ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้กระจายไปยังทั่วโลก จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริโภคชาวไทยต้องรู้เท่าทันและรับข่าวสารที่ถูกต้อง รู้จักพิจารณาข้อมูลต่างๆ ที่แชร์กันบนโลกออนไลน์ ข้อมูลที่ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบและไม่เป็นความจริงสามารถก่อให้เกิดความสับสนได้ และที่ร้ายแรงที่สุดคืออาจก่อให้เกิดความหวาดกลัวและความตื่นตระหนกโดยไม่จำเป็น
ทั้งนี้ Facebook จึงได้ร่วมมือกับพันธมิตร ด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ตลอดถึงการประสานงานกับองค์การอนามัยโลกและองค์กรต่างๆ มากมาย ในการเตรียมพร้อมรับมือเพื่อป้องกันการเผยแพร่ข่าวปลอม พร้อมให้คำแนะนำ 5 วิธี ช่วยให้ทุกคนได้รับข้อมูลที่ถูกต้องร่วมมือกับพันธมิตรด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ในการเชื่อมผู้ใช้งานเข้ากับเนื้อหาที่เป็นการให้ความรู้ โดยจะปรากฏอยู่ด้านบนสุดของ News Feed ซึ่งมีการนำเสนอข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ อาทิ เว็บไซต์องค์การอนามัยโลก หรือหน่วยงานสาธารณสุขท้องถิ่นของประเทศนั้นๆ ในประเทศไทย Facebook จะแนะนำเว็บไซต์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
นอกจากนี้ Facebook ประเทศไทยยังได้เปิดตัวโครงการ We Think Digital Thailand เป็นโปรแกรมที่ช่วยพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลและการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีให้กับชาวไทย โดยครอบคลุมหัวข้อการเรียนรู้ต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ตคืออะไร ลายมือดิจิทัลของคุณ การเป็นนักคิดเชิงวิเคราะห์ รวมถึงเคล็ดลับการสังเกตข่าวปลอม หากท่านสนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรแกรม We Think Digital Thailand และโมดูลเรียนรู้ต่างๆ สามารถเยี่ยมชมไมโครไซต์ได้ที่ wethinkdigital.fb.com/th
ภายใต้หัวข้อเคล็ดลับการสังเกตข่าวปลอมนี้ Facebook ได้รวบรวมเคล็ดลับง่ายๆ ที่จะช่วยให้ชาวไทยสังเกตข่าวปลอมบนโลกออนไลน์ได้รอบคอบยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างชุมชนดิจิทัลให้ได้รับข้อมูลและข่าวสารที่ครบถ้วนถูกต้องอีกด้วย
สังเกตวิธีพาดหัวข่าว ข่าวปลอมส่วนใหญ่มักใช้คำพาดหัวข่าวที่เล่นกับอารมณ์ความรู้สึกหรือใช้เทคนิคเพื่อดึงดูดความสนใจ เช่น ใช้ภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด หรือการใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) จำนวนมาก หัวข้อข่าวที่ใช้ถ้อยคำแบบสุดโต่งหรือกล่าวอ้างเกินความเป็นจริง มักมีแนวโน้มเป็นข่าวปลอม
พิจารณาชื่อของเว็บไซต์หรือที่อยู่ของเว็บไซต์ (URL) เว็บไซต์ที่น่าสงสัยส่วนมากมักพยายามลอกเลียนแบบจากเว็บไซต์จริงโดยแทรกจุดแตกต่างเล็กน้อยเข้าไปแทน เช่น การใช้ตัวไอพิมพ์ใหญ่ (I) เพื่อแทนตัวแอลพิมพ์เล็ก (l) หรือการใช้เลขศูนย์ (0) แทนตัวโอ (o) หากคุณไม่มั่นใจ ให้เปิดหน้าต่างเบราว์เซอร์ขึ้นมาใหม่ จากนั้นให้ไปที่เว็บไซต์จริงและลองเปรียบเทียบ URL ว่าน่าเชื่อถือหรือไม่
เมื่อคุณตัดสินใจกดลิ้งก์แล้ว ให้วิเคราะห์ลักษณะหน้าเพจของบทความ ตรวจสอบชื่อของผู้เขียนแล้วค้นหาข้อมูลดูว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่ โดยอาจพิจารณาจากบทความอื่นๆ ที่เขียนขึ้นโดยผู้เขียนคนเดียวกัน แนะนำให้อ่านข้อมูลในส่วน “เกี่ยวกับเรา” บนหน้าเว็บไซต์นั้นๆ เพื่อทำความรู้จักเว็บไซต์หรือองค์กรนั้นให้มากขึ้น
เคล็ดลับเพิ่มเติม
หากบทความมีการกล่าวอ้างอิงหรือยกคำพูดของผู้เชี่ยวชาญมา แต่ไม่มีการกล่าวชื่ออย่างชัดเจน เช่น “ผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่งกล่าวว่า...” ในกรณีนี้ อาจบ่งบอกได้ว่าบทความดังกล่าวเป็นข่าวปลอม แนะนำให้ตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลอีกครั้งเพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งที่ผู้เขียนกล่าวถึงนั้นเป็นความจริง โดยอาจดูเพิ่มเติมจากบทความหรืองานศึกษาอื่นๆ
ลองดูแหล่งข่าวอื่นว่ามีการรายงานข่าวเดียวกันหรือไม่ และตรวจสอบจากแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น ข้อมูลจากการองค์การอนามัยโลก (WHO) หรือจากกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น ข้อมูลจะมีแนวโน้มความน่าเชื่อถือมากขึ้นหากมีแหล่งข่าวจำนวนมากรายงานถึง
เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณกำลังอ่านและแชร์ข้อมูลที่ถูกต้องและได้รับการยืนยันแล้ว โดยสามารถติดตามการเคลื่อนไหวได้จากองค์กรดังต่อไปนี้
ท้ายที่สุดแล้ว ชาวไทยทุกคนต่างต้องรู้จักการคิดเชิงวิเคราะห์เพื่อประเมินข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และเลือกแชร์เฉพาะข่าวที่มั่นใจได้แน่นอนว่ามีความน่าเชื่อถือเท่านั้น โดยใช้หลักการทั้งหมดด้านบนที่ได้แนะนำไป
หากพบโพสต์ใดๆ ที่นำเสนอเรื่องราวและข่าวปลอม อย่าลังเลที่จะกดรายงาน โดยคลิกที่เครื่องหมายจุดเล็กๆ 3 จุด (…) ที่ด้านมุมขวาบนของโพสต์ จากนั้นกด ค้นหาการสนับสนุนหรือรายงานโพสต์ และคลิกที่ ข่าวปลอม
สามารถไปที่ศูนย์ช่วยเหลือของ Facebook เพื่อดูรายละเอียดการรายงานโพสต์ต่าง ๆได้ที่ https://www.facebook.com/help/1380418588640631/
สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับสังเกตข่าวปลอม
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/help/188118808357379
ที่มา :ข่าวฝากประชาสัมพันธ์
|
งานเขียนคืออาหาร ปลายปากกา ก็คือปลายตะหลิว |