ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

ค่านิยมการฟังเพลงแบบสตรีมมิ่ง ส่งผลกระทบต่อความยาวของเพลงให้สั้นลงเรื่อยๆ

ค่านิยมการฟังเพลงแบบสตรีมมิ่ง ส่งผลกระทบต่อความยาวของเพลงให้สั้นลงเรื่อยๆ

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 2,915
เขียนโดย :
0 %E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87+%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%86
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

Nate Sloan ผู้อำนวยการสร้าง และผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านดนตรีวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย และ Charlie Harding ผู้อำนวยการสร้าง, นักแต่งเพลง และโปรดิวเซอร์ ได้เปิดประเด็นน่าสนใจขึ้นมาว่า "ทุกวันนี้เพลงมีความยาวสั้นลงเรื่อยๆ เพราะค่านิยมการฟังเพลงแบบสตรีมมิ่ง" เราเห็นว่าประเด็นนี้น่าสนใจดี เลยเก็บเอามาฝากให้อ่านกัน

ทุกวันนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การฟังเพลงออนไลน์ผ่านสตรีมมิ่งนั้นเป็นที่นิยมมากกว่าการซื้อแผ่น CD หรือเพลงดิจิทัลทีละอัลบัม หรือทีละเพลงมาฟัง ในประเทศไทยเองก็มีตัวเลือกให้ฟังหลายเจ้า เช่น Apple Music หรือ Spotify ซึ่งหากเราถามว่าเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อการทำเพลงหรือไม่? มีคำตอบหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ในช่วง 18 ปีที่ผ่านมา เพลงมีความยาวเฉลี่ยสั้นลงประมาณ 30 วินาที

Charlie Harding ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับคำตอบนั้นว่า "ใช่เลย หนึ่งในเทรนด์ที่เรากำลังพบเจอในเพลง และในระบบสตรีมมิ่ง คือ เพลงกำลังสั้นลงเรื่อยๆ ตั้งแต่ยุค 90 มาจนถึงปัจจุบัน และมีบางเพลงที่สั้นจนน่าตกใจเกิดขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่า Spotify จะก่อตั้งในปี 2016 แต่ความนิยมของการฟังเพลงผ่านระบบสตรีมมิ่งเพิ่งจะมาเฟื่องฟูในช่วงไม่กี่ปีมานี่เอง และนั่นทำให้เราเห็นความเปลี่ยนแปลงของวิธีทำเพลงได้ชัดเจนมากขึ้น

หนึ่งในเหตุผลที่มีความเป็นไปได้ถูกมองว่าเกิดจาก วิธีสร้างรายได้ที่เปลี่ยนไป ในอดีตศิลปินจะได้เงินเมื่อพวกเขาสามารถขายอัลบัม หรือซิงเกิลได้ แต่ปัจจุบันศิลปินมีรายได้เมื่อเพลงของพวกเขาถูก "สตรีมมิ่ง" ส่วนใหญ่แล้วจะได้เงินต่อเมื่อเพลงถูกเล่นเกิน 30 วินาที และมักจะได้เงินเยอะขึ้นหากเพลงนั้นถูกฟังจนจบเพลง

ผลก็คือ ศิลปินพยายามทำเพลงให้เข้าท่อนฮุคได้เร็วขึ้น เพื่อหวังให้คนฟังเปิดเพลงนั้นต่อจนจบ หรือหากคุณเปิดเพลงฟังทั้งอัลบัม อัลบัมที่มีเพลงสั้นๆ จะทำเงินได้เยอะกว่าในเวลาที่เท่ากัน เพราะมันถูกเปิดฟังจนจบได้หลายเพลงกว่า 

ในปี 1995 เพลงมีความยาวประมาณ 4:30 นาที

แต่ปัจจุบันความยาวเฉลี่ยเหลือเพียง 3:42 นาที เท่านั้น

ไม่ใช่แค่เพลงที่สั้นลง แนวทางที่ศิลปินผลิตเพลงก็เปลี่ยนไป ไม่มีอีกแล้วที่เพลงจะมีท่อนอินโทรยาวๆ พาคุณไปถึงท่อนฮุคอย่างช้าๆ เพลงสมัยนี้จะแฝงดนตรีของท่อนฮุคเอาไว้ตั้งแต่ต้นภายใน 5-10 วินาที เพื่อหวังให้คุณชอบ และฟังมันต่อไปจนครบ 30 วินาที ซึ่งเป็นช่วงที่ท่อนฮุคแบบเต็มๆ จะถูกเล่นออกมา

Nate Sloan มีอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ อย่างน้อยมันก็เกิดขึ้นใน Spotify คือ หากเพลงไหนถูกฟังจนจบเพลง มันก็มีโอกาสที่เพลงนั้นจะถูกเพิ่มเข้าไปในเพลย์ลิสต์แนะนำ ซึ่งทำให้เพลงดังกล่าวมีโอกาสถูกเล่นบ่อยขึ้น (รายได้เพิ่มขึ้น) ด้วย


แล้วคุณผู้อ่านล่ะ เห็นด้วยหรือไม่กับการที่เพลงออนไลน์เป็นสาเหตุของเพลงที่สั้นลง


ที่มา : www.theverge.com


0 %E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87+%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%86
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น