ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

พบช่องโหว่บน Remote Desktop เปิดช่องให้แฮกเกอร์ทำ RCE ใส่ผู้ใช้งานได้

พบช่องโหว่บน Remote Desktop เปิดช่องให้แฮกเกอร์ทำ RCE ใส่ผู้ใช้งานได้
ภาพจาก : https://www.howtogeek.com/752040/how-to-turn-on-and-use-remote-desktop-on-windows-11/
เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 626
เขียนโดย :
0 %E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%99+Remote+Desktop+%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%AE%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B3+RCE+%E0%B9%83%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

เครื่องมือสำหรับเข้าใช้งานเดสก์ท็อปจากระยะไกล หรือ Remote Desktop นั้นมักจะเป็นเครื่องมือยอดนิยมของสายไอทีสำหรับการทำงาน หรือเข้าไปแก้ไขปัญหาให้กับพนักงานในบริษัท แต่ก็มักจะเป็นอีกระบบหนึ่งที่มีช่องโหว่มากมายให้แฮกเกอร์ได้ใช้งาน ดังเช่นข่าวนี้

จากรายงานโดยเว็บไซต์ Cyber Security News กล่าวถึงการตรวจพบช่องโหว่บนฟีเจอร์ Microsoft Remote Desktop ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับการใช้งาน Remote Desktop บนระบบปฏิบัติการ Windows ที่มีชื่อรหัสว่า CVE-2025-48817 โดยช่องโหว่นี้มีคะแนนความร้ายแรงที่สูงถึง 8.8 ซึ่งช่องโหว่นี้เป็นช่องโหว่ประเภท Path Traversal (ช่องโหว่แบบข้ามเส้นทาง) รวมกับช่องโหว่การเข้าถึงระบบควบคุมอย่างไม่ถูกต้องเรียบร้อย (Improper Access Control)

บทความเกี่ยวกับ Microsoft อื่นๆ

การใช้ช่องโหว่ดังกล่าวนั้น ถึงทางฝั่งแฮกเกอร์ที่ใช้งานไม่จำเป็นต้องมีสิทธิ์ในการเข้าถึงระบบ แต่ทางฝั่ง Client ซึ่งเป็นทางฝั่งเหยื่อนั้น ผู้ใช้งานจำเป็นจะต้องมีการเข้าถึงระบบในระดับผู้ดูแล (Anministrator) และมีการ “ตอบโต้” กับสิ่งที่แฮกเกอร์วางไว้ (User Interaction) เสียก่อน ซึ่งในการโจมตีนั้น แฮกเกอร์จะทำการวางเครื่องมือในรูปแบบ ผู้อยู่ตรงกลางระหว่างการเชื่อมต่อของ 2 ระบบ หรือ Man-in-The-Middle จากนั้นจึงทำการล่อลวงให้เหยื่อทำการเชื่อมต่อมายัง Remote Desktop Server ที่แฮกเกอร์ควบคุมอยู่ หลังจากที่ติดต่อได้สำเร็จ และทุกอย่างเป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้น ช่องโหว่ดังกล่าวก็จะถูกเป็นออก ทำให้แฮกเกอร์สามารถเจ้าถึงโฟลเดอร์ที่ถูกควบคุม (Restricted Directory) กับมีความสามารถในการรันโค้ดเพื่อให้ระบบอัปเกรดสิทธิ์ของแฮกเกอร์ในการเข้าถึงระบบได้ด้วยวิธีการรันโค้ดจากระยะไกล (Remote Code Execution หรือ RCE)

โดย Windows รุ่นที่ได้รับผลกระทบจากช่องโหว่ดังกล่าวนั้น มีดังนี้

  • Windows Server 2008/2008 R2/2012/2012 R2
  • Windows Server 2016/2019/2022/2025
  • Windows 10 (ทุกเวอร์ชัน ตั้งแต่ 1607 ถึง 22H2)
  • Windows 11 (22H2, 23H2, 24H2)
  • Remote Desktop Client for Windows Desktop
  • Windows App Client for Windows Desktop

ซึ่งที่ผ่านมา ทางไมโครซอฟท์ได้ทำการปล่อยอัปเดตเพื่ออุดรอยรั่วดังกล่าวไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจะมากับอัปเดตความปลอดภัยตัวล่าสุด ดังนั้น ถ้าผู้ใช้งานมีการตั้งการอัปเดตอัตโนมัติไว้ขอให้อุ่นใจได้ แต่ถ้าไม่ได้ตั้งไว้ ขอให้ทำการอัปเดตโดยด่วน


ที่มา : cybersecuritynews.com

0 %E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%99+Remote+Desktop+%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%AE%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B3+RCE+%E0%B9%83%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
นักเขียน : Editor    นักเขียน
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น