มะเขือเทศเป็นเครื่องเทศเป็นเครื่องเคียงที่ลงตัวของแซนด์วิช และแฮมเบอร์เกอร์ และมะเขือเทศยังใช้ทำซอสได้หลายรูปแบบ รวมถึงเครื่องปรุงรส และเป็นส่วนประกอบสำคัญในหลายเมนูอาหารของชาติตะวันตก แต่ถ้าพูดถึงเรื่องของรสชาติความเผ็ดร้อน เป็นอะไรที่ไม่มีในมะเขือเทศเอาซะเลย และในตอนนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังจะเปลี่ยนวิธีการใช้งาน มะเขือเทศ ในกระบวนการผลิตอาหาร
โดยงานวิจัยที่เผยแพร่ผ่านสื่อ Trends In Plant Science นักวิจัยให้ข้อมูลว่ามีการศึกษา DNA ของ "พริก" ที่เป็นลูกพี่ลูกน้องของมะเขือเทศ เพื่อการเพิ่มพลังให้พืชที่มีผลกลมสีแดงนี้ ด้วยการดัดแปลงพันธุกรรมให้มะเขือเทศสามารถผลิต แคปไซซิน (Capsaicinoids) ซึ่งเป็นสารให้รสเผ็ดที่มีอยู่ในพริก มันเป็นสารที่ทำให้เรารู้สึกเผ็ดร้อนในปากเมื่อเรากินอะไรที่มีรสชาติเผ็ด นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า จะทำให้สามารถผลิต สารให้รสเผ็ด ได้อย่างเพียงพอสำหรับการนำไปผลิตสินค้าในเชิงพาณิชย์
คุณ Agustin Zsögön ผู้เขียนอาวุโสของงานวิจัยชิ้นนี้ กล่าวไว้ในแถลงการณ์ว่า "การดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อให้มะเขือเทศสามารถผลิตสารให้ความเผ็ดได้ นั้นจะทำให้อุตสาหกรรมอาหาร สามารถผลิตสารให้ความเผ็ดได้ง่ายขึ้น และต้นทุนถูกลง ทำให้มีคุณค่าทางธุรกิจ และเราก็มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการดัดแปลงพันธุกรรมของสปีชีส์ใดๆ"
สารให้ความเผ็ด หรือ แคปไซซิน สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายมากกว่าการทำอาหาร มีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้ผลิตยารักษาความเสียหายของเส้นประสาท รวมถึงรักษาความเจ็บปวดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และนอกจากนี้ยังสามารถใช้ผลิตสเปรย์พริกไทยในการฉีดไล่แมลง และมะเขือเทศที่สามารถผลิตแคปไซซิน ทำให้ขั้นตอนการผลิตสารให้ความเผ็ดนั้นง่ายขึ้น และผลิตในจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ดี กระบวนการตัดต่อพันธุกรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบทางธรรมชาติของมะเขือเทศนั้นเป็นอะไรที่ท้าทาย ต้องค้นหาให้ได้ว่ายีนส์ตัวใดของมะเขือเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสารให้ความเผ็ด และเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลา และในตอนนี้นักวิจัยกำลังเดินไปตามเป้าหมายนั้น และคงจะอีกไม่นานที่เราจะได้สัมผัสกับมะเขือเทศที่มีรสชาติเผ็ดร้อน
|
ไม่เสพติดไอที แต่ชอบเสพข่าวเทคโนโลยี หาความรู้ใหม่ๆ มาใส่สมอง |