ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ข่าวไอที
 

ICBM หรือ ขีปนาวุธข้ามทวีป คืออะไร ICBM ทำงานอย่างไร ?

ICBM หรือ ขีปนาวุธข้ามทวีป คืออะไร ICBM ทำงานอย่างไร ?

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 13,631
เขียนโดย :
0 ICBM+%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD+%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%9B+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+ICBM+%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

เป็นข่าวดังระดับโลกเมื่อวันอังคารที่ 28 พ.ย. 2017 ที่ผ่านมา เกาหลีเหนือประสบความสำเร็จในการทดสอบปล่อยขีปนาวุธข้ามทวีป Hwasong-15 และขีปนาวุธนี้ทะยานสูงขึ้นไปสู่ห้วงอวกาศ ก่อนที่จะตกลงสู่เป้าหมายบนโลก แล้วเจ้าขีปนาวุธข้ามทวีป มีหลักการทำงานอย่างไร เราจะมาดูกันนะ

คุณ Philip Coyle ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโสให้กับหน่วยงานควบคุมการใช้อาวุธ (Center for Arms Control and Non-Proliferation) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุง Washington, D.C. กล่าวว่า "น่าดีใจที่จนถึงทุกวันนี้ ยังไม่เคยมีประเทศใดในโลกที่โจมตีประเทศอื่นด้วยขีปนาวุธข้ามทวีปเลย (ขีปนาวุธข้ามทวีปนิยมเรียกว่า ICBM : ) โดยมีบางประเทศยิงขีปนาวุธรูปแบบนี้เพื่อการทดสอบ แต่เมื่อมีประเทศใดทำการทดสอบในลักษณะนี้ ก็มักจะเรียกร้องความสนใจจากชาติระดับมหาอำนาจของโลก"

ข่าวเบาๆ ที่ว่าด้วย ขีปนาวุธข้ามทวีป หรือ ICBM ทำงานอย่างไร?

ขีปนาวุธข้ามทวีป ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นระบบอาวุธจรวดติดหัวรบ ที่สามารถยิงจากทวีปหนึ่ง ให้ไปยังเป้าหมายในอีกทวีปหนึ่งได้ และการเดินทางของขีปนาวุธ จะเป็นไปในแบบวิถีโค้งพาราโบลา คล้ายกับการเคลื่อนที่ของลูกเบสบอลที่ถูกตีออกไป และแท่นปล่อยขีปนาวุธสามารถตั้งระนาบองศาการยิงได้อย่างหลากหลาย แต่ในกรณีของขีปนาวุธ  Hwasong-15 ของเกาหลีเหนือนั้น องศาของแท่นยิงนั้นตั้งฉากกับผิวโลกเลย ซึ่งถ้าต้องการให้ขีปนาวุธเดินทางไปได้ไกลขึ้น องศาการยิงก็จะถูกปรับเอนไปยังทิศทางของเป้าหมาย

และหากจะเป็นการยิงไปหาเป้าหมายจริงที่อยู่ในระยะทางไกลข้ามทวีป เกาหลีเหนือก็จะไม่ปล่อยขีปนาวุธในองศาที่ตั้งฉากกับโลก และจากการยิงทดสอบเมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2017 ขีปนาวุธ Hwasong-15 เดินทางไปได้ในระยะทางเพียง 620 ไมล์จากจุดปล่อย (1,000 กิโลเมตร) แต่ถ้าเป็นการยิงเป้าหมายจริง คาดว่าขีปนาวุธของเกาหลีเหนือสามารถเดินทางได้ในระยะทางที่ไกลเกิน 8,100 ไมล์จากจุดปล่อย (13,000 กิโลเมตร) เมื่อใช้วิถีการยิงในแบบมาตรฐาน แต่จนถึงเวลานี้ ก็ยังไม่มีใครรู้ว่าขีดความสามารถของขีปนาวุธเกาหลีเหนือว่าอยู่ในระดับใด

3 ห้วงเวลาของการปล่อยขีปนาวุธ

เมื่อขีปนาวุธข้ามทวีปถูกยิงออกจากฐาน มันก็จะเข้าสู่ห้วงเวลาที่เรียกว่า Boost phase โดยในห้วงเวลานี้ จรวดขับดันท่อนแรกจะพา ICBM พุ่งสูงขึ้นไปบนท้องฟ้าเป็นเวลาประมาณ 2-5 นาที จนจรวดลอยสูงขึ้นไปถึงชั้นบรรยากาศ และเมื่อจรวดขับดันท่อนแรกหมดเชื้อเพลิง ก็จะถูกสลัดทิ้ง จากนั้นจรวดขับดันท่อนที่ 2 ก็จะทำงานแทน โดยในส่วนของเชื้อเพลิงที่ใช้ในจรวดขับดันนั้นก็มีทั้งเชื้อเพลิงแบบเหลว และเชื้อเพลิงแบบแข็ง โดยที่เชื้อเพลิงแบบเหลวจะให้ระยะเวลาการเผาไหม้ที่ยาวนานกว่า ในขณะที่เชื้อเพลิงแบบแข็งนั้นจะให้พลังงานในการขับดันที่สูงกว่า แต่ก็จะเผาไหม้อย่างรวดเร็ว

โดยที่ทั้งเชื้อเพลิงแบบเหลว และแบบแข็งนั้นก็สามารถขับดันขีปนาวุธไปได้ไกลพอๆ กัน แต่ประเทศส่วนใหญ่ในโลกเลือกใช้เชื้อเพลิงเหลวในการขับดันขีปนาวุธ เพราะมีความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อเพลิงเหลวเป็นอย่างดี แต่เชื้อเพลิงแบบแข็งก็ยังมีจุดที่ดีกว่าคือไม่มีสภาพความเป็นพิษ

ในห้วงเวลาที่สอง ขีปนาวุธเดินทางผ่านอวกาศเป็นวิถีโค้งด้วยความเร็วที่สูงถึง 15,000 - 17,000 ไมล์ต่อชั่วโมง (24,140 - 27,360 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ด้วยความที่ในห้วงอวกาศไม่มีแรงเสีียดทานจากอากาศ ทำให้มันสามารถเดินทางด้วยความเร็วสูงขนาดนี้ได้

ขีปนาวุธบางรูปแบบสามารถใช้เทคนิคการนำวิถีแบบ Star shot ซึ่งก็เป็นการใช้ตำแหน่งของดวงดาว เพื่อปรับแต่งทิศทางการเคลื่อนที่เข้าหาเป้าหมายได้แม่นยำขึ้น

และในห้วงเวลาที่ 3 ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการเดินทางของขีปนาวุธ หัวรบจะเดินทางกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก เพื่อพุ่งเข้าหาเป้าหมาย และถ้าขีปนาวุธนั้นมีจรวดขับดันท่อนสุดท้าย มันก็จะใช้จรวดขับดัน เพื่อปรับทิศทางการพุ่งของหัวรบให้เที่ยงตรงยิ่งขึ้น และเมื่อหัวรบกำลังพุ่งผ่านชั้นบรรยากาศลงมาสู่เป้าหมาย จะเกิดความร้อนสูงมากเนื่องจากการเสียดสีกับชั้นบรรยากาศ ดังนั้นจึงต้องมีการติดตั้งฉนวนป้องกันความร้อนอย่างเหมาะสม

และสำหรับการปล่อยขีปนาวุธ Hwasong-15 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2017 ที่ผ่านมา มันใช้เวลาเดินทางถึงเป้าหมายใน 54 นาที ซึ่งนานกว่าการทดสอบปล่อยขีปนาวุธในวันที่ 4 กรกฎาคม 2017 ที่ใช้เวลาเดินทาง 37 นาที และการทดสอบปล่อยขีปนาวุธในวันที่ 28 กรกฎาคม 2017 ที่ใช้เวลาเดินทาง 47 นาที

คุณ Philip Coyle สรุปจบว่า "มีหลายประเทศที่มีขีปนาวุธข้ามทวีป อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย จีน อินเดีย และยังไม่เคยมีประเทศใดที่ใช้ขีปนาวุธข้ามทวีปโจมตีประเทศอื่นมาก่อน พวกเราทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีปเพียงเพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเราสามารถทำได้ ดังเช่นที่เกาหลีเหนือก็ทดสอบเช่นเดียวกัน แต่ก็ยังไม่เคยมีประเทศไหนเอามาใช้งานจริงในสงคราม เพราะจะนำไปสู่สงครามนิวเคลียร์ และก็คงไม่มีใครเหลือรอดอยู่ได้"


ที่มา : www.space.com


0 ICBM+%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD+%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%9B+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+ICBM+%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
ไม่เสพติดไอที แต่ชอบเสพข่าวเทคโนโลยี หาความรู้ใหม่ๆ มาใส่สมอง
 
 
 

ข่าวไอทีที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น