หลังจากที่มีข่าวเรื่องการ การเกิดไฟป่า ในรัฐ New South Wales ประเทศออสเตรเลียมาตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฏาคมปี 2019 นั้นก็กินเวลา ล่วงเลยมากว่า 240 วัน หรือราว 8 เดือนแล้ว และในที่สุดก็มีการรายงานว่าไฟป่าในครั้งนี้ได้ สงบลง โดยทางหน่วยดับเพลิงของรัฐ New South Wales (New South Wales Rural Fire Service) ได้ออกมาทวีตว่า
“นี่เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคมปี 2019 ที่พุ่มไม้และหญ้าในรัฐของเราไม่มีสัญญาณของการติดไฟ ซึ่งมันกินเวลาไปกว่า 240 วันหลังจากการรับแจ้งเหตุไฟป่าเลยทีเดียว”
For the first time since early July 2019, there is currently no active bush or grass fires in #NSW. That’s more than 240 days of fire activity for the state. #nswfires #nswrfs pic.twitter.com/NpjF3lAHKa
— NSW RFS (@NSWRFS) March 2, 2020
ซึ่งเหตุการณ์ไฟป่าครั้งใหญ่นี้ถือได้ว่าเป็นไฟป่าครั้งที่รุนแรงที่สุดตั้งแต่มีการเก็บสถิติมา และทำให้ทางรัฐบาลของประเทศออสเตรเลียตัดสินใจประกาศมาตรการใหม่ในการรับมือกับไฟป่าโดยได้ เพิ่มการติดตั้งดาวเทียม เพื่อช่วยในการตรวจจับสัญญาณไฟป่า
รัฐบาลให้งบกับทาง ANU ราว 1 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 20 ล้านบาท) ในการพัฒนาดาวเทียมนี้ให้สามารถใช้ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของผืนป่า โดยการติดตั้งตัวรับคลื่นอินฟราเรดบนดาวเทียม และทีม ANU จะร่วมมือกับทีมวิจัยอื่นๆ ในการผลักดันโปรเจคนี้ให้สำเร็จและปล่อยดาวเทียมนี้ขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศส่วนล่างของโลกเพื่อใช้งานจริง และคาดหวังว่าการลงทุนในครั้งนี้จะ คุ้มค่าเมื่อเทียบกับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
โดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Australian National University (ANU) เมือง Canberra ประเทศออสเตรเลียได้ระบุว่าพวกเขากำลังเร่งสร้าง “ดาวเทียม” ขนาดประมาณกล่องรองเท้า ที่มีความสามารถในการ ตรวจจับคลื่นอินฟราเรด และการเปลี่ยนแปลงของความชื้นในอากาศ เพื่อนำเอาข้อมูลมาวิเคราะห์หาความเสี่ยงในการเกิดไฟป่า
“ด้วยเทคโนโลยีอินฟราเรดนี้เราจะได้รับภาพถ่ายและข้อมูลมาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของการเกิดไฟป่าและมันน่าจะช่วยให้นักดับเพลิงได้เตรียมการรับมือป้องกันและควบคุมการลุกลามของไฟป่าที่อาจเกิดขึ้นได้” Dr. Marta Yebra ที่เป็นผู้พัฒนาเครื่องส่งสัญญาณบนดาวเทียมกล่าว
|
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่.. |