ซอฟต์แวร์ หรือ ชุดคำสั่งของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้นนอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ
ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้พยายามบูรณาการให้เกิดความตระหนักเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ให้เกิดขึ้นทั้งภาครัฐ และเอกชน โดยเฉพาะเรื่องของทรัพสินย์ซอฟต์แวร์ ที่มีการจับมือร่วมกับ ‘BSA’ พันธมิตรซอฟต์แวร์ และกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก. ปอศ) ที่ดำเนินให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายและปราบปรามอย่างถึงที่สุด
อันที่จริงแล้วทุกคนอาจจะทราบดีว่าการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนเป็นเรื่องที่ผิด แต่คำถามคือ
“ทุกคนใส่ใจกับมันแค่ไหน”
ซึ่งน้อยคนนักที่จะทราบถึงความเสี่ยงของการโหลดซอฟต์แวร์เถื่อน โดยสาเหตุมักเกิดจาก
จากสาเหตุเหล่านี้ ทำให้การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์กลายเป็นเรื่องที่คนทั่วไปมักมองข้ามและยังส่งผลไปถึงทัศนคติของกลุ่มธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่มีการบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ (Software Asset Management : SAM) เพราะ
บางคนเข้าใจว่าทุกวันนี้ความเสี่ยงจากการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนคือ “กฎหมาย” เพียงอย่างเดียว เพราะถ้ายังไม่ถูกจับได้ก็ไม่เป็นอะไร แต่นอกเหนือการถูกฟ้องร้องหรือถูกดำเนินคดีจากเจ้าของลิขสิทธิ์แล้วก็ยังมีความเสี่ยงอีกมาก ดังนั้นโปรดสำรวจตัวเองว่าคุณกำลังละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อยู่หรือไม่ เพราะถ้าใช่ความเสี่ยงเหล่านี้กำลังจะเกิดขึ้นกับคุณในไม่ช้า
1.ถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ถูกปรับสูงสุดถึง 800,000 บาท จำคุก 4 ปี ซึ่งเป็นโทษสูงสุดที่บัญญัติไว้ภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558
2.ถูกแฮ็กเกอร์ใช้เป็นช่องทางปล่อยมัลแวร์แฝงมาในซอฟต์แวร์เถื่อนสู่คอมพิวเตอร์ของคุณ เพื่อล้วงข้อมูลส่วนตัวของเรา
3.หากเกิดขึ้นในธุรกิจที่ติดตั้งของเถื่อนจากเว็บไซต์ นั่นหมายความว่า ความลับทางธุรกิจของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการค้า การเงิน โครงการต่างๆ อาจถูกแฮ็กเกอร์ล้วงความลับนำข้อมูลไปขาย
4.สูญเสียความเชื่อมั่น ความหมายคือ ผู้พัฒนาจะไม่เชื่อมั่น และไม่สนับสนุนการค้าซอฟต์แวร์ในประเทศไทย นั่นหมายถึง ธุรกิจหรือคนทั้งประเทศจะเสียโอกาสได้รับเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ซอฟต์แวร์ใหม่ เอไอ หรือ Internet of Things (IoT)
( Internet of Things (IoT) คือ "อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง" หมายถึง การที่อุปกรณ์ต่างๆ สิ่งต่างๆ ได้ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างสู่โลกอินเตอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (การสั่งการเปิดไฟฟ้าภายในบ้านด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์ควบคุม เช่น มือถือ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต) รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือทางการเกษตร อาคาร บ้านเรือน เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น)
นางสาวนุสรา กาญจนกูล รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า อย่างที่ทราบดีว่าตอนนี้มีการพยายามบูรณาการหลายหน่วยงานเพื่อจัดการปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ซึ่งได้จับเป็นพันธมิตรกับ ‘BSA’ และ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ
โดย 'BSA' ได้จัดอันดับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน และพบว่าไทยติดอันดับ 3 ที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์มากที่สุด คิดเป็น 66 % จากทั่วประเทศ เป็นรองเพียง อินโดนิเซีย และเวียดนามเท่านั้น
1.ซอฟต์แวร์ประเภทออกแบบเขียนแบบที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต
2.ซอฟต์แวร์ออกแบบเขียนแบบด้านสถาปัตยกรรม
3.ซอฟต์แวร์ออกแบบเขียนแบบด้านวิศวกรรม
4.ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในสำนักงานตามลำดับ
ภาพจาก https://ww2.bsa.org/?sc_lang=th-TH
ทั้งนี้กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจเองยังมีรายงานสรุปการปราบปรามดำเนินคดีในปี 2562 ผลคือมีการดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์กับองค์กรธุรกิจจำนวน 469 คดี มูลค่าความเสียหายมากกว่า 464 ล้านบาท ซึ่งยังมีอีกกว่า 100 บริษัทที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบ
ในจำนวนนี้กว่า 30 % เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียง
ส่วนอันดับอุตสาหกรรมธุรกิจที่ถูกดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
1.อุตสาหกรรมการผลิต (48%)
2.อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง (17%)
3.อุตสาหกรรมออกแบบและตกแต่งภายใน (16%)
4.ธุรกิจบริการ (10%)
5.และอื่นๆ (9%)
บางรายมีการพยายามประหยัดงบโดยการซื้อซอฟต์แวร์ผิดประเภท คือใช้ไลเซนส์สำหรับสถานศึกษา ที่มีราคาถูกกว่าไลเซนส์สำหรับธุรกิจ
อย่างไรก็ตามการสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อาจไม่ใช่แค่เพียงรณรงค์กับผู้กระทำผิดเท่านั้น แต่ภาครัฐก็ควรมีการผลักดันบางอย่าง ให้เกิดการพัฒนาด้วย เช่นสร้างบุคคลากรให้มีความเชี่ยวชาญมาทำงาน เพื่อช่วยในการสืบค้นหาหลักฐาน ปราบปรามเพื่อปกป้องสิทธิ์ของเจ้าของ หรือการออกกฎหมายที่รับรองการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2563 กรมทรัพย์สินทางปัญญากำลังเดินหน้าจัดทำคู่มือจัดซื้อลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในภาครัฐ และแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์ให้ทันสมัยเพื่อรองรับการเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาลิขสิทธิ์ดิจิทัล (WCT)
ซึ่งสถานะร่าง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ใหม่ อยู่ระหว่างรอหนังสือให้ยืนยันร่างกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาจาก คณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อออกเป็นร่างกฎหมาย คาดว่าออกได้ในปีนี้ ซึ่งจะเพิ่มเติมในด้าน
แก้ไขขยายอายุการคุ้มครองงานภาพถ่าย
แก้ไขข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ให้บริการ
แก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองมาตรการทางเทคโนโลยี
แก้ไขปรับปรุงความต่อเนื่องของการดำเนินงานของคณะกรรมการลิขสิทธิ์
รวมถึงปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการยกเว้นความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างเจ้าของลิขสิทธิ์และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในการแจ้งเตือนการละเมิดลิขสิทธิ์และนำงานละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากระบบ หรือที่เรียกว่า ระบบ Notice and Takedown ที่ได้รับหลักการมาจาก Digital Millennium Copyright Act (DMCA) ของสหรัฐอเมริกา คือ การกำหนดกระบวนการในการให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถส่งคำแจ้งเตือน (Notice) ไปยังผู้ให้บริการได้โดยตรง เพื่อผู้ให้บริการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ของตน (Takedown) ได้อย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่ง ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถยับยั้งการละเมิดได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังกำหนดให้ผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ถูกกล่าวอ้างว่าละเมิดลิขสิทธิ์นั้น สามารถโต้แย้งการนำงานออกจากระบบได้ หากเห็นว่างานที่ตนนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ ไม่ใช่งานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์
ทั้งหมดทั้งมวลนี้เกิดขึ้นโดยมีความคาดหวังว่าเมื่อมีการประชาสัมพันธ์ให้ตระหนักรู้ในวงกว้างแล้ว คนไทยจะช่วยกัน และลดปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วงสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ค้าและนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศได้
|
งานเขียนคืออาหาร ปลายปากกา ก็คือปลายตะหลิว |