ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

พบช่องโหว่ Zero-Day ตัวใหม่บน Chrome ที่แค่หลอกเหยื่อกดลิงก์ ก็ทำ RCE ลงเครื่องเหยื่อได้แล้ว

พบช่องโหว่ Zero-Day ตัวใหม่บน Chrome ที่แค่หลอกเหยื่อกดลิงก์ ก็ทำ RCE ลงเครื่องเหยื่อได้แล้ว

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 1,048
เขียนโดย :
0 %E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88+Zero-Day+%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%99+Chrome+%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%8C+%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%97%E0%B8%B3+RCE+%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

เว็บเบราว์เซอร์ Chrome นั้น นอกจากจะเป็นเว็บเบราว์เซอร์ยอดนิยมตัวหนึ่งในตลาดแล้ว ยังเป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่ในระยะหลังมีข่าวเรื่องการตรวจพบช่องโหว่ด้านความปลอดภัยออกมาให้เห็นกันบ่อย ๆ เช่นเดียวกัน

จากรายงานโดยเว็บไซต์ Cyber Security News ได้รายงานถึงการตรวจพบช่องโหว่ที่เกิดขึ้นระหว่างการพัฒนา  หรือช่องโหว่ Zero-Day บนเว็บเบราว์เซอร์ Google Chrome เวอร์ชันสำหรับใช้งานบน Windows โดยทางทีมวิจัยจากบริษัทนักพัฒนาเครื่องมือต่อต้านไวรัสคอมพิวเตอร์ชื่อดัง Kaspersky โดยช่องโหว่ดังกล่าวนั้นมีชื่อว่า CVE-2025-2783 เป็นช่องโหว่ที่เกิดเนื่องจากตรรกะผิดพลาด (Logical Error) ในการทำงานร่วมกับระหว่างระบบรักษาความปลอดภัยของตัวเว็บเบราว์เซอร์ และตัวระบบปฏิบัติการ Windows นำไปสู่การเปิดทางให้โค้ดอันตรายที่แฮกเกอร์ยิงในรูปแบบ Remote Code Execution หรือ RCE มานั้น สามารถฝ่าระบบป้องกันภัยแบบ Sandbox ของ Chrome ทะลุไปยังระบบหลักได้ ซึ่งช่องโหว่นี้จะส่งผลต่อผู้ที่ใช้ Chrome บน Windows รุ่นก่อน 134.0.6998.177/.178 ทุกราย

บทความเกี่ยวกับ Microsoft อื่นๆ

และการใช้งานช่องโหว่ดังกล่าวนั้นก็เรียกว่าง่ายมาก เพียงแค่หลอกให้เหยื่อทำการกดลิงก์เท่านั้น โดยช่องโหว่ดังกล่าวนั้นทางทีมวิจัยก็ได้ตรวจพบว่า ได้มีแฮกเกอร์นำเอาไปใช้งานในแคมเปญ Phishing ที่มีชื่อว่า Operation ForumTroll เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยตัวแคมเปญนี้ แฮกเกอร์จะทำการส่งอีเมลเพื่อเชิญชวนให้เหยื่อเข้าร่วมงานด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่มีชื่อว่า “Primakov Readings” พร้อมกับลิงก์สำหรับลงทะเบียน โดยลิงก์ดังกล่าวนั้นจะมีเวลาให้เข้าใช้งานได้ในเวลาจำกัด (ซึ่งเป็นเทคนิคในการหลบเลี่ยงการถูกตรวจสอบวิเคราะห์) ซึ่งถ้าเหยื่อเผลอกดลิงก์ ก็จะถูกยิงโค้ดใส่เพื่อติดตั้งมัลแวร์ลงเครื่องในทันที โดยทางทีมวิจัยได้คาดการณ์ว่า ผู้ที่อยู่เบื้องหลังแคมเปญดังกล่าวนั้นมีความเป็นไปได้สูงว่า เป็นอาชญากรไซเบอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากทางรัฐ รับภารกิจมาเพื่อสอดแนมเหยื่อที่เป็นเป้าหมายของทางรัฐอีกทีหนึ่ง

พบช่องโหว่ Zero-Day ตัวใหม่บน Chrome ที่แค่หลอกเหยื่อกดลิงก์ ก็ทำ RCE ลงเครื่องเหยื่อได้แล้ว
ภาพจาก : https://cybersecuritynews.com/google-warns-of-chrome-zero-day-vulnerability-exploited/

นอกจากนั้น ในการตรวจสอบแคมเปญดังกล่าว ทางทีมวิจัยยังได้พบว่าการโจมตีของแฮกเกอร์ด้วยช่องโหว่นี้ เป็นการใช้งานถึง 2 องค์ประกอบของช่องโหว่ นั่นคือ ส่วนแรกเป็นส่วนของการใช้ช่องโหว่เพื่อฝ่าระบบการป้องกันแบบ Sandbox และส่วนหลังจะเป็นในส่วนของการรันโค้ดแบบ RCE โดยทาง Kaspersky ยังตรวจพบอีกว่า มีมัลแวร์ที่แฮกเกอร์ใช้ถึง 6 ตัว ในการโจมตีครั้งนี้ด้วย

กระนั้น ทางทีมวิจัยก็ระบุว่า เพียงแค่อัปเดต Chrome ขึ้นเป็นรุ่นล่าสุด ก็จะช่วยอุดช่องโหว่ให้ผู้ใช้งานปลอดภัยจากการโจมตีในรูปแบบนี้ได้ รวมไปถึงขอให้มีความระมัดระวังในการเปิดลิงก์ที่ได้รับจากบุคคล หรือ องค์กรที่ดูผิดสังเกต เสมอ


ที่มา : cybersecuritynews.com , nvd.nist.gov

0 %E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88+Zero-Day+%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%99+Chrome+%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%8C+%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%97%E0%B8%B3+RCE+%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
นักเขียน : Editor    นักเขียน
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น