จากการเข้าร่วมงาน HPE Discover More AI Bangkok 2024 ทางทีมงานไทยแวร์ ได้พูดคุยกับหลายๆ บูธ ได้เห็นถึงภาพรวมของตลาดในการนำ AI, Cloud และ Edge Computing มาประยุกต์ใช้กับองค์กร ซึ่งจริง ๆ แล้ว HPE มีโซลูชันมากมาย กว่า 15,000 บริการ ซึ่งองค์กรต่าง ๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหลากหลายด้าน และมีหลาย Use Case ที่น่าสนใจ สำหรับ GreenLake เป็นแบรนด์ดิ้งของบริษัท เป็นระบบ Subscription Model จ่ายรายเดือน ลูกค้าจ่ายรายเดือน ใช้อย่างเดียว ซึ่งอำนวยความสะดวกให้ธุรกิจยุคใหม่
ซึ่งเราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับบริการต่างๆ ของ HPE และมีข้อมูลที่น่าสนใจ โดยในงานมีการออกบูธของ HPE Solutions ในโซนต่างๆ Edge, Data, AI, GreenLake, HPE Advisory Services, HPEFS และ Hybrid Cloud และพันธมิตร AMD, Red Hat, Nutanix, SIS, Symphony, Veem, G-Able, YIP IN TSOI, NTT Data ตามมาดูว่ามีโซลูชันอะไรที่น่าสนใจบ้าง
เป็นซอฟต์แวร์บริหารจัดการ เซิร์ฟเวอร์ (Server), ตรวจสอบเรื่องดาวน์ไทม์, ดูแล ระบบปฏิบัติการ (OS) Image, ไบออส BIOS Profile และ อัปเดตเฟิร์มแวร์เป็นเวอร์ชันที่ต้องการ โดยมีโซลูชันการดูแลการทำงานของเซิร์ฟเวอร์ ลดอัตราดาวน์ไทม์ ประหยัดเวลาในการอัปเดตเฟิร์มแวร์ เช่น ต้องทำ 10 เครื่อง ช่วยบริหารจัดการ การทำงานที่เป็น Routine (รูทีน) หรือ กิจวัตร ทำให้ประหยัดเวลา และนำการทำงานอัตโนมัติ (Automatic) มาช่วยในการบริหารจัดการเซิร์ฟเวอร์
เพิ่มประสิทธิ์ภาพ อัปเกรด อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ หากมี Databse เยอะ รองรับไม่ไหว ต้องอัปเกรด หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) และ Memory หลัก ๆ ก็เพื่อรองรับประสิทธิ์ภาพการใช้งานให้เหมาะสม มีความเสถียร และความน่าเชื่อถือ ลดการใช้คนมาดูแล ลดระยะเวลาในการจัดการ ต้องมารีบูต บริหารจัดการดาต้าเซ็นเตอร์ Managed Services
จัดการได้ทั้ง On-Cloud และ On-Premise หมายถึงว่า จัดการได้ทั้งบนคลาวด์ และในสถานที่ที่ของเจ้าของระบบดูแลเอง โดยก่อนหน้านี้ HPE Virtualization มีการใช้งานของลูกค้าผ่านทาง VMWare เป็นหลัก ดังนั้น ทุกตัวจึง Integrated กับ VMWare หมดเลย แต่เมื่อ VMware ยุติการทำ OEM แล้ว ทำให้ลูกค้าทั่วโลกรู้สึกช็อกกับ VMWare มีช่วงเวลานึงที่ซื้อขายไม่ได้ จึงทำให้มีการจัดการด้วยเทคโนโลยี Virtualization ของ HPE จากปกติที่บริหารจัดการผ่าน VMWare เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าปัจจุบัน ที่ไม่ได้ใช้แค่ On-Premise อย่างเดียว แต่ใช้บน On-Cloud ด้วย จากที่ต้องจัดการแยกส่วนกัน On-Premise ก็เข้าหน้าจอนึง พอจะจัดการ On-Cloud ก็เข้าอีกหน้าจอนึง จึงได้มีการนำ HPE GreenLake for Private Cloud Business Edition มาใช้จัดการทั้ง On-Premise และ On-Cloud ในหน้าจอเดียวกันได้เลย ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกเพิ่มขึ้น และบริหารจัดการร่วมกับ Morpheus ทำให้จัดการได้ด้วยระบบ Management เดียวกันได้ทั้งหมด ลดความซับซ้อน และเพิ่มความคล่องตัว
ระบบ Hybrid Cloud Observability Tools ใช้จัดการ IT Operations Management และ IT Security Operations งานดูแลระบบทั้งหมด รวมไปถึงการนำ AI เข้ามาช่วยดูแลระบบด้วย และเนื่องจากมี Alert ค่อนข้างเยอะ HPE OpsRamp เข้ามาช่วยในการจัดการปัญหา จัดการกรองการแจ้งเตือนที่สำคัญ และจำเป็นจริง ๆ เพื่อส่งปัญหาที่แท้จริงไปให้กับคนที่แก้ไข และถ้ามีปัญหาใดที่เกิดซ้ำ ๆ และมีวิธีแก้ไข เช่น เครื่องรีสตาร์ตทุก ๆ ตี 2 เราใช้ AI แก้ปัญหาให้เราได้เลย โดย HPE OpsRamp เป็น Management Tools ตัวหลักในการบริหารจัดการ มี Dashboard ที่ช่วยมอนิเตอร์ Health เบื้องต้น IT Infrastructure รวมไปถึง Application และ Services บน Public Cloud ด้วย
ช่วย Offloads ทีม IT Operations ช่วยให้คน พนักงาน หรือบุคลากร มีเวลาไปทำอย่างอื่น เอางานที่ไม่ซับซ้อนให้ระบบทำ แล้วเอาคนไปทำอะไรที่ซับซ้อนกว่า เนื่องจากระบบมีการ Alert เยอะ ถ้าเอาคนมานั่งดู กว่าจะรู้สาเหตุ แล้วระบบเกิดความเสียหายไปเยอะแล้ว ตัวระบบจะช่วยตรวจสอบการ Alert ช่วย Offloads คน เอา AI มาช่วย Identify ได้เลย แต่ถ้า AI แก้ไม่ได้ ก็จะส่งไปให้ทีมที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหา นอกจากนี้ยังมี Portal ให้ลูกค้าเข้าไป Request ได้เลย และบริการนี้ Offloads คน ทำให้จำนวนพนักงานที่ออฟฟิศอาจจะลดน้อยลง ไม่ต้องเข้ากะ อาจจะเปลี่ยนบทบาท หรือเอาเวลาไปดูแล Security หรือสิ่งที่ซับซ้อนมากกว่า
เป็นมุมมองด้านความยั่งยืน การใช้พลังงาน การบริหารจัดการพลังงาน การปรับแต่งเพื่อลดคาร์บอน โดยนโยบายผู้บริหารต้องการให้บริการเกิดความยั่งยืน ในทุกวันนี้เราจ่ายคาร์บอน ให้ความร้อนกับสิ่งแวดล้อม โดยมีการตั้ง KPI ว่า ปีหน้าจะลดคาร์บอนไปเท่าไหร่่ เป็น Management Platform ที่เลือก Region ได้ มีการมอนิเตอร์เรื่องการใช้พลังงาน การปล่อย คาร์บอน (Carbon) มีระบบคล้ายๆ กับการรีโมทเข้าไป จัดการในจุดเดียว เลือกตารางเวลา, ดูเวลา, ดูประเทศ มีมาตรฐาน Carbon Credit อยู่แล้ว แม้จะมีอัตราการ Claim Carbon Credit ไม่เท่ากัน เช่น บริษัทนึงจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ จะต้องทำ Sustainability ต้องให้คาร์บอนออกไปข้างนอกเท่าไหร่ ไม่เกินเท่าไหร่ ซึ่งสามารถบริหารจัดการได้สะดวกในจุดเดียว
บริการ HPE Financial Services บริหารจัดการการเช่าใช้ - เช่าซื้อ ผ่อนจ่ายสินค้า สำหรับองค์กร เป็นสัญญาการเงิน หากเช่าใช้จนครบกำหนดสัญญา ก็จะได้สินค้านั้นเป็นของผู้เช่าซื้อเลย โดยมี Fair Market Value คือ ลูกค้าต้องการคืนสินค้าหรืออุปกรณ์หลังใช้งานเสร็จ และ Finance Lease ลูกค้าเป็นเจ้าของสินค้าหรืออุปกรณ์ต่อไปได้เลยหลังผ่อนจ่ายครบตามระยะเวลาที่กำหนด
เพิ่งจะมีการเปิดตัว NVIDIA AI Computing by HPE โซลูชัน AI ที่พัฒนาร่วมกัน เป็นโซลูชันแรก กับระบบคอมพิวเตอร์, ระบบเครือข่าย และซอฟต์แวร์ AI ของ NVIDIA ด้วยการจัดเก็บและการประมวลผลด้วย AI ของ HPE และแพลตฟอร์มคลาวด์ของ HPE GreenLake
HPE Private Cloud AI เป็นความร่วมมือระหว่าง HP กับ NVIDIA ด้วยปัญหาจากหลายๆ องค์กร เวลาใช้งานบนดลาวด์ อย่างแรกเลยก็คือ ห้ามเอาข้อมูลออกนอกองค์กร หรือบริษัท พอเป็น Private Gen AI ให้บริการด้วยความปลอดภัย ทั้งในส่วนของ Servers, Storage และส่วนของซอฟต์แวร์ ทำให้โซลูชันตอบโจทย์ ลูกค้าสามารถสร้าง User Interface (UI) บนแพลตฟอร์มของ HPE ล็อคอินเข้าไปใช้งานได้เลย มีพาร์ทเนอร์ เช่น G-Able ทดลองใช้ ทำ Pilot Project จับมือทำงานร่วมกัน มีทั้ง GreenLake และเช่าซื้อ ทำ Pay-Per-Use ได้ และล่าสุด HPE เพิ่งซื้อ Morpheus เป็น Multi-Cloud หากใช้ VMWare Containers แต่ละบริการสามารถนำมารวม และเสริมกันได้ เป็นจิ๊กซอว์ให้ลูกค้าตอบโจทย์สิ่งที่ต้องการได้ จะเห็นได้จากโลโก้ของ HPE เหมือนก้อนอิฐที่นำไปเติมกับบริการต่าง ๆ ตามความต้องการของลูกค้า องค์กรต่างๆ ได้
บริการ IT consulting services ที่ช่วยวางแผน นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ และให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำสำหรับ Digital Transformation ช่วยเรื่อง Private AI Business หากลูกค้าสนใจ Private AI เป็น Consult ให้ อาจจะมี Use Case อยู่แล้ว ก็มาปรึกษาว่า Use Case แบบนี้ พอจะขึ้น AI ได้ไหม
แต่ AI ไม่ใช่ว่าเอามาตั้งแล้วจบ ย้อนกลับเมื่อก่อน ตอนทำ Digital Transformation คิดว่าจะทำ เฟส 1 Infrastructure Modernization ต่อมา เฟส 2 ทำ Data Modernization จะต้องมี Infrastructure รองรับ มี Data ที่พร้อม แต่ ณ วันนั้น ไม่ได้มีใครคิดว่าวันนี้จะมี AI ไม่ได้เตรียมพร้อมเอาไว้ จึงทำเท่าที่พอใช้ แต่ ณ วันนี้ Data อีกหลายที่ ก็เลยต้อง integrated รวมกัน โดยแยก Use Case แนวกว้างคือ Apply ได้กับหลาย Industry กับ Use Case แนวลึก คือ Specific เจาะจงไปเลย ให้เหมาะสมกับแต่ละ Industry
ทำหน้าที่เป็น Cloud Management Platform อย่างเช่นลูกค้าองค์กรหลายๆ ที่ ใช้งาน Cloud หลากหลาย อาจจะใช้ Public Cloud หรือบน On-Premise สิ่งที่มักจะเจอคือ หากใช้บน AWS ก็ต้องไปใช้คอนโซลบน AWS หรือแม้แต่บน On-Premise บน Data Center ของตัวเองก็อาจจะมีการใช้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น VMWare หรือ OpenStack ทำให้ต้องเรียนรู้แต่ละค่าย แต่ละแพลตฟอร์ม แต่หากใช้ Morpheus จะเป็น Enterprise Console ที่จัดการด้วย Single Dashboard ในการบริหารจัดการ ควบคุมในจุดเดียว เอาไปครอบแล้วจัดการได้ง่ายกว่า อย่างเช่น Thaiware ทำ MarketPlace สร้างแพลตฟอร์ม และสร้าง Backup Policy ได้เลย เป็น Single Tool ที่ integrated หลายๆ ส่วนเข้าด้วยกัน
เป็นการจัดการ Management อุปกรณ์ซึ่งอยู่บนคลาวด์ โดยมีการนำ AI เข้ามาช่วย IT Admin ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ลดระยะเวลาในการแก้ไขปัญหา มีการนำ Wi-Fi 7 มาช่วยในการ Modulation เป็น 4K จาก 2K จาก Wi-Fi 6E และเทคโนโลยี Multi-Link Operation ที่ทำได้เหมือนกันใน Wi-Fi 7 นี้ มี Switch Data Center มีตัว Stage Firewall Bundle จัดการ Security ของ Data Center
สำหรับ Digital Twin คือการทำ Policy ที่สามารถทำภาพจำลองได้ แต่ก่อนในการทำ Policy ก็ให้ Deploy ไปเลย ใช้ได้หรือไม่ได้ ก็ให้ End-User มาแก้ไขอีกทีนึง แต่เราสามารถจำลอง Simulate Policy ขึ้นมาได้ แล้วลอง Assign ว่าใครจะเข้า Services ตัวไหนได้บ้าง ไม่ได้บ้าง จะเห็นได้ทันที ลด False configurations ลดความผิดพลาด
เอาอุปกรณ์ Aruba AP, Switch หรืออุปกรณ์ Network ต่างๆ ขึ้น Cloud เพื่อ Manage ผ่าน Cloud แล้วใช้ AI มาช่วยวิเคราะห์ปัญหา พอขึ้น Cloud ก็จะมี Edge, Big Data จากที่อื่น มาช่วยระบุว่า Client นี้เป็นอุปกรณ์อะไร เวลามีอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) มาเชื่อมต่อ เราก็จะไม่ใช่เจ้าแรกที่ใช้อุปกรณ์นี้ แต่คนอื่น ๆ ใช้แล้วมีการ Classify แล้ว ว่าอุปกรณ์นี้คืออะไร สามารถ Detect เจอเลยว่าคืออะไร ? แบรนด์อะไร ? ดูจากข้อมูล หรือ MAC Address ได้เลย โดยใช้ประโยชน์จาก Big Data เข้ามาช่วยตรวจสอบอุปกรณ์
ในบูธได้มีการแนะนำอุปกรณ์ Aruba รองรับ Wi-Fi 7 สำหรับ campus ด้วย ได้สปีดเร็วขึ้น เพิ่ม Channel จากเดิม 2.4GHz, 5GHz มีการพัฒนาดีขึ้น แต่ไม่ได้เห็นผลชัดเจนนักเมื่อเทียบกับ Wi-Fi 6 แม้รองรับในอนาคต แต่ก็ต้องรอเครื่อง Client ที่รองรับด้วย แต่ที่แน่ๆ รองรับการใช้งานได้ดีขึ้นในสถานที่คนใช้เยอะๆ
นำเสนอโซลูชัน Cloud Backup การันตี ข้อมูลไม่สูญหาย สำหรับ User คล้ายกับการเช่า Hosting แต่ปลอดภัยกว่า ในราคาน่าสนใจมากๆ เริ่มต้น 1,800 บาท ต่อเดือน ถือว่าราคาถูกมากเฉพาะในงานนี้
เป็นพาร์ทเนอร์ในส่วนของ Cloud Servicer Provider ของ HPE GreenLake ครอบคลุมลูกค้า Enterprise เป็น One-Stop Service Provider ทำ Cloud Computing Service ตอบโจทย์ลูกค้า มีโซลูชัน Server Storage, Cyber Security Service รวมไปถึง ICT Solution Service โดยในงานเน้น Cloud Computing และทำ Off-Site, Disaster Recovery สำหรับลูกค้าองค์กร
จริงๆ แล้ว Yip In Tsoi เป็น SI (System Integration) ขาย HPE มากที่สุด เยอะที่สุด นำเอาโซลูชันของ HPE มาช่วย GreenLake, Aruba มีหลากหลาย ไม่ใช่เฉพาะฮาร์ดแวร์ มี Use Case ที่น่าสนใจ ในการนำ Generative AI มาใช้ Private Chat ซึ่ง Chat ที่เป็น AI มีมันสมองมากขึ้น นำเอา LLM หรือ Large Language Model ทาง Yip In Tsoi ก็เลยต่อยอด นำโมเดลมาฝึกฝนใหม่ จนเหมาะสมกับการใช้ในองค์กร โดยมี Use Case ที่มีบริษัทในเครือพัฒนาให้ลูกค้า และต่อยอดด้วยแอปพลิเคชัน
ลูกค้าอยากได้ AI แต่ไม่รู้จะเอามาทำอะไร ทาง Yip In Tsoi ก็เลยช่วยลูกค้าคิดว่าจะเอา AI มาใช้ทำอะไร เช่น ใช้ AI ช่วยอ่าน PDF จากที่วันนึงต้องอ่านยาว ๆ ก็เลยลดระยะเวลาอ่านจาก 3 ชั่วโมง 5 วัน 7 วันต่อสัปดาห์ 30 วันต่อเดือน AI เอา Optical Character Recognition (OCR) มาช่วยตอบโจทย์ ลดระยะเวลาทำงาน มีการแนะนำโซลูชันให้ลูกค้า หรือมี Private Chat ในองค์กร เอา Knowledge Base เข้ามาเป็นข้อมูลช่วยลูกค้าได้ หาแนวทาง หากระบวนการให้
แนะนำและพยายามมองหา Use Case ที่เหมาะสมกับลูกค้า มอง data ที่ลูกค้ามีอยู่ในระดับไหน มีกระบวนการอย่างไร ไปขอข้อมูล Use Case จากลูกค้า มีงบเท่าไหร่ จำนวนบุคลากรมีแค่ไหน ไม่เกิน 1 เดือน ลูกค้าสามารถมี Gen AI มาใช้ หากลูกค้ามีแอป ก็ใช้ Application Programming Interface (API) ได้
โดย Use Case ที่น่าสนใจ กระทรวงพาณิชย์มีหลายกรม มีกรมการแพทย์ทหารอากาศ กรมบัญชีกลาง ข้อมูลในเว็บไซต์ เป็น PDF ให้บริการภาคประชาชน เผยแพร่สาธารณะอยู่แล้ว เรื่องมาตรฐานการให้บริการ ข้อมูลจริยธรรม บทบาท กฎหมาย เอาข้อมูลมาใช้ร่วมกัน คุณหมอ ตรวจคนไข้ แต่คุณหมอไม่แน่ใจเรื่องค่าบริการ ค่าใช้จ่าย เบิกกรมบัญชีกลางได้หรือไม่ มีสิทธิ์เบิกอะไรบ้าง กฎระเบียบของทหารเป็นอย่างไร คนไข้ไม่รู้สิทธิ์ AI ช่วยตรวจสอบ ค้นหาข้อมูลสวัสดิการกรมแพทย์ทหารอากาศ ตรวจสอบข้อมูลรายการยา จากกรมบัญชีกลาง นำข้อมูลที่ AI ไปค้นหาข้อมูลจาก Public มาใช้ประมวลผลในการวิเคราะห์แนวทางการเบิกค่าใช้จ่ายในการรักษาได้ และอีกปัญหาคือ เด็ก Intern มีน้อย ขาดคน ก็เลยเอา AI เข้ามาช่วย
นี่คือ Use Case ในการนำ AI เข้ามาใช้ประโยชน์ หรือแม้แต่ ญาติผู้ป่วย คุณพ่อเข้าโรงพยาบาล แต่ลูกไม่ชัวร์เรื่องสิทธิ์รักษาพยาบาล คุณแม่ก็อาจจะไม่แน่ใจข้อมูล ใช้สิทธิ์ยังไง ทหารอากาศ เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์อาจจะไม่ทราบ AI ก็หาคำตอบมาให้เราได้
และทั้งหมดนี้ ทาง HPE มีโซลูชันที่ครอบคลุม และทางผู้จัดจำหน่ายก็จะมีการนำ Use Case ไปใช้แนะนำ นำเสนอ การนำไปใช้ให้กับลูกค้าของตนเองต่อไป ไม่ใช่แค่ขายโซลูชัน แต่ช่วยคิดให้ว่าจะนำไปแก้ไขปัญหาอะไร นำไปใช้ได้อย่างไร นี่คืออนาคตของการนำ AI, EDGE Computing และ Hybrid Cloud และ Big Data มาใช้
|