เป็นกระแสอย่างมากในช่วงนี้ ว่าการมาของเทคโนโลยีจะเปลี่ยนประเทศไทยให้เข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งการเตรียมประมูลระบบ 5G, การปิดโรงงานเพื่อลดคน, ข่าวว่า AI จะมาทำงานมนุษย์, ข่าวหน่วยงานภาครัฐลงทุนทำ Data Center ขึ้นมาเพื่อใช้ในภาครัฐบาลเอง, อาชีพนั้นอาชีพนี้จะหายไปอาชีพแบบใหม่จะเกิดขึ้นแทนที่ อีกทั้งมีการรวมของอุปกรณ์ IoT กับ AI กลายเป็น AIoT ขึ้นมาอีก ข่าวเหล่านี้คงทำให้เจ้าของกิจการหลายๆ ท่านรู้สึกถึงการ Disruption แต่เรื่องจริงของ การทำ Digital Tranformation ภาคโรงงาน คืออะไรผมจะอธิบายให้ฟังครับ
จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารหลายๆ ท่าน ตั้งแต่ SME ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ทั้งนอก และในตลาดหุ้น ทุกคนรู้ถึงการมาของการ Disruption และต้องเปลี่ยนองค์กรเพื่อให้เข้าสู่ยุคดิจิทัล (แต่มีเพียง 3 ใน 10 บริษัทมีแผนรองรับเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลจาก RISE Corporate Innovation) เจ้าของกิจการหลายโรงงานจึงพยายามหาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกิจการในด้านต่างๆ มากมาย เช่น อุปกรณ์ IoT ระบบ Auto Machine เข้ามาใช้ในองค์กร เพราะคาดหวังว่าการนำเข้ามาใช้จะลดต้นทุนในการทำงาน ลดปัญหาเรื่องคนที่มีค่าใช้จ่ายแพงกว่าเครื่องจักร ผู้บริหารหลายท่าน หลงกับข่าวจากทั้งในไทยและต่างประเทศ เรื่องการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในองค์กร โดยคิดว่าการเอาของพวกนี้มาใช้ คือการทำ Digital Transformation
การเปลี่ยนแปลงขององค์กร ไม่ใช่การลดคน แต่เป็นการพัฒนาคน และปรับปรุงวิธีการทำงานให้รวดเร็วขึ้น มีแผนงานชัดเจน การทำงานไม่ซ้ำซ้อน ทำให้ความผิดพลาดในการผลิตลดน้อยลง โดยบางธุรกิจยังจำเป็นต้องใช้ทักษะของบุคคลในการทำงาน เพื่อให้ผลงานออกมาได้ดีกว่าการใช้เครื่องจักรในการผลิต จากการสอบถามเจ้าของโรงงานไม่ทราบว่า มีการอบรมเพื่อพัฒนาฝีมือของคนในองค์กรฟรี โดยองค์กรภาครัฐคอยให้บริการอยู่ครับ ทั้งกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน, กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ฯลฯ หรือถ้ามีงบประมาณ ก็สามารถเรียกใช้ผู้ให้บริการเอกชนได้หลายเจ้าที่ได้รับการรับรองก็ได้ แถมยังใช้เป็นค่าใช้จ่ายบริษัทเอามาลดภาษีได้อีกในอนาคต
วิธีการที่เจ้าของกิจการต้องเตรียมพร้อมให้องค์กร เข้ายุคใหม่ที่แท้จริงมีแนวทางในการปรับปรุงระบบงานในองค์กร สามอย่างต่อไปนี้ครับ
ใครที่เป็นเจ้าของกิจการได้อ่านบทความนี้ ท่านสามารถเริ่มเปลี่ยนองค์กรของท่านให้สู่ยุคดิจิตอลได้ง่ายมากเลยครับไม่ต้องเสียเวลา ลองไปดูภายในองค์กรว่า "พนักงานแต่ละคนใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคนละโปรแกรมกันไหม แต่ละคนเก็บข้อมูลแยกกันหรือเปล่า" ถ้าต่างคนต่างทำต่างคนต่างเก็บ นี่แหละครับจุดอ่อนขององค์กรที่ต้องรีบจัดการก่อนเลย ทุกคนต้องเก็บข้อมูลไว้ที่เดียวกัน ไฟล์เดียวกัน ใช้โปรแกรมเดียวกัน เพื่อสามารถนำข้อมูลเข้ามาประมวลผลได้ทันที ยกตัวอย่าง ถ้าฝ่ายจัดซื้อกับฝ่ายบัญชี ใช้โปรแกรมต่างกันจะได้ข้อมูลสองอันที่มีข้อมูลเยอะมาก เวลาทำสรุปต้องนำข้อมูลจากสองที่มาประมวลผลกัน บอกเลยทำงานแบบนี้ทำได้แต่ไม่ทันกิน ถ้าข้อมูลไม่ตรงกันอีกงานนี้สนุกแน่นอนครับเวลาที่ใช้ทำสรุปรายงานก็ยิ่งยาวออกไปอีก ถ้าสามารถออกข้อมูลสรุปได้ระดับวินาที ผู้บริหารสามารถดูรายงานตอนไหนก็ได้ไม่ต้องรอสรุปจะดีกว่าไหม? จากการสอบถามหลายโรงงานยังต้องรอรายงานในการผลิตรอสรุปหลายวัน แต่องค์กรยุคใหม่ข้อมูลจะต้องวิ่งในระดับวินาทีเพื่อเป็น Realtime Report เพื่อช่วยในการตัดสินใจในการผลิตต่อไป
ความยืดหยุ่นที่ว่า ไม่ใช่การออกกำลังกายก่อนทำงานนะครับ แต่เป็นขั้นตอนต่อจากขั้นตอนแรก เมื่อเรารวบรวมข้อมูลในการทำงานไว้ที่เดียวแล้ว การนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อให้ได้รายงานที่ทันที ผู้จัดการจะสามารถตัดสินใจบริหารทรัพยากรในองค์กรได้รวดเร็วถูกต้องเช่นกัน ในปัจจุบันมีโปรแกรมช่วยงานด้านนี้เยอะมาก หลายตัวมีความสามารถคาดการณ์เรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกด้วย เช่นต้องเปิดรอบทำงานล่วงเวลา ล่วงหน้าในตอนที่ผลการผลิตมีความผิดพลาด จนยอดของสินค้าไม่ถึงยอดที่ต้องการ รวมถึงสามารถบอกจำนวนคนที่ต้องการและวัตถุดิบที่ต้องการใช้ในการผลิตอีกด้วย เรื่องแบบนี้ถ้ารอให้ผลิตเสร็จแล้วมานั่งนับยอด ถึงค่อยมาตัดสินใจว่าควรเปิดรอบการผลิตอีกกี่รอบมันช้าไป บริษัทต้องปรับปรุง Workflow ฝ่ายผลิต การเงิน บัญชี ฯลฯ ให้อยู่ในระบบที่ได้มาตรฐานชัดเจนไม่ซ้ำซ้อนลดการทำงานที่ไม่จำเป็นส่งผลให้การทำงานรวดเร็ว อีกทั้งจะทำให้ต่อยอดขอมาตรฐานอุตสาหกรรม (ISO) ได้ง่ายต่อไปในอนาคตอีกด้วย
การเชื่อมต่อกับระบบงานภายนอก คำว่าภายนอกนี้ คือนอกจากต่างแผนกแล้ว ยังรวมถึงต่างยี่ห้อของอุปกรณ์อีกด้วย โรงงานที่รับผลิตสิ่งของต่างๆ มีการลงทุนด้านเครื่องจักรแต่ละรอบไม่เท่ากัน บางโรงงานสั่งเป็นรอบๆ อาจจะต่างยี่ห้อ ต่างราคาต่างรุ่นกันทำให้เครื่องจักรก่อนหน้านี้ไม่สามารถคุยกันเองระหว่างเครื่องจักรได้ แต่ตอนนี้ได้มีการกำหนดมาตรฐานกลางเพื่อทำการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องจักร และเชื่อมต่อข้อมูลเข้าระบบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำไปประมวลผล ผ่านโปรแกรมประยุกต์ได้เลย
ถึงตรงนี้หลายคนคงมีคำถามว่า แนวทางการเปลี่ยนแปลงแบบนี้ทำไปทำไมทำให้เร็วแล้วได้อะไร? ทำไม่ได้หรอก! จะลงทุนมากเกินไปไหม? บอกเลยครับ "เมื่อไหร่เราทำงานได้รวดเร็วเราจะนำหน้าคู่แข่ง เมื่อไหร่ที่คู่แข่งทำงานได้เร็วกว่าเราจะเป็นผู้ตาม" ในโลกนี้ ใครเร็วใครได้ จริงไหมครับ? โดยถ้าทำตามขั้นตอนง่ายๆ สามข้อที่ว่าแล้ว ที่เหลือก็ง่ายแล้วครับ จะนำเทคโนโลยีอะไรเข้ามาใช้จะติดตั้งได้ง่ายตอบโจทย์ และทำให้การทำงานเกิดความรวดเร็วขึ้นไปอีกยิ่งกว่าติดจรวด ถ้าจะต้องปรับเปลี่ยนอะไรก็เปลี่ยนนิดหน่อยไม่ยกทั้งระบบ การต่อต้านของคนงานก็จะน้อย, รายได้จะเพิ่ม, เวลาการทำงานจะลดลง ส่งผลดีโดยรวมให้กับกิจการแน่นอน
|
Review...Every thing |