ขอบคุณภาพ หลุมดำกาแลคซี M87 จาก EHT Collaboration
ช่วงเวลาที่น่าจดจำในประวัติศาสตร์ เมื่อมวลมนุษยชาติได้เห็นภาพถ่ายหลุมดำของจริงเป็นครั้งแรก โดยเป็นภาพของหลุมดำขนาดใหญ่ที่อยู่ใจกลางกาแลคซี M87 เหมือนว่าเจ้าดวงตายักษ์นี้ กำลังจ้องมองมาที่เราเลยทีเดียว
แน่นอนว่ามันเป็นภาพที่อัศจรรย์มาก และทำให้เรารับรู้ได้เลยว่าแท้ที่จริงแล้วเราเป็นเพียงสิ่งเล็กๆ ในจักรวาลที่กว้างใหญ่ แต่ถ้าใครยังไม่รู้สึกถึงความเล็กน้อยของสรรพสิ่งแล้วหล่ะก็ ตามมาทางนี้เลย
หลุมดำใจกลางกาแลคซี M87 นี้อยู่ห่างไกลจากโลกของเราในระยะทาง 55 ล้านปีแสง รัศมีของหลุมดำนี้มีขนาดความกว้าง 60,000 ปีแสง ในขณะที่กาแลคซีทางช้างเผือกของเรา (ซึ่งเป็นที่อยู่ของระบบสุริยะหรือ Solar system) นั้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราวๆ 100,000 ปีแสง
เมื่อเทียบในเรื่องขนาดของมวลนั้นก็ไม่ยากเลย แค่เอามวลของดวงอาทิตย์ คูณด้วยตัวเลข 6,500,000,000 (หกพันห้าร้อยล้าน) เราก็จะได้ขนาดมวลของหลุมดำกาแลคซี M87 ซึ่งมวลที่มากมายมหาศาลนี้ กระจุกตัวอยู่ในปริมาตรที่มีขนาดเล็กมากๆ เมื่อเทียบกับมวลของมัน
ด้วยความที่มวลขนาดใหญ่ มากระจุกตัวอยู่ในพื้นที่อันจำกัด ทำให้หลุมดำมีแรงดึงดูดอันมหาศาล ทำให้แม้แต่แสง ก็ไม่สามารถทำความเร็วได้มากพอที่จะหลุดพ้นจากแรงดึงดูดของหลุมดำได้ ทำให้ใจกลางของหลุมดำนั้นเป็นพื้นที่ที่มืดสนิท เพราะไม่มีแสงใดสามารถเล็ดลอดออกมาจากมันได้นั่นเอง ทำให้มันได้ชื่อว่า "หลุมดำ"
และหากจะมีสิ่งใดที่สามารถรอดพ้นจากอิทธิพลของแรงดึงดูดอันมหาศาล หรือสามารถวิ่งผ่านหลุมดำได้ อนุภาคโฟตอน (อนุภาคของแสง) นั้นต้องทิ้งระยะห่างจากจุดศูนย์กลางของหลุมดำในระยะทางที่ไกลถึง 18,000,000,000 กิโลเมตร (หนึ่งหมื่นแปดพันล้านกิโลเมตร) หรือคิดเป็นระยะทางที่ไกลถึง 122 เท่า เมื่อเทียบระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ และถ้าหากเคลื่อนที่เข้าใกล้กว่านี้ ก็จะถูกดึงดูดเข้าไปในหลุมดำ
แต่ถ้าสิ่งที่บรรยายไปทั้งหมดยังไม่ทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่า แท้ที่จริงแล้วเราเป็นสิ่งที่เล็กน้อยขนาดไหน เมื่อเทียบกับหลุมดำของกาแลคซี M87 เราลองดูภาพดังต่อไปนี้ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยคุณ Randall Munroe จาก XKCD รับรองว่าเห็นแล้วนึกออกเลยว่าเรานั้นเล็กน้อยขนาดไหน
ภาพนี้เป็นความพยายามในการแสดงการเปรียบเทียบขนาดกันระหว่าง หลุมดำของกาแลคซี M87 กับระบบสุริยะของเรา โดยที่
|
ไม่เสพติดไอที แต่ชอบเสพข่าวเทคโนโลยี หาความรู้ใหม่ๆ มาใส่สมอง |
ความคิดเห็นที่ 1
12 เมษายน 2562 11:00:57
|
|||||||||||
|
|||||||||||