นักวิจัยจาก ETH Zurich ใน Switzerland ได้พัฒนาแบตเตอรี่ในรูปแบบฟิล์มแผ่นบางซึ่งมันมีคุณสมบัติในการบิด งอ ยีดขยายได้ต่างจากแบตเตอรี่แบบเดิมๆ ที่เราใช้กัน ข้อดีคือแบตเตอรี่ประเภทนี้สามารถนำไปใช้งานกับอุปกรณ์ที่ต้องการความยืดหยุ่น สามารถพับ งอได้ โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดระเบิดหรืออันตรายใดๆ แถมยังใช้งานได้ตามปกติอีกด้วย
ขอบคุณภาพจาก : Niederberger Group, ETH Zurich
หัวใจหลักของการออกแบบให้มันสามารถบิดได้คือ การออกแบบขั้วตัวเก็บประจุขั้วบวกขั้วลบใหม่โดยใช้พอลิเมอร์ที่มีความยืดหยุ่นบิดและงอได้ผ่านสื่อนำไฟฟ้าคาร์บอนที่เคลือบไว้แบบชั้นบางๆ ขนาดเล็กเท่าไมครอนแบบเกล็ดเหล็กอยู่ภายในพอลิเมอร์ เหล็กในรูปแบบเกล็ดที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ เหมือนหลังคา แม้มันจะถูกยืดหรือบิดยังไงก็ยังส่งผ่านกระแสไฟได้ดี
นอกจากนี้ยังมีการใช้ส่วนประกอบอื่นๆ ในการทดลองต้นแบบแบตเตอรี่แบบอื่นๆ อีก เช่นการใช้ Gel Electrolytes (อิเล็กโทรไลท์แบบเจล) ปลอดภัยสูงกว่าแบตเตอรี่ในตลาดทุกวันนี้ นั่นก็เพราะแบตเตอรี่ที่เราใช้กันอยู่มีอิเล็กโทรไลท์เหลวอยู่ภายใน ซึ่งก่อให้เกิดประกายไฟและสารพิษที่เป็นอันตรายได้ นั่นทำให้ทีมนักวิจัยพยายามหาทางทำให้วัสดุที่ใช้ในการสร้างแบตเตอรี่ปลอดภัยที่สุดแม้เกิดการรั่วก็ไม่เกิดอันตรายใดๆ ต่อผู้ใช้งาน
ขอบคุณภาพจาก : ETH Zurich / Peter Rüegg
(ต้นแบบแบตเตอรี่ที่สามารถบิดงอได้)
อย่างไรก็ตามแบตเตอรี่ชนิดนี้ยังอยู่ในการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและความทนทานให้มากขึ้น เมื่อใดที่แบตเตอรี่นี้พร้อมลงสู่ตลาดจริง ผู้ผลิตหลายๆ เจ้าคงมีทางเลือกใช้แบตเตอรี่ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ อย่างมือถือจอโค้ง แท็บเล็ตพับจอแบบบิดได้ (คงคล้ายๆ Galaxy Fold แต่อาจจะดีกว่า) เมื่อนั้นปลายทางผู้ใช้งานอย่างเราๆ ก็คงจะมีสินค้าพร้อมกับนวัตกรรมใหม่ๆ มาให้ใช้กันอย่างแน่นอน
|
It was just an ordinary day. |