ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

ผลวิจัยชี้ชัด คนสมัยนี้แค่อ่านแคปชั่นสั้นๆ ในโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค ก็คิดว่าเข้าใจเรื่องนั้นเป็นอย่างดี

ผลวิจัยชี้ชัด คนสมัยนี้แค่อ่านแคปชั่นสั้นๆ ในโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค ก็คิดว่าเข้าใจเรื่องนั้นเป็นอย่างดี

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 4,065
เขียนโดย :
0 %E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%94+%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%86+%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%84+%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B5
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

งานวิจัยล่าสุดพบว่า คนเราบนโลกโซเชียลโดยส่วนใหญ่ นั้นแค่เพียงอ่านแคปชั่นสั้นๆ ของข่าวหรือบทความที่โพสต์บนโซเชียล แล้วก็ทึกทักเอาเองว่า เข้าใจเรื่องราวนั้นเป็นอย่างดี โดยไม่ต้องเสียเวลาคลิกเข้าไปอ่านเนื้อหาแบบเต็มๆ ซึ่งการที่คิดว่าเรารู้ดีอยู่แล้วในเรื่องนั้นๆ ทั้งๆ ที่เราแทบจะไม่รู้อะไรเลย กลับกลายเป็นผลเสียในระยะยาว

ด้วยการอ่านเพียงหัวข้อข่าว หรือการสแกนอ่านเนื้อหาแบบเร็วๆ อย่างที่หลายๆ คนชอบทำกัน แทนที่จะตั้งใจอ่านเนื้อหาแบบเต็มๆ นั้นทำให้เราหลงคิดว่ามีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ดีพอ และทำให้เรารู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้รอบรู้ ทั้งๆ ที่จริงแล้วมันไม่ได้เป็นอะไรแบบนั้นเลย

โดยนักวิจัยจาก York College ในรัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า "ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียโดยส่วนใหญ่ มีความสนใจกับเนื้อหาใดๆ ในระยะเวลาเพียงสั้นๆ เท่านั้น และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเมืองผ่านสื่อโซเชียล นั้นเป็นการสร้างมายาคติ ที่ทำให้คิดว่าเรารู้ดีในประเด็นนั้นๆ ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่เลย"

โดยในงานวิจัยเกี่ยวกับความสนใจเพียงระยะสั้นๆ ของผู้คนบนโลกโซเชียลมีเดีย ได้ทำกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,000 คน ที่ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ที่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากช่องทางที่ต่างกัน แล้วมาดูกันว่าสื่อรูปแบบไหนที่จะสร้างให้เกิดความรู้ได้อย่างแท้จริง

โดยกลุ่มตัวอย่างแรก จำนวน 320 คน ถูกร้องขอให้อ่านบทความยาวๆ บนสื่อ The Washington Post ในเรื่องที่เกี่ยวกับ อาหารดัดแปลงทางพันธุกรรม (Genetically Modified)

กลุ่มตัวอย่างที่สอง จำนวน 319 คน ถูกร้องขอให้อ่านฟีดข่าวของ Facebook ที่มีหัวข้อข่าวอยู่ 4 เรื่อง พร้อมกับตัวอย่างบทความสั้นๆ โดยมี 1 เรื่องที่เกี่ยวกับ อาหารดัดแปลงทางพันธุกรรม เหมือนกับกลุ่มตัวอย่างแรก

และกลุ่มตัวอย่างสุดท้าย จำนวน 351 คน ที่ไม่ได้ถูกร้องขอให้อ่านอะไรเลย

และเพื่อตรวจสอบระดับความรู้เกี่ยวกับเรื่อง อาหารดัดแปลงทางพันธุกรรม ของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 ทุกคนต้องทำข้อสอบ 6 ข้อเพื่อทดสอบความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยมีคำถาม 5 ข้อ ที่มีคำตอบอย่างชัดเจนอยู่ในบทความของ The Washington Post และมีคำถาม 3 ข้อ ที่มีคำตอบอย่างชัดเจนอยู่ในตัวอย่างบทความบน Facebook

และเพื่อประเมินระดับความมั่นใจในความรู้ของตัวเอง กลุ่มตัวอย่างทุกคนถูกถามว่า พวกเขาคิดว่าจะตอบคำถามได้ถูกต้องเป็นจำนวนกี่ข้อ?

และไม่น่าประหลาดใจเลยที่ กลุ่มตัวอย่างที่อ่านบทความเต็มๆ จาก The Washington Post นั้นทำคะแนนจากการตอบคำถามได้ดีกว่าอีก 2 กลุ่ม และน่าสนใจตรงที่ กลุ่มตัวอย่างที่ 2 ที่ดูข่าวบน Facebook มีแนวโน้มที่จะตอบคำถามได้ถูกต้องมากกว่า กลุ่มตัวอย่างที่ 3 ที่ไม่ได้อ่านอะไรเลยเพียงข้อเดียวเท่านั้น

และที่น่าสนใจกว่านั้นคือ กลุ่มตัวอย่างที่ 2 นั้นมีความมันใจในระดับความรู้ของตัวเอง สูงกว่าระดับความรู้ที่มีอยู่จริง (พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือหลงคิดว่าตัวเองฉลาด แต่ที่จริงแล้วอาจไม่ได้รู้อะไรเลย)

ผลวิจัยชี้ชัด คนสมัยนี้แค่อ่านแคปชั่นสั้นๆ ในโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค ก็คิดว่าเข้าใจเรื่องนั้นเป็นอย่างดี

"ชาวโซเชียลโดยส่วนใหญ่ จะมีแรงขับเคลื่อนที่เกิดจากความรู้สึก ที่คิดว่าเราเสพข่าวมากมายผ่านหน้าฟีดในแต่ละวัน ทำให้เป็นผู้รอบรู้ในทุกเรื่อง ดังนั้นการอ่านข่าวหรือบทความใดๆ เพียงคร่าวๆ ไม่ต้องเสียเวลาอ่านทั้งหมด หรือแม้กระทั่งบางทีอ่านเฉพาะข้อความแคปชั่นของข่าว เราก็คิดว่าเข้าใจรายละเอียดของข่าวอย่างหมดจดครบถ้วนแล้ว หรือในบางกรณี สำนักข่าวบางรายไม่ได้เอาเนื้อหาข่าวแบบเต็มๆ มาเผยแพร่บนสื่อโซเชียล ดังนั้นการอ่านเพียงเฉพาะข่าว หรือบทความจากโซเชียล อาจทำให้ไม่ได้รับเนื้อสารของข่าว หรือบทความนั้นๆ อย่างครบถ้วนก็เป็นได้"

โดยในยุคปัจจุบันนี้ มีข้อมูลว่าชาวอเมริกัน 67% ใช้โซเชียลมีเดีย Facebook เป็นช่องทางหลักในการเสพข่าว และเป็นช่องทางหลักในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเมือง แต่โซเชียลมีเดียนั้นเป็นช่องทางที่เข้าถึงข้อเท็จจริงทางด้านการเมืองที่เหมาะสมแล้วจริงหรือ?

และงานวิจัยยังระบุอีกว่า ผู้ใช้งาน Facebook โดยส่วนใหญ่ คลิกเพื่ออ่านเนื้อหาของข่าวการเมืองที่แสดงขึ้นมาบนหน้าฟีดเพียง 7% เท่านั้น นั่นหมายความว่าข่าวส่วนใหญ่นั้นถูกอ่านแค่เพียงพาดหัวข่าวสั้นๆ ที่แสดงขึ้นมาบนหน้าฟีดเท่านั้น ทำให้แท้ที่จริงแล้วชาวโซเชียลมีข้อมูลที่น้อยมากๆ แต่พวกเขากลับมันใจว่าตัวเองรอบรู้

โดยเจ้าของงานวิจัยชิ้นนี้ระบุว่า "Facebook กลายเป็นช่องทางหลักสำหรับการเสพข่าวของใครหลายๆ คน โดยความมั่นใจว่าตัวเองรอบรู้ของผู้คน กลับทำให้กเิดปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อสิ่งที่พวกเขาคิดว่าตัวเองรู้นั้น ดันกลายเป็นข้อมูลที่ถูกบิดเบือน"

โดยงานวิจัยชิ้นนี้ เผยแพร่ผ่านสื่อ Research and Politics


ที่มา : www.sciencealert.com , journals.sagepub.com


0 %E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%94+%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%86+%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%84+%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B5
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
ไม่เสพติดไอที แต่ชอบเสพข่าวเทคโนโลยี หาความรู้ใหม่ๆ มาใส่สมอง
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น