เป็นที่รู้กันดีว่าเทคโนโลยี “บล็อกเชน (Blockchain)” เป็น “ระบบบันทึกข้อมูลแบบไร้ศูนย์กลาง” ที่มีจุดเด่นเรื่องความน่าเชื่อถือ (Trust) ตรวจสอบได้ และยากที่จะบิดเบือนแก้ไขด้วยวิธีที่ไม่สุจริต และยังเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ขับเคลื่อนสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) ชื่อดังอย่าง Bitcoin อีกด้วย ด้วยรูปแบบการเก็บข้อมูลคล้ายกับห่วงโซ่ที่บันทึกข้อมูลไว้หลายที่ แต่ละที่ก็จะมีข้อมูลเหมือนกัน และยังเชื่อมโยงถึงกันตลอดเวลาด้วย อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขต้องทำพร้อมกัน เพราะหากเปลี่ยนแค่จุดเดียวก็จะไม่เกิดผล มันจึงถูกนำไปใช้กับการเก็บข้อมูลที่ต้องการความน่าเชื่อถือและถูกต้องแม่นยำ เช่น การเงินและการธนาคาร, การบริจาคและระดมทุน, วงการข้อมูลแพทย์, กระบวนการยุติธรรม, ฯลฯ
และเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2562 ก็เป็นวันที่คนไทยต้องจดจำเมื่อทางหน่วยงานของรัฐอย่าง กระทรวงการคลังประกาศนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาใช้ในการจัดการข้อมูลต่างๆ ระหว่างหน่วยงานในสังกัดทั้ง 9 พร้อมกับเอาไปใช้กับ 8 โครงการรัฐนำร่อง เช่น การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การขอคืนภาษีของนักท่องเที่ยว การออมผ่านพันธบัตรรัฐบาล ฯลฯ
โดยในงาน MOF Digital Platform is Now : กระทรวงการคลังนำดิจิทัลสร้างเศรษฐกิจสู่ชุมชน มีการเซ็นลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือของหน่วยงานรัฐทั้ง 9 ประกอบด้วย กรมธนารักษ์, กรมบัญชีกลาง, กรมศุลกากร, กรมสรรพสามิต, กรมสรรพากร, สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ, สำนักงานบริการหนี้สาธารณะ, สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และธนาคารกรุงไทย ในการดำเนินการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อแชร์ข้อมูลระหว่างกัน เพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดขั้นตอนลง เพิ่มความปลอดภัย และสร้างความโปร่งใส ตรวจสอบได้ พร้อมกับอำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่มาติดต่อขอใช้บริการ
ซึ่งในระยะแรกเป็นระยะนำร่องที่นำบล็อกเชน (Blockchain) ไปใช้ มีอยู่ด้วยกัน 8 โครงการ คือ ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Government Procurement : e-GP), ระบบคืนภาษีของนักท่องเที่ยว (VAT Refunds for Tourists), การออมผ่านพันธบัตรรัฐบาล ด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Scripless Bond), ระบบจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากร, โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (Welfare), ระบบการจัดทำราคาประเมินที่ดินของกรมธนารักษ์ และสิทธิ์การรักษาพยาบาลของข้าราชการ
แต่ละโครงการที่ใช้ บล็อกเชน (Blockchain) ก็จะได้รับประโยชน์แตกต่างกันไป เช่น ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Government Procurement : e-GP) ผู้ประกอบการนิติบุคคลจะได้รับประโยชน์ในด้านการลดเวลาเพื่อการจัดเตรียมข้อมูลและเอกสารสำหรับการลงทะเบียนและการยื่นเสนอราคา ในส่วนนี้หน่วยงานรัฐจะเก็บข้อมูล ประวัติการทำงานย้อนหลัง และข้อมูลระบบ
Rating ตามผลงานที่เคยทำให้กับภาครัฐไว้ เพื่อเพิ่มความโปร่งใสของระบบจัดซื้อจัดจ้าง และช่วยลดเวลาในการตรวจสอบข้อมูลและประเมินทำให้สามารถเริ่มโครงการได้ไวขึ้นส่วน
การคืนภาษีของนักท่องเที่ยว (VAT Refunds for Tourists) ที่ใช้ บล็อกเชน (Blockchain) ก็จะช่วยอำนวยความสะดวก ทั้งด้านวิธีการยืนยันตัว ขั้นตอ นการขอ คื น e-Tax Invoice ก็สามารถทำได้ผ่านแอปพลิเคชัน รวมลดระยะเวลาในการรับภาษีและช่องทางการคืน จากเดิม 34 วันทำการ เหลือเพียงแค่ 3 วันเท่านั้น และจ่ายคืนผ่าน AliPay, WeChat, Visa, Mastercard, JCB และ UnionPay นี่จะช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการสำหรับประชาชนทั่วไปก็ได้รับประโยชน์ผ่านโครงการ การออมผ่านพันธบัตรรัฐบาล ด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Scripless Bond) ที่สามารถซื้อพันธบัตรหน่วยย่อย 1 บาท ต่อ 1 พันธบัตร ทำให้ประชาชนทุกระดับซื้อได้ และยังมีระบบตรวจสอบที่สร้างความโปร่งใสอย่าง ระบบจองก่อนได้ก่ อน (First Come First Serve) ช่วยป้องกันการกักตุนโควต้า และยังซื้อพันธบัตรผ่านระบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันได้ ทำให้ไม่ต้องไปซื้อเองที่สาขา ช่วยประหยัดเวลาและอำนวยความสะดวกให้กับคนที่อยู่พื้นที่ห่างไกล และยังช่วยลดเวลาในการออกพันธบัตรจากเดิม 4 วัน เหลือเพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น
นอกจากนี้ยังมี โคร
งการ บัตรสวัสดิการแห่ งรัฐ (Welfare) และ สิทธิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ (Healthcare) ที่เชื่อมโยงข้อมูลจากทุกภาคส่วน สามารถตรวจสิทธิ์ได้แบบ Real-time และใช้การบันทึกและอัปเดตข้อมูลแบบเรียลไทม์ป้องกันการทุจริตด้วยการสวมสิทธิ์ และการใช้สวัสดิการในทางที่ผิดส่วนของการทำธุรกิจก็มีการนำบล็อกเชน (Blockchain) ไปใช้ใน การจัดเก็บภาษีของกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากร โดยการ Centralize and Digitize (การรวมไว้ที่ศูนย์กลางและทำให้เป็นแบบดิจิทัล) เอกสารทุกประเภทที่เกี่ยวกับการสั่งสินค้า การผลิต การนำเข้า การส่งออก จนถึงสินค้าถึงมือผู้รับ ผ่านเอกสารดิจิทัล (Digital Document) ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงเอกสารได้ตามสิทธิ์ และช่วยให้รัฐประมาณการจัดเก็บภาษีได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ โปร่งใส
และสุดท้ายเป็นการสร้างความโปร่งใสให้กับ การจัดทำราคาประเมินที่ดินของกรมธนารักษ์ ที่จะแชร์ข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำราคาประเมินที่ดินทั่วประเทศ ทำให้การจัดเก็บภาษีทำได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว และรวมไปถึงการทำโฉนดที่ดินอิเล็กทรอนิกส์บนบล็อกเชน (Blockchain) ที่ยากต่อการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขโดยทุจริต และสถาบันการเงินยังป้องกันการทุจริตจาก Double Financing (การขอสินเชื่อซ้ำซ้อน) อีกด้วย
นับเป็นก้าวแรกที่ทางกระทรวงการคลังนำเทคโนโลยีที่มีความล้ำหน้าอย่างบล็อกเชน (Blockchain) มาใช้กับหน่วยงานในสังกัดและโครงการของรัฐ เพื่อยกระดับทั้ง ความโปร่งใส ความถูกต้องแม่นยำ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดขั้นตอนซ้ำซ้อนออกไป ทำให้ระยะเวลาในการดำเนินงานน้อยลง ส่งผลให้ประชาชนและผู้ประกอบการได้รับประโยชน์ รวมถึงเร่งการทำงานของโครงการพัฒนาประเทศต่างๆ ให้เกิดได้ไวขึ้นอีกด้วย เชื่อว่าในอนาคตการใช้ บล็อกเชน (Blockchain) ของกระทรวงการคลังจะเป็นต้นแบบให้กับหน่วยงานอื่นๆ ได้หยิบยกไปใช้ เพื่อพัฒนาคุณภาพในการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมต่อไป
|
How to .... |