หลังจากที่มีการรายงานเรื่อง อุณหภูมิภายในทวีป Antarctic พุ่งสูงกว่า 20 องศาเซลเซียส (นับได้ว่าเป็นอุณหภูมิสูงที่สุดตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลมา) แล้วนั้น เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมานี้นักวิจัยภายในศูนย์วิจัย Ukraine’s Vernadsky Research Base ได้มีการเผยแพร่รูปภาพของ “หิมะสีแดง” ที่ปกคลุมอยู่รอบศูนย์วิจัยออกมาอีกด้วย
รูปภาพของ “หิมะสีแดง” ที่อยู่รอบๆ ศูนย์วิจัย Ukraine’s Vernadsky Research Base
ภาพจาก : https://www.archyworldys.com/20-minutes-scientists-worry-about-blood-snow/
ซึ่งปรากฏการณ์ “หิมะสีแดง” หรือ Watermelon Snow ที่ปกคลุมธารน้ำแข็งนี้ เกิดขึ้นมาจากสาหร่ายสายพันธุ์ Chlamydomonas Nivalis ที่มีเม็ดสีในคลอโรพลาสเป็นเฉดสีแดง ซึ่งเม็ดสีเหล่านี้จะดูดซึมความร้อนและป้องกันสาหร่ายจากแสงอัลตราไวโอเลตที่จะดูดเอาแร่ธาตุและสารอาหารของสาหร่ายออกไป อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์นี้เป็นประโยชน์แค่เฉพาะกับตัวสาหร่ายเพียงเท่านั้น เพราะยิ่งสาหร่ายมีการเจริญเติบโตได้ดีมากเท่าไรก็จะขยายตัว ปกคลุมธารน้ำแข็งและทำให้มันสูญเสียอุณหภูมิ ไปจนเกิดการละลายมากขึ้น
และนอกจากปรากฏการณ์ “หิมะสีแดง” แล้วนั้น อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ยังทำให้น้ำแข็งที่ปกคลุมเกาะ Eagle Island ในทวีป Antarctic เกิดการละลายลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเทียบจากรูปถ่ายดาวเทียมจะเห็นได้ว่า ปริมาณน้ำแข็งที่ปกคลุม Eagle Island นั้นลดลงอย่างรวดเร็ว จนเกิดเป็นแอ่งน้ำขึ้นบนเกาะเลยทีเดียว
ภาพการละลายของน้ำแข็งบน Eagle Island (รูปซ้ายถ่ายเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ และรูปขวาถ่ายเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์)
ภาพจาก : https://www.smithsonianmag.com/smart-news/new-island-popped-antarctica-glaciers-melt-180974265/
ไม่เพียงแค่น้ำแข็งบน Eagle Island จะละลายเพียงเท่านั้น เพราะ ธารน้ำแข็ง บริเวณอ่าว Pine Island Bay ในทะเล Amundsen Sea ทวีป Antarctic เกิดการ ละลายลงเรื่อยๆ จนสังเกตได้ถึงชั้นหินที่แทรกอยู่ภายใต้น้ำแข็ง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดว่ามันอาจเป็น เกาะแห่งใหม่ ที่ไม่เคยค้นพบมาก่อน
โดยนักวิจัยจากสถาบันวิจัย Thwaites Glacier Offshore Research (THOR) ได้ ค้นพบเกาะแห่งใหม่ ในขณะที่พวกเขากำลังแล่นเรือสำรวจบริเวณแถบธารน้ำแข็ง Pine Island Glacier และได้ตั้งชื่อเกาะแห่งนี้ว่า Sif Island หรือเกาะของซิฟที่เป็นชื่อของเทพเจ้านอร์ส
ภาพจาก : https://www.livescience.com/uncharted-island-discovered-antarctica.html
ซึ่งเกาะ Sif ที่ค้นพบใหม่นี้คาดการณ์ว่ามันน่าจะมีขนาดประมาณ 634,000 ตารางฟุต (58,900 ตารางเมตร) และมีความสูงราว 1,500 ฟุต (ประมาณ 350 เมตร) ปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนมาก แต่จากที่สังเกตเห็นชั้นหินบริเวณด้านล่างของตัวเกาะทำให้นักวิทยาศาสตร์ทราบว่ามันไม่ได้เป็นเพียงแค่ภูเขาน้ำแข็งที่ลอยออกมาจากธารน้ำแข็ง แต่เป็นเกาะแห่งใหม่ที่ยังไม่เคยค้นพบมาก่อน และได้เข้าไป เก็บตัวอย่างชั้นหิน ของเกาะ Sif กลับมาวิเคราะห์ ซึ่งในเบื้องต้น คาดการณ์ว่าหินของเกาะ Sif เป็นหิน Granite ที่มักพบในแถบภูเขาไฟ ส่วนผลการวิเคราะห์ชั้นหินอย่างละเอียดน่าจะออกมาในช่วงปลายเดือนมีนาคมนี้
ภาพจาก : https://www.polartrec.com/expeditions/thwaites-offshore-research/journals/2020-02-26
และหลังจากที่มีการประกาศว่าค้นพบเกาะแห่งใหม่นี้ Peter Neff นักวิทยาศาสตร์ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับธารน้ำแข็งในทวีป Antarctic ก็ได้ย้อนข้อมูลจาก Google Earth เพื่อนำมาทำคลิปวิดีโอ Timelapse ให้เห็นถึงการละลายของธารน้ำแข็งที่ปกคลุม Sif Island ตั้งแต่ช่วงปี 2010 มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งก็จะเห็นได้ว่าน้ำแข็งบนธารน้ำแข็ง Thwaites Glacier นี้มีการละลายและแยกตัวออกมาอย่างชัดเจน
Looks like ice retreated from the new "Sif Island" near #ThwaitesGlacier, #Antarctica since the early 2010s, based on a quick look at @googleearth timelapse.@ThwaitesGlacier @GlacierThwaites @rdlarter https://t.co/mt1E0QBEkk pic.twitter.com/UQr1hppukL
— Peter Neff (@peter_neff) February 24, 2020
|
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่.. |