ในเรื่องทางเทคนิคเกี่ยวกับการ เลือกตั้ง นั้นมีศัพท์ที่น่าสนใจอยู่คำหนึ่งคือ "Show election" โดยเนื้อหาบน Wikipedia ให้คำจำกัดความของ Show election ว่าเป็นการเลือกตั้งที่จัดขึ้นมา โดยที่ไม่ได้ทำให้เกิดตัวเลือกทางการเมือง หรือผลการเลือกตั้งไม่ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงใดๆ ทางการเมือง หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือการเลือกตั้งที่ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงไม่มีตัวเลือกอื่นใด อย่างเช่นอาจจะมีพรรคการเมือง หรือประธานาธิบดี ให้เลือกเพียงแค่คนเดียว หรือว่าผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงถูกบังคับขู่เข็ญ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ เพื่อให้เลือกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง หรือประธานาธิบดีคนใดคนหนึ่ง
โดยที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า Show election นั้นมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในระบอบการปกครองแบบเผด็จการ ที่ต้องการจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นเพื่อรับรองความถูกต้องในการปกครองประเทศ โดยข้อสังเกตของการ เลือกตั้งแบบไม่มีตัวเลือก คือ จะได้รับคะแนนเสียงท่วมท้นแทบจะ 100% ซึ่งคะแนนเสียงที่ได้มาอาจนำไปใช้เป็นเครื่องยืนยันกับประชาคมโลก ถึงความเป็นประชาธิปไตยของประเทศ
ในการเลือกตั้งแบบ Show election บางครั้ง มีตัวเลือกของประธานาธิบดี หรือผู้นำประเทศเพียงคนเดียว (ถ้าจะเรียกว่าไม่มีตัวเลือก ก็น่าจะถูกอยู่เหมือนกัน) ซึ่งเป็นคนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเผด็จการ ในขณะที่ตัวแทนจากฝ่ายค้าน จะถูกกีดกันออกไปจากการเลือกตั้งในที่สุด
ตัวอย่างของการทำ Show election ที่น่าสนใจประวัติศาสตร์โลกก็มี อาทิ
โดยที่ Show election มีหลักการร่วมกันคือ ผลการเลือกตั้งได้ถูกกำหนดไว้แบบเบ็ดเสร็จโดยผู้มีอำนาจ ผ่านกระบวนการปราบปรามฝ่ายขั้วตรงข้าม, บีบบังคับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (Coercion of voters) รวมถึงการแก้ไขผลคะแนน (อย่างเช่นการลงประชามติของรัฐเวียดนามในปี 1955) ซึ่งอาจจะใช้เพียงวิธีการใดวิธีการหนึ่ง หรืออาจจะใช้หลายๆ วิธีร่วมกันในการ กำหนดผลการเลือกตั้ง ตัวอย่างที่ชัดเจนของการทำ Show election คือในปี 1920 ประธานาธิบดีของประเทศไลบีเรีย เคลมว่า เขาได้คะแนนเสียงจากการเลือกตั้งถึง 243,000 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนที่สูงเกินกว่าจำนวนของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งถึง 15 เท่า และได้รับการจดบันทึกโดย Guinness Book of Records ให้เป็นการเลือกตั้ง ที่มีการโกงคะแนนเสียงมากที่สุดในโลก
ในยุคนาซีเยอรมันเรืองอำนาจ บนบัตรเลือกตั้งมีเพียงชื่อของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ให้ประชาชนเลือก โดยปราศจากคู่แข่ง
ในส่วนวิธีที่ใช้ในการ บีบบังคับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า Coercion of voters นั้นก็มีรายละเอีดยที่น่าสนใจทีเดียว โดยการเลือกตั้งปี 1936 ซึ่งเป็นในยุคสมัยที่พรรคนาซีเยอรมัน โดยมี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นท่านผู้นำ กำลังเรืองอำนาจ เรื่องตลกคือในบัตรเลือกตั้งมีเพียงชื่อของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ อยู่เพียงรายเดียว ไม่มีชื่อของผู้สมัครรายอื่นให้เลือกเลย เรียกได้ว่าเป็น การเลือกตั้งแบบทีไม่มีตัวเลือก อย่างแท้จริง และ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ชนะไปด้วยคะแนนเสียงที่ท่วมท้นถึง 98.8%
การบีบบังคับผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ในอีกวิธีการหนึ่งก็คือ บนบัตรเลือกตั้งมีเพียง 2 ตัวเลือกคือ Yes กับ No และคนที่กล้าโหวต No จะทำให้ชีวิตตกอยู่ในความยากลำบาก ดังนั้น การโหวต Yes จึงเป็นเพียงตัวเลือกเดียวสำหรับคนที่ต้องการชีวิตสงบสุข ตัวอย่างเช่น การเลือกตั้งรัฐสภาของประชาชนในประเทศเอสโตเนีย (Estonia) รวมถึงประเทศลัตเวีย (Latvia) และประเทศลิทัวเนีย (Lithuania) ในปี 1940 ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากที่สหภาพโซเวียตเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของประเทศ โดยคนที่โหวต Yes จะได้รับการประทับตราลงในหนังสือพาสปอร์ต และคนที่ไม่โหวต Yes จะกลายเป็นศัตรูของรัฐ
คูหาเลือกตั้งของเกาหลีเหนือ ที่เปิดเผยให้เห็นว่าใครเลือก หรือไม่เลือกท่านผู้นำ
อีกหนึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนของ Show election หรือการเลือกตั้งแบบไม่มีตัวเลือกคือ วิธีการเลือกตั้งแบบอนุรักษ์นิยมของ เกาหลีเหนือ ที่บนบัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง มีเพียงชื่อของท่านผู้นำ คิม จอง อึน เพียงรายชื่อเดียว และสำหรับคนที่กล้าพอที่จะไม่เลือกเขา ก็ต้องหยิบปากกาแดงที่วางอยู่ข้างๆ กล่องหย่อนบัตรเลือกตั้ง มากาลงไปบนรายชื่อของเขา ซึ่งกล่องหย่อนบัตรเลือกตั้งไม่ได้เป็นคูหาที่ปิดมิดชิด แต่อย่างใด ดังนั้นจึงไม่เป็นความลับว่าใครเลือก หรือไม่เลือกท่านผู้นำ
|
ไม่เสพติดไอที แต่ชอบเสพข่าวเทคโนโลยี หาความรู้ใหม่ๆ มาใส่สมอง |