ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

ออกแบบการศึกษาให้เด็กไทยเรียนรู้อย่างไร เมื่อโฉมหน้าห้องเรียนหลังโควิด-19 เปลี่ยนไป

ออกแบบการศึกษาให้เด็กไทยเรียนรู้อย่างไร เมื่อโฉมหน้าห้องเรียนหลังโควิด-19 เปลี่ยนไป

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 4,487
เขียนโดย :
0 %E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%89%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94-19+%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9B
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

ถึงแม้ว่าโรงเรียนจะกลับมาเปิดเทอมแล้วก็ตาม แต่รูปแบบการเรียนใหม่ ที่เด็กไทยต้องพบเจอในช่วงยุคหลังโควิด-19 หรือยุค New Normal ยังคงส่งผลกระทบกับการศึกษาในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาของเทคโนโลยีที่ยังไม่คุ้นเคย หรือมาตรการต่างๆ จากภาครัฐที่มีความเข้มงวดแต่ไม่ตอบโจทย์ ทำให้หลายฝ่ายต้องพยายามก้าวตามความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ให้ทัน 

ออกแบบการศึกษาให้เด็กไทยเรียนรู้อย่างไร เมื่อโฉมหน้าห้องเรียนหลังโควิด-19 เปลี่ยนไป

บทความเกี่ยวกับ StartDee อื่นๆ

ดังนั้นในวันนี้จึงมีการจัดงานเสวนา STARTDEE EDUCATION FORUM ที่มีประเด็นน่าสนใจ ในเรื่องของวิธีแก้ปัญหาการศึกษาออนไลน์ โดยมีเจ้าภาพเป็น StartDee สตาร์ทอัพผู้พัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับเรียนออนไลน์เพื่อเด็กไทย และยังได้รับเกียรติจากบุคลากรด้านการศึกษาจากหลายฝ่าย รวมถึงตัวแทนจากผู้ปกครองที่เข้ามาช่วยตกผลึก และหาคำตอบว่า "เมื่อโฉมหน้าห้องเรียนหลังเปิดเทอมเปลี่ยนไป จะออกแบบการศึกษาอย่างไร ให้เด็กไทยเรียนรู้ได้อย่างไร้รอยต่อ" 

ออกแบบการศึกษาให้เด็กไทยเรียนรู้อย่างไร เมื่อโฉมหน้าห้องเรียนหลังโควิด-19 เปลี่ยนไป

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้ก่อตั้ง StartDee กล่าวว่า แอปพลิเคชัน StartDee วางตัวเป็นแอปฯ ที่ช่วยสังคมในเรื่องของการนำเทคโนโลยีด้านการศึกษาเข้ามาช่วยพัฒนาระบบการศึกษาของไทย ซึ่งไม่ได้คาดหวังเข้ามาทดแทน แต่ช่วยแก้ไขปัญหา โดยการเรียนการสอนผ่านแพลตฟอร์ม StartDee จะสอดแทรกไปด้วยกุญแจสำคัญที่ส่งเสริมให้เด็กตื่นตัวกับการศึกษาออนไลน์ในยุค New Normal

แอปพลิเคชัน StartDee ได้รับการเปิดตัวไปตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และมียอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันทั้งระบบ iOS และ Android รวมกันแล้วมากกว่า 150,000 ครั้ง โดยในช่วงเหตุการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมาก็มีการปล่อยให้นักเรียนเข้ามาใช้ฟรีอีกด้วย 

ออกแบบการศึกษาให้เด็กไทยเรียนรู้อย่างไร เมื่อโฉมหน้าห้องเรียนหลังโควิด-19 เปลี่ยนไป

ภายในแอปพลิเคชันประกอบไปด้วยสื่อการเรียนการสอนที่มีการชูแนวคิด "TURN TECH TO TEACHER" นำเทคโนโลยีมาเสริมกับหลักสูตรทั้ง 7 วิชาที่ช่วยให้การเรียนไม่น่าเบื่อ และให้เด็กนักเรียนมีความตื่นตัวมากขึ้น หรือมีความน่าสนใจมากขึ้นระหว่างการเรียนออนไลน์ ซึ่งจะมีองค์ประกอบอยู่ 4 อย่างคือ 

  1. T - Teaching (เนื้อหาการสอน) บริการบทเรียนคุณภาพ ที่ให้ความรู้อย่างครอบคลุมทั้งด้านวิชาการและทักษะชีวิตที่จำเป็น
  2. E - Experience (ประสบการณ์การเรียน) สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่สนุก ด้วยคลิปวิดีโอการสอนที่สั้นกระชับ เข้าใจง่าย มีเกมให้เล่น เก็บแต้มรางวัลจากการตอบคำถามเชิงวิชาการและนำมาพัฒนาตัวละครในเกม รวมทั้งยังมีบอร์ดพูดคุยสำหรับนักเรียน
  3. C - Classroom (ตัวช่วยครูในห้องเรียน) เพิ่มประสิทธิภาพให้ครูได้มีช่องทางในการสอน หรือสามารถปรับรูปแบบการสอนได้ง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชัน
  4. H - Handmade / Personalized (เฉพาะบุคคล) การเรียนรู้ออกแบบได้ด้วย เทคโนโลยีที่จดจำข้อมูลการใช้งานของนักเรียน ซึ่งจะมีการแนะนำเนื้อหาใหม่ๆ ให้นักเรียนเหมือน Netflix ที่แนะนำหนังที่คล้ายกับเรื่องที่เคยดูมาก่อน

จุดมุ่งหมายของแอปพลิเคชัน STARTDEE ต้องการขยายให้เข้าถึงได้ง่ายกับทุกคน ด้วยการเรียนผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งได้รับความร่วมมือกับ AIS ในการแจกซิมฟรีแบบเฉพาะให้อีกด้วย สำหรับให้เด็กทั่วประเทศที่อยากขอรับไปใช้บริการ ก็ใช้ได้ฟรี ไม่เสียค่าอินเทอร์เน็ต และยังร่วมมือกับบริษัทที่สนใจช่วยเหลือด้านการศึกษาอย่าง Garena และ Taejai ในการมอบทุนการศึกษา เพื่อสร้างความเท่าเทียม และขับเคลื่อนด้วยข้อมูลที่นำมาพัฒนาให้ตอบโจทย์กับผู้เรียนมากขึ้นอยู่เสมอ

ออกแบบการศึกษาให้เด็กไทยเรียนรู้อย่างไร เมื่อโฉมหน้าห้องเรียนหลังโควิด-19 เปลี่ยนไป

นอกจากนี้ StartDee ยังให้ความสำคัญกับการออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องไปกับประสบการเรียนออนไลน์ และออฟไลน์ เพื่อให้เด็กนักเรียนได้เอาชนะอุปสรรคต่างๆ ทั้งเรื่องของความน่าเบื่อ และการขาดความตั้งใจเมื่อเรียนผ่านออนไลน์ รวมถึงการไม่ได้พบเจอเพื่อน และอาจารย์ จนทำให้รู้สึกว่าไม่ได้มีส่วนร่วมกับการเรียน ซึ่ง StartDee ได้วางแนวทางการเรียนออนไลน์ไว้ 3 อย่างคือ

"จูงใจ" ด้วยเกม เพราะเกมช่วยเพิ่มโอกาสให้การเรียนการสอนผ่านออนไลน์ มีความน่าสนใจมากขึ้น ซึ่งผลการสำรวจจากการใช้งานที่ผ่านมาของเด็กนักเรียน ทำให้พบว่าเมื่อมีเกมเข้ามาในแพลตฟอร์ม นักเรียนบางกลุ่มมีอัตราการเพิ่มขึ้นของการมีส่วนร่วมถึง 72 % 

"จดจ่อ" ในที่นี้ คือการออกแบบให้เด็กสามารถจดจ่อกับสื่อการสอนออนไลน์ได้ตลอดเวลา เพราะพฤติกรรมเด็กที่รับชมวิดีโอการสอนวิชาต่างๆ ปกติถ้าคลิปมีความยาวน้อย เด็กจะมีโอกาสดูจนจบได้มากกว่าคลิปที่มีความยาวเกิน 6 นาทีขึ้นไป หรือไปจนถึง 10 นาที ซึ่งเกินกว่าครึ่งที่เด็กดูไม่จบเพราะคลิปยาวเกินไป จึงต้องตัดให้คลิปการสอนมีความสั้นลง

"จดจำ" คือการออกแบบให้เด็กสามารถเข้ามาเรียนและจดจำเนื้อหาได้ง่าย ด้วยการสอนผ่าน Story-telling หรือเล่าเรื่องบทบาทสมมติที่สอดคล้องกับเนื้อหา หรือทำแอนิเมชันที่ช่วยให้การเรียนลื่นไหล และง่ายต่อการจดจำ ซึ่งมีอยู่ในแอปพลิเคชัน StartDee 

ออกแบบการศึกษาให้เด็กไทยเรียนรู้อย่างไร เมื่อโฉมหน้าห้องเรียนหลังโควิด-19 เปลี่ยนไป

นอกจากตัวแอปพลิเคชันที่วางแนวทางไว้อย่างน่าสนใจแล้ว นายทัฬหวิชญ์ ฐิติรัตน์สกุล นักวิชาการด้านการปฏิรูปการศึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ยังได้ให้ความเห็นที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งด้วยว่า สิ่งหนึ่งที่ประเทศไทยของเราประสบอยู่ตอนนี้คือข้อจำกัดเรื่องความไม่พร้อมในการเรียนออนไลน์

ทั้งฝ่ายนักเรียนที่อยู่แดนไกลไม่มีโทรศัพท์ บุคลากรอาจารย์ที่ไม่เข้าใจเทคโนโลยี หรือจะเป็นมาตรการของรัฐบาลที่เข้มงวดเกินไป ซึ่งทุกภาคส่วนล้วนต้องปรับตัวและมองหาแนวทางใหม่ อย่างเช่นการเปิดโอกาสให้มีการออกแบบการสอนที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น หรือแจกซิมช่วยเด็กสำหรับเรียนออนไลน์ถ้าอยากให้มาตรการช่วยเหลือสมบูรณ์ เป็นต้น 

ออกแบบการศึกษาให้เด็กไทยเรียนรู้อย่างไร เมื่อโฉมหน้าห้องเรียนหลังโควิด-19 เปลี่ยนไป

นอกจากนี้ยังมีบุคคลากรอีกมากมายที่ร่วมเสวนาในหัวข้อเดียวกัน อาทิ ครูร่มเกล้า ช้างน้อย อาจารย์สอนคณิตศาสตร์จาโรงเรียนวัดดุสิตาราม, นายเมธวิน ปิติพรวิวัฒน์ ผู้ก่อตั้ง Base Playhouse โรงเรียนแนวใหม่ที่ให้เด็กทุนคนได้เติบโตและเก่งในแบบของตัวเอง และสุดท้ายคือ นางกัญญาภัค บุญแก้ว ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษา บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด 

  ออกแบบการศึกษาให้เด็กไทยเรียนรู้อย่างไร เมื่อโฉมหน้าห้องเรียนหลังโควิด-19 เปลี่ยนไป

  ออกแบบการศึกษาให้เด็กไทยเรียนรู้อย่างไร เมื่อโฉมหน้าห้องเรียนหลังโควิด-19 เปลี่ยนไป

ภาพกิจกรรมในงานที่ เปิดโอกาสให้นักเรียนเขียนความรู้สึก และความคาดหวังที่จะให้ระบบการศึกษาของไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

นับว่าเป็นความท้าทายอยู่พอสมควร ไม่ใช่เพียงเฉพาะเด็กนักเรียน แต่รวมไปถึงทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน โรงเรียน ครู รวมไปถึงผู้ปกครอง ในการที่จะปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของการศึกษาโลกยุคใหม่ พร้อมใช้เทคโนโลยีทาวการศึกษาเป็นตัวช่วย เพื่อให้เกิดประโยชน์


0 %E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%89%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94-19+%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9B
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
งานเขียนคืออาหาร ปลายปากกา ก็คือปลายตะหลิว
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น