ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

ไมโครซอฟต์เตือน พบมัลแวร์ Botnet ใช้ช่องโหว่บนเราเตอร์หลายแบรนด์ เข้าขโมยรหัสผ่าน

ไมโครซอฟต์เตือน พบมัลแวร์ Botnet ใช้ช่องโหว่บนเราเตอร์หลายแบรนด์ เข้าขโมยรหัสผ่าน
ภาพจาก : https://www.nytimes.com/wirecutter/reviews/best-wi-fi-router/
เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 702
เขียนโดย :
0 %E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99+%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C+Botnet+%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C+%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

เว็บไซต์ The Hacker News ได้รายงานถึงการที่ทีมวิจัยจาก Microsoft Threat Intelligence ได้ตรวจพบพฤติกรรมการโจมตีของกลุ่มแฮกเกอร์จากประเทศจีนที่มีชื่อว่า Storm-0940 ด้วยการใช้มัลแวร์สำหรับฝังตัวเพื่อใช้เครื่องของเหยื่อมาเป็นส่วนหนึ่งในการโจมตีเหยื่อรายใหญ่ หรือที่เรียกว่า Botnet ที่มีชื่อว่า Quad7 (เป็นที่รู้จักการในอีกชื่อหนึ่งว่า 7777 และ xlogin) ซึ่งถูกตั้งชื่อจากการที่มัลแวร์ดังกล่าวนั้นจะใช้ TCP Port 7777 เพื่อเข้าควบคุมระบบของเหยื่อ

ซึ่งแคมเปญการโจมตีดังกล่าวนั้น ทางทีมวิจัยได้ตั้งชื่อว่า CovertNetwork-1658 ซึ่งเป็นการโจมตีด้วยการสุ่มป้อนรหัสผ่าน (Password Spraying) จากข้อมูลรหัสผ่านที่ขโมยมาจากลูกค้าของทางไมโครซอฟต์จำนวนมาก ซึ่งมัลแวร์ดังกล่าวนั้นได้เพ่งเล็งโจมตีเครื่องมือด้านเครือข่ายจำนวนมาก จากหลายแบรนด์ เช่น TP-Link, Zyxel, Asus, Axentra, D-Link, และ NETGEAR เป็นต้น โดยมุ่งเน้นไปที่อุปกรณ์ด้าน VPN (Virtual Private Network) และเราเตอร์สำหรับบ้าน และธุรกิจขนาดเล็ก (SOHO)

บทความเกี่ยวกับ Hacker อื่นๆ

ซึ่งขั้นตอนการโจมตีของมัลแวร์ตัวดังกล่าวนั้นจะเริ่มขึ้นด้วยการที่แฮกเกอร์พยายามเจาะช่องโหว่ที่อยู่บนเราเตอร์ (โดยตัวอย่างนั้นใช้ของแบรนด์ TP-Link) เพื่อทำการรันโค้ดจากระยะไกล โดยช่องโหว่นั้นทางแหล่งข่าวไม่ได้ระบุว่าเป็นช่องโหว่ชื่ออะไร เพียงแต่ให้รายละเอียดว่าเป็นช่องโหว่แบบ RCE หรือ Remote Code Exectution ซึ่งหลังจากเข้าถึงเพื่อรันโค้ดได้แล้ว ทางแฮกเกอร์ก็จะทำการปล่อย Telnet binary จาก FTP Server ที่ทางแฮกเกอร์วางไว้ รวมทั้งดาวน์โหลดเครื่องมือสำหรับเปิดประตูหลังของระบบ (Backdoor) ของมัลแวร์ Xlogin (Quad 7) ลงมาสู่เครื่องของเหยื่อ จากนั้นทางแฮกเกอร์จึงใช้เครื่องมือทั้ง 2 ในการเข้าควบคุม Command Shell ผ่านทาง TCP Port 777 แล้วทำการเชื่อมต่อเพื่อดาวน์โหลด SOCKS5 ลงมาติดตั้งบนเราเตอร์ เสร็จสิ้นการเปลี่ยนเครื่องมือให้กลายเป็นซอมบี้สำหรับใช้ในการร่วมแคมเปญโจมตี เช่น การระดมยิง DDoS (Distribute Denial of Service) เป็นต้น

ไมโครซอฟต์เตือน พบมัลแวร์ Botnet ใช้ช่องโหว่บนเราเตอร์หลายแบรนด์ เข้าขโมยรหัสผ่าน
ภาพจาก : https://thehackernews.com/2024/11/microsoft-warns-of-chinese-botnet.html

แต่ถึงแม้ในการโจมตีของมัลแวร์ Botnet ตัวดังกล่าวนั้นจะมีการยืนยันตรวจพบอุปกรณ์ที่ติดเชื้อกว่า 8,000 เครื่องก็ตาม แต่ก็มีเพียง 20% เท่านั้นที่ติดมาจากการโจมตีแบบสุ่มใส่รหัสผ่าน หรือ Password Spraying แต่ทางไมโครซอฟต์ก็ยังมีการแจ้งเตือนว่า ผู้โจมตีในแคมเปญ CovertNetwork-1658 ได้มีการสุ่มป้อนรหัสผ่านเข้าในหลายบัญชีขององค์กรที่เป็นเป้าหมายวันละครั้งอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งหมายความว่า ถ้าองค์กรมีมาตรการรักษาความปลอดภัยในการล็อกอินเข้าสู่ระบบที่อ่อนแอ ถ้าแฮกเกอร์สุ่มถูกก็มีโอกาสที่จะเข้าถึงระบบได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง

และทางไมโครซอฟต์ก็ยังมีการแจ้งเตือนที่น่าจับตามองคือ ปัจจุบันโครงสร้างพื้นฐานของ Botnet เริ่มอยู่ตัว และค่อย ๆ หายไป หลังจากที่รูปแบบการโจมตีได้ถูกเปิดเผยออกสู่สาธารณะ ซึ่งเป็นไปได้ว่า แฮกเกอร์ได้ค้นพบวิธีการโจมตีแบบใหม่ หรืออาจมีการวางโครงสร้างพื้นฐานตัวใหม่ที่มีความสามารถในการเลี่ยงการตรวจจับได้ดีกว่าเก่าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


ที่มา : thehackernews.com

0 %E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99+%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C+Botnet+%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C+%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
นักเขียน : Editor    นักเขียน
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น