ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

ความแตกต่างระหว่าง เรือดำน้ำดีเซล กับ เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์...

ความแตกต่างระหว่าง เรือดำน้ำดีเซล กับ เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์...

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 21,631
เขียนโดย :
0 %E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87+%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%A5+%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A+%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%8C...
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

เรือดำน้ำทางการทหารในยุคปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ก็คือเรือดำน้ำพลังงานดีเซล และเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งเรือดำน้ำทั้ง 2 แบบก็มีจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกัน เรามาดูรายละเอียดในเรื่องนี้กันนะครับ

เรือดำน้ำพลังงานดีเซล

บทความเกี่ยวกับ Nuclear อื่นๆ

เรือดำน้ำพลังงานดีเซลถือเป็นต้นกำเนิดของเรือดำน้ำในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เลยทีเดียว มันเป็นการทำงานแบบผสมผสานกันระหว่างระบบเครื่องยนต์ดีเซล และมอเตอร์ไฟฟ้า โดยเรือดำน้ำประเภทนี้ จะใช้เครื่องยนต์ดีเซลในขณะที่ลอยลำอยู่บนผิวน้ำ หรือดำอยู่ในระดับน้ำตื้น ที่สามารถปล่อยท่อสุดอากาศขึ้นสู่ผิวน้ำ ซึ่งเรือดำน้ำ ต้องการอากาศมาใช้ในกระบวนการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซล และเครื่องยนต์ดีเซล นอกจากจะทำหน้าที่ขับเคลื่อนเรือดำน้ำในระดับน้ำตื้นแล้ว มันก็ยังเชื่อมต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) เพื่อชาร์จพลังให้กับชุดแบตเตอรี่จำนวนมากของเรือดำน้ำด้วย ซึ่งชุดแบตเตอรี่นี้ทำหน้าที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับมอเตอร์ เพื่อขับเคลื่อนเรือดำน้ำที่ระดับความลึก

สาเหตุที่เรือดำน้ำดีเซล ต้องเปลี่ยนระบบมาขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า เมื่อดำน้ำที่ระดับความลึก ก็เพราะว่า ใต้น้ำไม่มีอากาศเพียงพอสำหรับกระบวนการเผาไหม้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ดีเซล ทำให้เมื่ออยู่ใต้น้ำ ต้องขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าเท่านั้น และทำให้เป็นข้อจำกัดของเรือดำน้ำประเภทนี้คือ ไม่สามารถดำน้ำต่อเนื่องได้เป็นระยะเวลายาวนาน เพราะเมื่อพลังงานในแบตเตอรี่หมดลง เรือก็ต้องขึ้นสู่ระดับผิวน้ำ เพื่อเดินเครื่องยนต์ดีเซล ชาร์จพลังงานให้แบตเตอรี่

ความแตกต่างระหว่าง เรือดำน้ำดีเซล กับ เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์...

เรือดำน้ำดีเซลคลาส Yuan ของจีนมีระบบ AIPS

เรือดำน้ำดีเซลในยุคแรกนั้นแล่นช้า และเสียงรบกวนเยอะ ทำให้โดนตรวจจับได้ง่าย แต่ในยุคหลังได้ถูกพัฒนาให้มีเสียงรบกวนน้อยลง มีการปรับปรุงดีไซน์ ทำให้กลายเป็นอาวุธสงครามที่น่ากลัว มันสามารถปิดการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ตามต้องการ เพื่อเรือให้เงียบขึ้น ตรวจจับได้ยากขึ้น มันสามารถลอยอยู่นิ่งๆ ใต้ผิวน้ำเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับ และด้วยเทคโนโลยีใหม่อย่างระบบ AIPS (Air Independent Propulsion System อาศัยออกซิเจนเหลวที่บรรจุอยู่ในถัง เป็นตัวช่วยในกระบวนการเผาไหม้เชื้อเพลิง) ทำให้เครื่องยนต์ดีเซลสามารถทำงานเมื่ออยู่ใต้น้ำได้เลย ช่วยยืดระเวลาการกบดานอยู่ใต้ผิวน้ำได้นานเป็นสัปดาห์ เทียบกับเรือดำน้ำดีเซลที่ไม่มีระบบ AIPS จะดำน้ำได้นานสุดเพียง 1-2 วัน ก็ต้องขึ้นสู่ระดับน้ำตื้นเพื่อชาร์จแบตเตอรี่ เรือดำน้ำพลังงานดีเซลสามารถดำน้ำได้ลึก 150-300 เมตร และทำความเร็วสูงสุดได้ 15-20 น็อต (28-37 กม./ชม.)

กองทัพเรือชั้นนำของโลก ได้มีการปลดประจำการเรือดำน้ำพลังงานดีเซลไปบ้างแล้ว เพราะมันถูกแทนที่ด้วยเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ แต่กองทัพเรือของบางประเทศ อย่างเช่น รัสเซีย, จีน และ อินเดีย ยังมีเรือดำน้ำพลังงานดีเซล ประจำการอยู่เป็นจำนวนมาก ควบคู่ไปกับการมีเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ ด้วยจุดเด่นของเรือดำน้ำดีเซลที่ราคาย่อมเยา และเนื่องจากเป็นเรือดำน้ำขนาดเล็ก ทำให้ใช้ลูกเรือเพียงจำนวนน้อย 

จุดเด่นของเรือดำน้ำดีเซล

  • เงียบกว่าเรือดำน้ำนิวเคลียร์ ทำให้ตรวจจับได้ยากกว่า
  • ขนาดเล็กและคล่องตัว เป็นอาวุธสังหารชั้นยอดที่ระดับน้ำตื้น
  • สามารถปิดการทำงานเครื่องยนต์ดีเซลได้ตามต้องการ ในขณะที่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ต้องทำงานตลอดเวลา
  • สร้างได้ง่าย และอบรมลูกเรือได้ง่าย
  • เรือดำน้ำดีเซลรุ่นใหม่ สามารถติดตั้งจรวดโจมตีเป้าหมายบนพื้นดินได้

จุดอ่อนของเรือดำน้ำดีเซล

  • ความเร็วต่ำทำให้หนีจากการถูกโจมตีด้วยตอร์ปิโด หรือหนีจากการโจมตีของเรือต่อต้านเรือดำน้ำได้ยาก
  • ดำน้ำได้ไม่ลึกมาก ทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากความลึกของมหาสมุทรเพื่อการอำพรางตัว
  • ดำน้ำได้ไม่นานก็ต้องขึ้นสู่ระดับความตื้นเพื่อชาร์จแบตฯ เรือที่มีระบบ AIPS จะดำน้ำได้เป็นสัปดาห์ ส่วนเรือที่ไม่มีระบบ AIPS จะดำน้ำได้เพียง 1-2 วัน
  • บรรทุกอาวุธได้น้อยเพียง ตอร์ปิโด หรือจรวดมิสไซล์เพียง 12-20 ชุด
  • เนื้อที่ภายในเรือคับแคบ ทำให้ลูกเรือเกิดความเครียดได้ง่าย

เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์

ใช้แหล่งพลังงานหลักจากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ที่ได้รับการปรับแต่งให้มีขนาดเล็ก เพื่อที่จะบรรจุลงในเรือดำน้ำได้ ซึ่งเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์สามารถทำงานเพื่อสร้างความร้อนได้ ไม่ว่าจะอยู่บนน้ำหรือใต้น้ำ ซึ่งความร้อนจากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ นำไปต้มนำให้เดือดจนกลายเป็นไอน้ำที่มีความดันสูง จากนั้นจึงใช้ไอน้ำไปผลักแกนใบพัดเรือให้หมุนเพื่อขับเคลื่อนเรือ และในอีกทาง แกนใบพัดเรือเชื่อมต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) แล้วเก็บพลังงานไว้ในแบตเตอรี่ เพื่อนำพลังงานไปหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ในเรือ

ด้วยควาที่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ สามารถทำงานในสภาวะที่เรือดำอยู่ใต้น้ำได้เป็นอย่างดี ทำให้เรือสามารถดำน้ำอยู่ที่ระดับความลึกได้ยาวนานเป็นเดือน โดยไม่ต้องขึ้นสู่ผิวน้ำ ภายในเรือยังมีอุปกรณ์การสร้างออกซิเจนจากน้ำทะเล และมีพื้นที่กว้างขวางสำหรับการเก็บเสบียงอาหาร และน้ำจืด ทำให้ลูกเรือสามารถดำรงชีวิตได้อย่างยาวนานใต้ทะเลลึก มันสามารถอยู่ใต้น้ำได้นาน 90 วัน ก่อนที่จะต้องขึ้นสู่ผิวน้ำ หรือกลับฐานเพื่อเติมเสบียง

เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ ถือเป็นฝันร้ายของระบบเรือต่อต้านเรือดำน้ำเลยทีเดียว เพราะพวกมันสามารถดำลงไปที่ระดับความลึก 600 เมตร และสามารถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงถึง 30-35 น็อตเมื่ออยู่ใต้น้ำ (56-65 กม./ชม.) ซึ่งเป็นความได้เปรียบที่มีเหนือเรือดำน้ำดีเซล และถ้าจะเปรียบให้เห็นภาพอย่างชัดเจน เรือดำน้ำดีเซลเปรียบเหมือนรถ 5 ประตู ที่ใครๆ ก็เป็นเจ้าของได้ ใช้งานง่าย ราคาย่อมเยา แต่มีพละกำลังน้อย ในขณะที่เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ เปรียบเหมือนรถฮัมวี่ ต้องมีเงินมหาศาลถึงจะเป็นเจ้าของได้ พละกำลังมหาศาล และการมีอยู่ของมัน ถือเป็นการข่มขวัญกองทัพศัตรูได้เป็นอย่างดี และเป็นเหตุผลว่าทำไม่มีเพียง 6 ประเทศบนโลกใบนี้ ที่ครอบครองเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ ในขณะที่อีก 50 ประเทศ ยังคงใช้เรือดำน้ำดีเซล

เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  • เรือดำน้ำพิฆาต (Hunter-Killer subs / SSN) มันเป็นเจ้าแห่งท้องทะเล หน้าที่ของมันคือโจมตีเรือ และเรือดำน้ำของข้าศึก และสามารถยิงจรวดโจมตีเป้าหมายบนพื้นดินได้ด้วย
  • เรือดำน้ำที่เป็นฐานยิงขีปนาวุธ (Ballistic Missile subs / SSBN) อาวุธลับขั้นสุดยอดของชาติมหาอำนาจ มันกบดานอยู่ที่ระดับความลึก และแทบจะไม่เคยมีใครเคยเห็นมันเลย หน้าที่ของมันคือเป็นฐานยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์ โดยในประวัติศาสตร์อันยาวนานของ SSBN มันยังไม่เคยได้ได้ยิงขีปนาวุธในการรบจริงแม้เพียงครั้งเดียว และถ้าเกิดเหตุการณ์ที่มันต้องยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์ขึ้นมา นั่นหมายถึงสงครามโลกครั้งที่ 3

ความแตกต่างระหว่าง เรือดำน้ำดีเซล กับ เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์...

SSN คลาส Seawolf ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา

 

ความแตกต่างระหว่าง เรือดำน้ำดีเซล กับ เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์...

SSN คลาส Los Angeles ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา

 

ความแตกต่างระหว่าง เรือดำน้ำดีเซล กับ เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์...

SSN คลาส Akula ของกองทัพเรือโซเวียต

 

ความแตกต่างระหว่าง เรือดำน้ำดีเซล กับ เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์...

SSBN คลาส Typhoon ของกองทัพเรือโซเวียต

 

ความแตกต่างระหว่าง เรือดำน้ำดีเซล กับ เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์...

SSBN คลาส Le Terrible ของกองทัพเรือฝรั่งเศส

***หมายเหตุ บทความนี้แปลและเรียบเรียง จากบทความต้นฉบับภาษาอังกฤษ ที่ได้มีการอ้างอิงไว้ครับ


ที่มา : defencyclopedia.com , defencyclopedia.com , en.wikipedia.org , en.wikipedia.org


0 %E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87+%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%A5+%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A+%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%8C...
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
ไม่เสพติดไอที แต่ชอบเสพข่าวเทคโนโลยี หาความรู้ใหม่ๆ มาใส่สมอง
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
21 กันยายน 2564 11:56:53
GUEST
Comment Bubble Triangle
มนตรี
ตกลงดีเซลรึนิวเคลียร์เงียบกว่า