Social Network ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มนุษย์สามารถทำความรู้จักและมีโอกาสพูดคุยกันได้ง่ายขึ้น และการพูดคุยการได้เห็นความเคลื่อนไหวของแต่ละคนทำให้เราเกิดความเชื่อใจกันง่ายมากขึ้น แต่ มีคนที่อาศัยความเชื่อใจนี้เข้ามาหลอกลวงข้อมูลของเรา จากการสำรวจพบว่าเฉพาะใน Facebook มีลิงค์ที่เป็นการหลอกลวงสูงถึง 200 ลิงค์ต่อวันเลยทีเดียว บทความนี้จะช่วยให้เรารู้เท่าทันและป้องกันการโจมตีจากผู้ไม่หวังดีครับ
ในปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนใช้บริการมากถึง 845 ล้านคน ในแต่ละวันมีผู้เข้าใช้บริการประมาณ 483 ล้านคน ด้วยปริมาณผู้ใช้ที่เยอะมากขนาดนี้ มันจึงกลายเป็นเป้าหมายที่เหล่าอาชญากรให้ความสนใจ
การโจมตีที่อาชญากรนิยมใช้บนเฟสบุคคือการ สร้างลิงค์ที่เนื้อหาเกี่ยวกับผู้ที่มีชื่อเสียง หรือโปรโมชั่นสินค้าที่มีราคาดึงดูดใจ เพื่อหลอกล่อให้คนคลิกเข้าไป
อันตรายที่เกิดขึ้นคือลิงค์เหล่านี้มักจะมีการขออนุญาติเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเราที่ใส่ไว้ในเฟสบุค ถ้าเราอนุญาติให้ข้อมูลไป เราก็จะตกเป็นเป้าโจมตีทันที
ทวิตเตอร์ อีกหนึ่งโซเชียลเน็ตเวิร์คที่มีผู็ใช้สูงถึง 300 ล้านคน อนุญาติให้ผู้ใช้ส่งข้อความใดๆ ก็ได้ภายใต้ข้อจำกัดไม่เกิน 140 ตัวอักษร
การโจมตีที่นิยมก็คือ การแฝงลิงค์อันตรายมาในรูปแบบการย่อลิงค์ (Shorten Links) ที่จะย่อลิงค์ยาวๆ ให้อัตโนมัติของทวิตเตอร์ ถ้าเราไม่สังเกต URL ให้ดี เราอาจจะโดนหลอกให้เข้าไปยังหน้าเว็บที่ทำเลียนแบบขึ้นมาให้เหมือนเว็บจริงได้ครับ (Phishing)
แนวทางการป้องกัน
เริ่มแรกคือเริ่มที่พฤติกรรมการเปิดเผยข้อมูลของเราเอง ก่อนที่เราจะโพสสเตตัสใดๆ ก็ตาม เราควรคำนึงถึงผลกระทบก่อนว่า คนที่อ่านข้อมูลที่เราโพสแล้วจะรู้สึกเช่นไร ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน เพื่อนร่วมงาน หรือคนในครอบครัว รวมถึงคนที่เราไม่รู้จักที่อาจจะมีโอกาสเห็นข้อมูลของเราได้
การใส่ข้อมูลส่วนตัวก็เช่นกัน เราควรแน่ใจว่าข้อมูลที่เราเปิดเผยได้รับการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวที่เหมาะสมดีแล้ว ก่อนที่จะยืนยันการแสดงผลออกไป
หลักการป้องกันอันตรายจาก Social Network โดยคำแนะนำของ Trend Micro
1. ตรวจสอบลิงค์ที่ผ่านการย่อมาก่อนที่จะคลิกทุกครั้ง สามารถตรวจสอบได้ง่ายๆ ด้วยการเอาเมาส์ไปชี้ค้างไว้เหนือลิงค์
2. ระมัดระวังที่จะเพิ่มรายชื่อเพื่อน อย่ารับคนแปลกหน้าเข้ามาโดยไม่ทำการตรวจสอบให้ดี อาจจะมีมิจฉาชีพแฝงมาแอบล้วงข้อมูลส่วนตัวได้
3. ก่อนจะสมัครใช้งานเว็บไซต์ใด
4. อย่าใช้พาสเวิร์ดง่ายๆ อย่างวันเกิดหรือเบอร์โทรศัพท์
5. ตรวจสอบค่าความเป็นส่วนตัว เลือกเปิดเผยเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นเท่านั้น Social Network ส่วนใหญ่จะให้โอกาสการเลือกแสดงข้อมูลแค่บางส่วนอยู่แล้ว
6. แบ่งกลุ่มของรายชื่อเพื่อน เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการข้อมูลเวลาแบ่งปัน
บทส่งท้าย
โซเชียลเน็ตเวิร์คก็เป็นเหมือนดาบสองคม ที่ให้ได้ทั้งคุณประโยชน์และโทษ ผู้ใช้อย่างเราต้องให้ความระมัดระวังในการใช้งาน และพึงระลึกไว้เสมอครับ ว่าตัวตนในอินเตอร์เน็ตเป็นเพียงหัวโขนหนึ่งเท่านั้น อย่าสับสนคิดว่ามันสำคัญกว่าในชีวิตจริง จนปล่อยให้ข้อมูลทุกอย่างของเราเผยแพร่ออกไปทั้งหมดเป็นอันขาด
ขอบคุณข้อมูลจาก
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |