หลังจาก Facebook เริ่มจัดการโพสต์จากผู้ใช้งานที่มีเนื้อหา และการแชร์ลิงก์เว็บไซต์เกี่ยวกับบทความสถานการณ์ COVID-19 ที่เป็นข่าวปลอมหรือทฤษฎีสมคบคิด โดยระบุว่าโพสต์เหล่านี้เป็นสแปม (spam) แต่แล้วปัญหาก็เกิดขึ้นเมื่อระบบป้องกันสแปมอัตโนมัติ (Automatic Anti-spam) เกิดบัคและเริ่มแบนโพสต์มั่ว ซึ่งมีผู้ใช้งานจากต่างประเทศหลายคนเริ่มเจอผลกระทบ และนำไปโพสต์ลง Twitter เมื่อเย็นวานที่ผ่านมาพร้อมระบุว่าโพสต์ของพวกเขาไม่ใช่สแปม
ตัวอย่างโพสต์เฟซบุ๊กที่ได้รับผลกระทบถูกตั้งเป็นสแปม
It looks like an anti-spam rule at FB is going haywire. Facebook sent home content moderators yesterday, who generally can't WFH due to privacy commitments the company has made. We might be seeing the start of the ML going nuts with less human oversight. https://t.co/XCSz405wtR
— Alex Stamos (@alexstamos) March 17, 2020
.@Facebook your review system is broken AF -- This is the 3rd in two weeks "GOES AGAINST OUR COMMUNITY STANDARDS" for a share from a known publication.
— Kristine Schachinger (@schachin) March 17, 2020
Like this one? An @Upworthy post about #GenX w the Breakfast Club movie as the photo? WT? And the others are about the same. pic.twitter.com/CL1jRSz5uO
Something is going on on Facebook. I’ve seen four separate people in the past couple hours saying their posts about coronavirus were marked as “spam”. And one of them is an epidemiologist.
— Aylan (AY like Day - LAN like LandBack) Couchie (@AylanX) March 17, 2020
Then my link to the Canadian gov’s website about EI was removed too. #COVID19 pic.twitter.com/tFAUqLzHus
มีผู้ใช้บางคนที่ได้รับผลกระทบบอกว่าตนโพสต์บทความเกี่ยวกับในประเทศอิสราเอล บ้างก็โพสต์รูปจากภาพยนตร์ เรื่อง "The Breakfat Club" แต่ก็ยังมีคนโพสต์เนื้อหาเกี่ยวกับ COVID-19 เช่นแชร์ข่าว Tom hank และภรรยาที่ติดเชื้อ ซึ่งไม่ใช่โพสต์ที่เข้าข่ายเป็นข่าวปลอมหรือเป็นสแปมอย่างที่เฟซบุ๊กตั้งนโยบายไว้แน่นอน จึงมีการออกมาโวยกันยกใหญ่ว่าเฟซบุ๊กตั้งสแปมให้โพสต์พวกเขาทำไมกัน
ซึ่งภายหลังผู้ใช้ Twitter พร้อมสื่อต่างประเทศออกมาแชร์ปัญหาดังกล่าว ทางเฟซบุ๊กก็รับทราบดี โดย Guy Rosen รองประธานฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์ของ Facebook ก็ได้ออกมาตอบข้อความของผู้ที่ได้รับผลกระทบว่าตอนนี้บริษัทรับทราบปัญหาแล้ว และกำลังแก้ไขอย่างเร่งด่วน และตอนนี้เฟซบุ๊กก็ได้กู้คืนโพสต์ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดเรียบร้อย พร้อมยอมรับว่าระบบอัตโนมัติดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบกับโพสต์ที่เกี่ยวกับสถานการณ์ไวรัสอย่างเดียวแต่มันบัคและลามไปถึงโพสต์ที่มีเนื้อหาอื่นๆ ด้วย
— Guy Rosen (@guyro) March 18, 2020
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ Facebook เคยมีการประกาศความร่วมมือร่วมกับบริษัทใหญ่ๆ หลายบริษัท เช่น Google, Microsoft, Reddit, Twitter และ Youtube ในการแบนเนื้อหาจากผู้ที่สร้างข่าวปลอม หรือแชร์ทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับไวรัส COVID-19 ซึ่งจากปัญหาที่พบก็แสดงให้เห็นว่าตอนนี้เฟซบุ๊กมีการจัดการนโยบายดังกล่าวบนแพลตฟอร์มของตัวเองได้ไม่ดีเท่าที่ควร
|
งานเขียนคืออาหาร ปลายปากกา ก็คือปลายตะหลิว |