ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

ติดตามตำแหน่งของ สถานีอวกาศจีน ที่จะโหม่งโลกแบบเรียลไทม์ ลุ้นกันจนหายใจหายคอไม่ทัน

ติดตามตำแหน่งของ สถานีอวกาศจีน ที่จะโหม่งโลกแบบเรียลไทม์ ลุ้นกันจนหายใจหายคอไม่ทัน

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 8,344
เขียนโดย :
0 %E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87+%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99+%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A1%E0%B9%8C+%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%99
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

ตามที่เป็นกระแสข่าวดังอยู่ ณ ช่วงเวลานี้ กับการสถานีอวกาศจีน Tiangong-1 ที่กำลังจะตกใส่โลกในเร็ววันนี้ โดยที่ยังไม่มีใครสามารถระบุได้อย่างชัดเจน ถึงวัน เวลา และจุดตกของมัน และประเทศไทยอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของการโดนเศษซากของสถานีอวกาศตกใส่ด้วย โดยช่วงเวลา 5 วันอันตรายที่มีแนวโน้มว่ามันจะตกใส่โลก นั้นเริ่มตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม คลิกอ่านข่าว 5 วันอันตรายได้ที่นี่

คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

ติดตามตำแหน่งของ สถานีอวกาศจีน ที่จะโหม่งโลกแบบเรียลไทม์ ลุ้นกันจนหายใจหายคอไม่ทัน

ภาพหน้าเว็บไซต์ n2yo.com ที่ให้ข้อมูลตำแหน่งแบบเรียลไทม์ของสถานอวกาศจีน Tiangong-1

และสำหรับคนที่อยากติดตามความเคลื่อนไหวของสถานีอวกาศจีน Tiangong-1 อย่างใกล้ชิดแบบเรียลไทม์กันเลย ทางเว็บไซต์ n2yo.com เขามีบริการตรวจสอบพิกัดตำแหน่งของ Tiangong-1 ได้แบบเรียลไทม์ตามภาพด้านบน โดยตรงที่ลูกศรสีแดงชี้นั่นก็คือพิกัดของสถานีอวกาศจีนแบบเรียลไทม์บนแผนที่โลก โดยมีเส้นสีแดง แสดงเส้นทางโคจรของมัน คลิกที่นี่เพื่อเข้าเว็บ n2yo.com

ติดตามตำแหน่งของ สถานีอวกาศจีน ที่จะโหม่งโลกแบบเรียลไทม์ ลุ้นกันจนหายใจหายคอไม่ทัน

โดยตรงส่วนแผนที่นั้นมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์อยู่จำนวนหนึ่ง อาทิ พิกัดละติจูด (LAT), พิกัดลองจิจูด (LNG), ความสูงจากระดับน้ำทะเล หน่วยเป็นกิโลเมตร (ALT) และข้อมูลในส่วนของ NEXT PASS นั้นแสดงวันเวลาที่สถานีอวกาศจะบินโฉบใกล้เมืองที่เราอาศัยอยู่ โดยให้สังเกตในส่วนของ START AZIMUTH คือช่วงเวลาเริ่มต้นที่สถานีอวกาศลอยเข้ามา (ตามภาพคือวันที่ 30 มีนาคมเวลาตีสาม 50 นาที) และในส่วนของ END AZIMUTH คือช่วงเวลาสุดท้ายที่สถานีอวกาศลอยพ้นไป (30 มีนาคม เวลาตีสาม 56 นาที) และในส่วนของ TOTAL DURATION คือเวลารวมที่สถานอวกาศลอยอยู่ใกล้เมืองของเรา (5 นาที 55 วินาที)


ที่มา : www.n2yo.com


0 %E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87+%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99+%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A1%E0%B9%8C+%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%99
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
ไม่เสพติดไอที แต่ชอบเสพข่าวเทคโนโลยี หาความรู้ใหม่ๆ มาใส่สมอง
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น