ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

โบอิ้ง เปิดตัว ลูกชายของนกดำ บินที่ความเร็ว 5 เท่าของความเร็วเสียง

โบอิ้ง เปิดตัว ลูกชายของนกดำ บินที่ความเร็ว 5 เท่าของความเร็วเสียง

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 16,086
เขียนโดย :
0 %E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87+%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7+%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B3+%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7+5+%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

มีการแข่งขันกันระหว่างบริษัทผลิตอากาศยานอย่าง โบอิ้ง และ Lockheed เพื่อเฟ้นหาเครื่องบินลาดตระเวนทางยุทธวิธีลำใหม่เข้าประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐ แทนที่เครื่องบินลำเก่าระดับตำนานของ Lockheed อย่างเครื่อง SR-71 ที่ได้รับฉายาว่าเจ้า นกดำ หรือ "Blackbird" โดยจุดเด่นของเครื่องบินตระกูลนี้คือความเร็วในการบินเหนือเสียง และเพดานบินที่สูงเป็นพิเศษ เพื่อหลบเลี่ยงการตรวจพบของข้าศึก และเครื่องบินลำใหม่ของ โบอิ้ง ที่ได้รับฉายาว่า ลูกชายของนกดำ หรือ "son of Blackbird" ถือเป็นการก้าวกระโดดอีกขั้นของเทคโนโลยีด้านอากาศยาน

โบอิ้ง เปิดตัว ลูกชายของนกดำ บินที่ความเร็ว 5 เท่าของความเร็วเสียง

เจ้านกดำ หรืิอ Lockheed SR-71 เครื่องบินลาดตระเวนทางยุทธวิธี

โดย โบอิ้ง ได้ออกแบบเครื่อง SR-72 (son of Blackbird) มาเพื่อแข่งขันกับเครื่องบินในรูปแบบเดียวกันของบริษัทคู่แข่งอย่าง Lockheed โดยเจ้า ลูกของนกดำ สามารถทำความเร็วได้เป็น 5 เท่าของความเร็วเสียง (Mach 5) หรือคิดเป็น 6,174 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นภาพของความเร็วอย่างชัดเจน เครื่องบินโดยสาร โบอิ้ง 787 Dreamliner นั้นทำความเร็วสูงสุดได้เพียง 903 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเมื่อเทียบกับเครื่องบินขับไล่อย่าง F-15 Eagle ก็ยังทำความเร็วสูงสุดได้เพียง 2,665 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น

โบอิ้ง เปิดตัว ลูกชายของนกดำ บินที่ความเร็ว 5 เท่าของความเร็วเสียง

โดยภาพคอนเซ็ปต์ของเจ้า SR-72 ถูกเปิดเผยในงานสัมมนา American Institute of Aeronautics and Astronautics SciTech ซึ่งจัดขึ้นในเมือง Orlando รัฐ Florida เห็นได้ว่าดีไซน์ของเครื่องบินลำนี้ล้ำยุคล้ำสมัยเอามากๆ มันไม่เหมือนเครื่องบินลำไหนๆ ที่เราเคยเห็นมา และนอกจากมันจะได้รับภารกิจการบินลาดตระเวนทางยุทธวิธีแล้ว ก็อาจจะมีภารกิจทางด้านการบินต่อสู้หรือโจมตีเป้าหมายด้วย

โดยคุณ Kevin Bowcutt ซึ่งเป็นหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ที่ออกแบบเครื่องบินเหนือเสียงของบริษัท โบอิ้ง ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อ Aviation Week ว่า "มันไม่ง่ายเลยกับการออกแบบเครื่องบิินที่สามารถเร่งความเร็วจาก 1 เท่าของความเร็วเสียง ไปสู่ระดับความเร็ว 5 เท่าของความเร็วเสียงหรือสูงกว่านั้น"

โดยกระบวนการพัฒนาเครื่อง SR-72 แบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยในช่วงแรกเป็นการทดลองบินกับเครื่องที่ขนาดเท่าเครื่องบินขับไล่ F16 โดยใช้เครื่องยนต์ตัวเดียว เพื่อทดสอบว่ามีความเป็นไปได้ในการออกแบบ หลังจากนั้น ทีมพุ่งเป้าไปสู่การพัฒนาเครื่องบินความเร็วสูงแบบ 2 เครื่องยนต์ ในขนาดตัวลำยาว 107 ฟุตเท่าของจริง โดยอ้างอิงขนาดจากเครื่ิืองบินรุ่นก่อนอย่าง SR-71 โดยสื่อ Popular Mechanics รายงานว่า ทีมงานของโบอิ้ง ได้ดึงเอาประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในการพัฒนาเครื่องบินความเร็วเหนือเสียงแบบไร้คนขับอย่างเครื่องรุ่น X-43 และ X-51 มาใช้กับ SR-72

โดยเครื่อง X-51 ประสบความสำเร็จในการบินทดสอบที่ความเร็ว 5.1 เท่าของความเร็วเสียง เป็นเวลา 3 นาทีครึ่ง โดยการบินทดสอบเกิดขึ้นเมื่อเดือน พฤษภาคม 2013 ก่อนที่มันจะดิ่งสู่มหาสมุทรแปซิฟิกเนื่องจากเชื้อเพลิงหมด

โบอิ้ง เปิดตัว ลูกชายของนกดำ บินที่ความเร็ว 5 เท่าของความเร็วเสียง

Boeing X-51 อากาศยานไร้คนขับที่สามารถบินด้วยความเร็วเหนือเสียง

และ X-51 ก็ไม่อาจถือได้ว่ามันเป็นเครื่องบินอย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากในขั้นตอนการทดสอบบิน มันได้ถูกปล่อยตัวออกจากเครื่องบินลำใหญ่ที่ระดับความสูง ก่อนที่มันจะบินต่อไปด้วยตัวเอง โดยใช้พลังขับเคลื่อนจากเครื่องยนต์จรวด ที่ช่วยให้มันทำความเร็วได้สูงถึง 4.8 เท่าของความเร็วเสียง จากนั้นจึงสลัดเครื่องยนต์จรวดทิ้งแล้วเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์แบบ Scramjet ทำให้มันเร่งความเร็วได้แตะระดับ 5 เท่าของความเร็วเสียง โดยสื่อ Popular Mechanics ให้รายละเอียดว่า "เครื่องบินความเร็วเหนือเสียงที่จะมารับหน้าที่แทน SR-71 นั้นจะต้องสามารถบินขึ้นจากสนามบินได้ด้วยเครื่องยนต์ของตัวมันเอง เร่งความเร็วจากระดับ 1 เท่าความเร็วเสียง ไปสู่ระดับความเร็ว 5 เท่า และสามารถลดระดับความเร็วลงมา เพื่อทำการลงจอดได้อย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นการออกแบบเครื่องบินความเร็วสูงที่มีความท้าทายมาก"


ที่มา : www.digitaltrends.com


0 %E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87+%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7+%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B3+%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7+5+%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
ไม่เสพติดไอที แต่ชอบเสพข่าวเทคโนโลยี หาความรู้ใหม่ๆ มาใส่สมอง
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น