียวของกาวนั้นอ่อนลง และเมื่อกระแสไฟสูงมากพอก็ทำให้กาวละลายได้

โดยผลการทดลองพบว่า หากใช้ กระแสไฟราว 9 โวลต์จะทำให้กาวละลายตัวลงได้ในเวลา 7 วินาที เพียงเท่านั้น และปัญหาที่พบในการทดลองก็มีเพียงแค่ ตัวกาวเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อกระแสไฟไหลผ่าน เท่านั้น ดังนั้นการวิจัยในครั้งหน้าจึงเป็นการมุ่งพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสีของ Smart Glue ให้เปลี่ยนกลับไปเป็นสีขาวดังเดิมหลังผ่านกระแสไฟ ซึ่งในขั้นตอนนี้ก็ได้ทาบทาม Ameya Narkar (วิศวกรเคมีแพทย์ประจำมหาวิทยาลัย MTU) มาช่วยในเรื่องนี้เพิ่มเติมด้วย

อย่างไรก็ตาม ขอบเขตของการวิจัยในครั้งนี้ไม่เพียงตั้งใจจะพัฒนามาเพื่อใช้กับพลาสเตอร์ปิดแผลเท่านั้น เพราะมันสามารถนำเอาไป ปรับใช้และต่อยอดในการใช้งานได้อีกหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นในกระบวนการผลิตอุปกรณ์ดำน้ำ, โรงงานรถยนต์ หรือการใช้งานกับอวัยวะเทียมเองก็น่าจะใช้ประโยชน์จาก Smart Glue นี้ได้เช่นเดียวกัน


ที่มา : eurekalert.org , www.mtu.edu


0 %E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99+Smart+Glue+%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%96%E0%B8%B8%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
สมาชิก : Member    สมาชิก
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่..
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น