ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

บริษัท Startup อัดข้อมูล Wikipedia กว่า 16GB ลงใน DNA

บริษัท Startup อัดข้อมูล Wikipedia กว่า 16GB ลงใน DNA

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 4,503
เขียนโดย :
0 %E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%97+Startup+%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5+Wikipedia+%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2+16GB+%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99+DNA
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ที่เราใช้งานกัน นั้นก็มีหลากหลายประเภท ตั้งแต่สมัย การเก็บข้อมูลในรูปแบบสายแม่เหล็ก (เทป), ฮาร์ดดิสก์ จานแม่เหล็ก ไปจนถึง เทคโนโลยีชิปข้อมูลที่ซ้อนกันในรูปแบบ 3D แต่สำหรับเทคโนโลยีใหม่นี้อาจจะกลับไปใช้งานการเก็บข้อมูลแบบเก่าแก่สุดๆ ในโลกนี้เลยก็ว่าได้ และ นั่นก็คือ ข้อมูลในรูปแบบ DNA

บริษัท Startup อัดข้อมูล Wikipedia กว่า 16GB ลงใน DNA

ขอบคุณรูปภาพจาก : CNET

ซึ่ง DNA (Deoxyribonucleic Acid) นั้นเป็นสารพันธุกรรมที่สามารถเก็บรหัสข้อมูลแบบเฉพาะของสิ่งมีชีวิต เช่น เซลล์ ลักษณะ ของถั่ว และ ลิงชิมแปนซี แต่ไม่เพียงแค่นั้น ในที่นี้มันสามารถเก็บรหัสข้อมูลดิจิตอล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบสสารทางเคมีได้ด้วย

บริษัทสตาร์ทอัพ Catalog ประกาศว่า พวกเขาได้จัดการบีบอัดข้อมูลสารานุกรม Wikipedia เวอร์ชันภาษาอังกฤษขนาด 16 GB ผ่านเครื่อเขียนข้อมูลลงใน DNA ได้สำเร็จเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งเขาใช้ Prefabricated synthetic DNA strands ซึ่งมีขนาดสั้นกว่า DNA มนุษย์ และ เมื่อมารวมกันเยอะๆ มันสามารถเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมากขึ้น

บริษัท Startup อัดข้อมูล Wikipedia กว่า 16GB ลงใน DNA

ขอบคุณรูปภาพจาก : CNET

นอกจากนี้ ทางบริษัทนี้ได้สร้างเครื่องเขียนข้อมูลลง DNA ที่มีขนาดเล็กมากพอ (เล็กกว่าเครื่องในยุคแรกๆ) ที่จะไว้ในบ้านคนได้ ถ้าเคลียร์พื้นที่นำไปวางแทนตู้เย็น, เตาอบ และ พื้นที่บนชั้นวาง ก็จะว่างพอให้เจ้าเครื่องเขียน DNA นี้ตั้งได้ล่ะนะ

แม้ว่าในตอนนี้การเข้าถึงข้อมูล DNA มันจะใช้งานไม่ง่ายเหมือนการเอาเมมโมรี่การ์ดไปเสียบในมือถือแล้วใช้ได้เลย แต่อย่างน้อยมันก็พร้อมสำหรับลูกค้าบางรายที่ต้องการจะจัดเก็บข้อมูลในปริมาณมหาศาล ซึ่งมันเหมาะสำหรับหน่วยงานรัฐบาล, โครงการวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ, ธุรกิจค้าน้ำมันและแก๊ส, สื่อ ภาพยนตร์, หุ้น, และ ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ นั่นเอง

ถึงแม้การจัดเก็บข้อมูลแบบ DNA อาจจะถูกรบกวนได้จากรังสี Cosmic แต่ถ้าเทียบกับการจัดเก็บข้อมูลแบบเดิมๆ มันเสถียรกว่าการเก็บทางเลือกอื่น – ทาง Catalog กล่าว


เทียบกับกาลเวลาแล้ว อย่างเช่นยุคแรกๆ เจ้า Floppy Disk ก็หายไปจนหมดสิ้น แต่กับการเก็บข้อมูลลงใน DNA อาจจะเก็บได้ยาวนานกว่านั้น นั่นก็เพราะ ขนาด DNA ของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วกว่า 1,000 ปียังสามารถหาเจอได้  แล้วเพื่อนๆ คิดว่า Flash Drive ที่วางไว้ใต้โต๊ะทำงาน ยังจะสามารถใช้งานได้ไหม หลังจากผ่านไป 25 ปี ?


ที่มา : www.cnet.com , catalogdna.com , www.thaibiotech.info

0 %E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%97+Startup+%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5+Wikipedia+%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2+16GB+%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99+DNA
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ดูแล : Moderator    สมาชิก
It was just an ordinary day.
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น