ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

NASA เตรียมส่งนักบินอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์เพื่อสำรวจทรัพยากร

NASA เตรียมส่งนักบินอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์เพื่อสำรวจทรัพยากร

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 7,219
เขียนโดย :
0 NASA+%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

Bloomberg รายงานว่าในที่ประชุม Space Symposium ที่รัฐโคโลราโด NASA ได้ประกาศถึงการเริ่มดำเนินงานในโครงการ Lunar Orbital Platform-Gateway ที่จะให้นักบินอวกาศจำนวน 4 คน เดินทางโคจรรอบดวงจันทร์ มีกำหนดภายในปี 2025

โดยยานอวกาศ Orion ที่พัฒนาโดยบริษัท Lockheed Martin จะเตรียมการเพื่อเดินทางไปยังเกตเวย์ดังกล่าวด้วยการนำส่งโดยระบบจรวด Space Launch System (SLS) ภารกิจโคจรรอบดวงจันทร์ครั้งแรกที่จะเกิดขึ้นในปี 2019 ได้มีการตั้งชื่อภารกิจให้ว่า Exploration Mission-1 (EM-1) และจะกินเวลานาน 3 สัปดาห์ เป็นการโคจรรอบดวงจันทร์ด้วยยานที่ไร้มุนษย์ และโคจรที่จะดับความสูง 62 ไมล์ เหนือพื้นผิวของดวงจันทร์ จากนั้นวงโคจรจะห่างขึ้นเป็น 40,000 ไมล์ ก่อนจะกลับสู่โลก และภารกิจแบบมีมนุษย์ไปกับยานด้วย มีการวางแผนเอาไว้ในปี 2023

บทความเกี่ยวกับ NASA อื่นๆ

Lunar Orbital Platform-Gateway คือโครงการสำรวจทรัพยากรบนดวงจันทร์ เพื่อสร้างพื้นที่ยุทธศาสตร์ และเก็บเกี่ยวประสบการณ์เพื่อเป็นการต่อยอดไปยังภารกิจบนดาวอังคารต่อไป นอกจากนี้ ผลจากการสำรวจดังกล่าวก็จะเป็นตัวกำหนดว่า เราจะสามารถสกัดน้ำจากพื้นผิวดวงจันทร์และใช้มันในการผลิตเชื้อเพลิงสำหรับจรวดเพื่อทำภารกิจต่อได้หรือไม่

ทั้งนี้ การทดลองโคจรรอบดวงจันทร์นั้นมีประโยชน์เป็นอย่างมาก เพราะแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์สามารถช่วยชะลอความเร็วของยานอวกาศลงได้ หลังจากการเดินทางยาวนาน 6 เดือนกลับจากดาวอังคาร ก่อนที่จะกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกในท้ายที่สุด


วิดีโอประกอบจาก Youtube

ที่มา : www.digitaltrends.com


0 NASA+%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
สมาชิก : Member    สมาชิก
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น