ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

NASA เตรียมแผนรับมือกับอุกกาบาตพุ่งชนโลก โดยการส่งยานพุ่งชนมันก่อน

NASA เตรียมแผนรับมือกับอุกกาบาตพุ่งชนโลก โดยการส่งยานพุ่งชนมันก่อน

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 13,419
เขียนโดย :
0 NASA+%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81+%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา อาจจะมีน้อยคนที่รู้ว่ามันคือวัน อุกกาบาตโลก หรือ Asteroid Day และมีหลายประเทศที่จัดงานสัมมนาเพื่อชี้ให้เห็นความเสี่ยง ที่โลกอาจโดนชนโดยวัตถุที่ล่องลอยหรือโคจรอยู่ใกล้โลก (Near-Earth objects) ซึ่งในปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันในวงการดาราศาสตร์ว่า ในห้วงอวกาศเต็มไปด้วยอุกกาบาตขนาดน้อยใหญ่มากมาย ซึ่งมีอุกกาบาตทั้งที่เราค้นพบแล้ว และที่ยังไม่ค้นพบก็มีอีกเป็นจำนวนมาก และอุกกาบาตบางดวงมีขนาดใหญ่พอที่จะทำลายเมืองได้ทั้งเมือง

โดยผู้ก่อตั้ง วันอุกกาบาตโลก ได้เตือนชาวโลกว่า ภายในระยะ 10 ปีข้างหน้า จะมีการค้นพบอุกกาบาตขนาดใหญ่เป็นจำนวน 100,000 ดวงในแต่ละปี ซึ่งเป็นจำนวนที่ไม่น้อยเลย และเราหวังว่าจะมีวิธีการยับยั้งก่อนที่มันจะพุ่งชนโลก และแน่นอนว่าองค์การด้านอวกาศชั้นนำอย่าง NASA ก็ให้ความสนใจในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน

บทความเกี่ยวกับ NASA อื่นๆ

โดยงานที่ต้องทำเป็นอันดับแรก คือการแบ่งแยกประเภท จัดกลุ่มให้กับอุกกาบาตที่มีความเสี่ยงที่จะพุ่งชนโลก เพื่อที่จะได้หาวิธีการเฝ้าระวัง และคิดค้นวิธีการรับมือกับพวกมัน

และไอเดียของ NASA คือการรวมมือกับ องค์การอวกาศยุโรป หรือ ESA (European Space Agency) เพื่อการจัดตั้งภารกิจที่มีชื่อเรียกว่า AIDA (Asteroid Impact and Deflection Assessment) ซึ่งตอนนี้ทาง NASA ขยับแผนการจากช่วงเวลาแห่งการวางแนวคิด ไปยังช่วงเวลาแห่งการออกแบบอุปกรณ์เพื่อใช้ในการนี้แล้ว

โดยภารกิจ AIDA ได้แบ่งองค์ประกอบหลักออกเป็น 2 อย่าง โดยที่ทาง ESA รับผิดชอบในภารกิจที่เรียกว่า AIM (Asteroid Impact Mission) และทาง NASA รับผิดชอบในภารกิจ DART (Double Asteroid Redirection Test) ซึ่งเป็นส่งยานขนาดเล็กบินพุงชน Didymoon มันเป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็ก ที่โครจรอยู่รอบดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่า โดยที่ทั้ง Didymoon และดาวเคราะห์หลักของมัน ถูกเรียกรวมกันว่า ระบบดาว Didymos

เมื่อยานขนาดเล็กของ NASA พุ่งชน Didymoon แล้ว ยาน AIM ของทาง ESA จะทำการตรวจสอบความเร็ว และเส้นทางการโคจรของ Didymoon รอบดาวเคราะห์ของมัน ว่ามีการเปลี่ยแปลงไปหรือไม่ ซึ่งถ้าผลจากการทดลองนี้ ชี้ชัดออกมาว่า การส่งยานขนาดเล็กเข้าไปชน สามารถทำให้ความเร็ว และวงโคจรของดาวเคราะห์เปลี่ยนแปลงไปได้จริง เราก็สามารถนำเทคนิคเดียวกันนี้ มาใช้กับอุกกาบาตที่มีความเสี่ยงจะพุ่งเข้าชนโลกได้ (ลองชมเนื้อหาในคลิปวิดีโอทางด้านบน)

คลิปอุกกาบาตตกลงในเมือง Chelyabinsk ประเทศรัสเซีย

อุกกาบาตมีการพุ่งชนโลกอย่างต่อเนื่อง โดยอุกกาบาตขนาดเล็กจะถูกเผาไหม้หมดไปในชั้นบรรยากาศ และอุกกาบาตที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมา อาจจะผ่านการเผาไหม้ของชั้นบรรยากาศมาได้ แต่ก็มักเหลือขนาดที่เล็กจนไม่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง แต่ก็มีในบางครั้ง ที่โลกเราถูกชนด้วยอุกกาบาตขนาดใหญ่ ที่สร้างความเสียหายรุนแรง ถ้ายังจะกันได้ ในปี 2013 คลิปของอุกกาบาตที่ตกลงในเมือง Chelyabinsk ประเทศรัสเซีย ได้สร้างความแตกตื่นให้กับชาวโลกเป็นอย่างมาก และความรุนแรงจากการพุ่งชน ก็ทำให้ผู้คนบาดเจ็บเป็นจำนวนถึง 1,500 ราย

โดยคุณ Tom Jones ซึ่งเป็นนักบินอวกาศ ได้แสดงความเห็นว่า เราควรจะให้ความสำคัญกับโครงการ AIDA เพื่อที่เราจะมีระบบป้องกันภัยจากการถูกชนโดยอุกกาบาตอย่างมีประสิทธิภาพ และเขาเห็นว่าทาง NASA ควรเทงบประมาณถึง 1 ใน 6 เพื่ออุดหนุนโครงการนี้ และควรมีการเลื่อนภารกิจสำรวจดาวอังคารออกไปสัก 2-3 ปี ก็จะทำให้เราสามารถโฟกัสกับภารกิจของ AIM และ DART ได้อย่างเต็มที่ และถ้าเกิดภารกิจที่เราทดลองกับดาว Didymoon เกิดความล้มเหลว เราก็ควรจะค้นหาเป้าหมายอื่นเพื่อการทดลองครั้งใหม่ เพราะภัยคุกคามจากการพุ่งชนของอุกกาบาาต เป็นสิ่งที่เราจะต้องหาทางป้องกันให้ได้

โดยภารกิจ AIM และ DART จะทำการทดลองกับระบบดาว Didymos เมื่อมันเดินทางมาใกล้โลกในปี 2024 และระบบ DART ซึ่งเป็นยานอวกาศขนาดเล็กที่จะใช้พุ่งชนดาวเคราะห์ อยู่ภายใต้การดูแลและสร้างสรรค์โดยทีมนักวิทยาศาสตร์ของ Johns Hopkins Applied Physics Laboratory


ที่มา : www.digitaltrends.com


0 NASA+%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81+%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
ไม่เสพติดไอที แต่ชอบเสพข่าวเทคโนโลยี หาความรู้ใหม่ๆ มาใส่สมอง
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น