เมื่อต้นปี มีข่าวที่หลายๆ คนสนใจ เมื่อคุณซิกเว่ เบรกเก้ (Sigve Brekke) ที่คนไทยรู้จักกันดี กับอดีตผู้บริการดีแทค และเทเลนอร์ เข้ารับตำแหน่ง ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม และดิจิทัล เครือ CP โดยรับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา วันนี้ คุณซิกเว่ พบสื่อมวลชนที่คุ้นเคยกันมานาน
เมื่อคุณซิกเว่กลับมารับหน้าที่ สิ่งที่น่าจับตาคือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เพราะตลาดโทรคมนาคมเมืองไทยเปลี่ยนไป ไม่ได้เป็นโอเปอเรเตอร์มือถืออีกต่อไป แต่กำลังเข้าสู่ เทค คอมปะนี ที่ต่อยอด ไม่ใช่แค่การสื่อสาร ดาต้า แต่คืออนาคต ที่คุณซิกเว่ดูแลและนำทางบริษัทด้วยนโยบายที่มาจากมุมมองของผู้บริหารระดับโลก
หากนับระยะเวลา หลังจากการควบรวม True - dtac ก็ร่วมๆ 2 ปีกว่า ท่ามกลางการจับตามองของลูกค้าในเรื่องของสัญญาณ การให้บริการ และการตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้ในยุคปัจจุบัน ในยุคที่อินเทอร์เน็ตบ้านเราเร็ว ใช้งานได้อย่างไม่สะดุด ยุคของ Cloud, AI กับประสบการณ์ดิจิทัล การเข้าถึง ซึ่งหลังจากการควบรวมก็ได้มีการพัฒนาเครือข่าย การรวมเครือข่าย 2 ค่าย True และ dtac เชื่อมต่อสู่เมืองอัจฉริยะ ที่อาจจะไม่ได้มองเห็นด้วยตาเปล่า แต่สัมผัสได้ว่า การใช้งานของลูกค้าทั้ง 2 ค่าย Seamless ไร้รอยต่อ ไม่กระทบการใช้บริการ และมีทางเลือก มีสิทธิประโยชน์มากขึ้น
น่าจับตา กับบทบาทใหม่ ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มทรูของคุณซิกเว่ ที่เผยมุมมอง และประสบการณ์จากการบริหารบริษัทระดับโลก เพื่อขับเคลื่อนบริษัทของไทยให้ก้าวสู่ เทค คอมปะนี เป็นงานที่คุณซิกเว่ มองการรวมกันของ 2 บริษัท ยังมีสิ่งที่ต้องทำอีกมาก และมองอนาคต การบริการลูกค้า การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการลูกค้า การสร้างแบรนด์ที่ลูกค้าไว้วางใจ แม้จะรวม 2 ค่าย แต่ก็ยังต้องแข่งขันในใจของลูกค้า และยอมรับว่าค่ายอื่นก็แข็งแกร่ง ปรับตัวได้ดี คุณซิกเว่อยากให้ทรูพัฒนานวัตกรรมเพื่อคนไทย การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มองลูกค้าเป็นศูนย์กลาง มองความต้องการของลูกค้า การนำ AI เข้ามาใช้ ยกระดับประสบการณ์ลูกค้า และไม่หยุดนิ่งกับการเป็น Telco แต่ขยับไปเป็นบริษัทเทคคอมปะนีชั้นนำของโลกให้ได้
เราได้เห็นการพัฒนาเครือข่าย การรวมเครือข่ายให้ผู้ใช้ได้ประโยชน์สูงสุด การปรับร้าน ช้อป ศูนย์บริการ ในแบรนด์เดียว แอปมือถือที่บริการตนเองได้อย่างสะดวกในแอปเดียว สิ่งเหล่านี้เราเริ่มเห็นด้วยตา ส่วนสัญญาณเราสัมผัสได้ว่าราบรื่นมากขึ้น มีการนำ AI Chatbots, Voice Bots มาใช้ และช่วยพนักงานในการให้บริการตรงใจลูกค้ามากที่สุด
การควบรวมหรือการ Merger เหมือนการวิ่งมาราธอน ทุกคนวิ่งไปด้วยกัน ไม่ใช่ใครวิ่งนำ หรือยืนมองดูคนอื่นวิ่ง แต่วิ่งไปพร้อมกัน เพื่อเป้าหมาย ให้ถึงจุดหมาย
สิ่งที่บริษัททำหลังจากการควบรวมคือ การตอบแทนลูกค้าด้วยความพึงพอใจ ทั้งด้าน แบรนด์ที่น่าเชื่อถือ ประสบการณ์ของลูกค้า (ใช้งานต่อเนื่อง เป็นลูกค้ายาวๆ) เครือข่ายรองรับอนาคต การนำ AI, Cloud, IoT มาใช้ในการให้บริการลูกค้า
Network Modernization รวมพลัง ทรู - ดีแทค ความครอบคลุมของสัญญาณ ที่ก่อนหน้านี้ดีอยู่แล้ว ยิ่งดีกว่าเดิม 5G เร็วขึ้น ลดความหนาแน่นกระจุกตัว ใช้งานได้ราบรื่นมากยิ่งขึ้น
และสิ่งที่หลายๆ คนรอคอย หลังจากการควบรวมก็คือเรื่องสัญญาณ กับ Network Modernization ล่าสุดคือ 87% (นับถึงไตรมาสที่ 1/2568) และในเดือนกันยายน 2568 นี้ เครือข่ายจะผสานกันสำเร็จสมบูรณ์ 100%
ภูเก็ตโมเดล เป็นจังหวัดต้นแบบแห่งแรกที่พัฒนาเครือข่ายให้ทันสมัยเสร็จ 100% ใช้เครือข่ายร่วมกัน True - dtac ได้ราบรื่นเสร็จ 100% ย่านความถี่เดียวกัน รวมคลื่น ต่ำ - กลาง - สูง ใช้ 5G 2600MHz ได้เต็มช่วงกว้างความถี่ ใช้ 5G ได้ไวขึ้น ได้ประสบการณ์ที่ดีขึ้น เพราะลดพื้นที่การใช้งานหนาแน่นได้สำเร็จ 100% ดังนั้น ใช้งานที่ไหนก็จะไม่ติดขัด ไม่มีสะดุด ความแรงของสัญญาณ 4G 5G ดีขึ้น
นอกจากนี้ บริษัทได้มีการนำ AI มาช่วยในการให้บริการลูกค้า ไม่ใช่แค่ เสียงของ AI แต่เป็นการนำ AI มาช่วยตอบโจทย์การทำงาน นำเสนอบริการที่ตรงกับพฤติกรรมการใช้งานจริงของลูกค้าแต่ละคน
ในมุมของผู้บริหาร คุณซิกเว่มองการเป็นผู้นำ วัฒนธรรมองค์กรสำคัญ เพราะผู้นำไม่ใช่แค่สั่งงาน แต่ฟังลูกทีม ร่วมกันพัฒนาองค์กร และต้องมีพันธมิตรเชิงกลยุทธ์
มีคำถามที่น่าสนใจจากสื่อมวลชน โดยเฉพาะในการเรื่องการสร้าง Data Center ซึ่งทรูไม่ได้มองว่าจะใช้บริษัทไหน (ของทรู) ทำ Data Center แต่มองการลงทุน มองหาพันธมิตรใหม่ๆ ได้คุยกับลูกค้ารายใหม่ๆ เน้นการสร้าง และลงทุน Data Ceter แต่ไม่เกี่ยวกับ True IDC ทรูมองตรง "การลงทุน" แต่ไม่ใช่การตั้ง Cloud Data Center เอง โดยมองการลงทุน 28,000 - 30,000 ล้านบาท ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน Cloud First, AI First การนำ AI มาใช้ และจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับ True IDC เป็นการนำการบริการ IT, Network Infrastructure ไปอยู่บนคลาวด์
ในส่วนของ True เพิ่งประกาศผลประกอบการ ไตรมาสที่ 1/2568 เมื่อไม่กี่วันมานี้ คุณซิกเว่มองว่าอยากได้ลูกค้าเติมเงินเพิ่ม และปัจจุบันแม้เราจะใช้ 5G แล้ว แต่ยังมีลูกค้าใช้ 3G อยู่ ก็อยากให้เปลี่ยนอุปกรณ์หรือเครื่องเป็น 4G เพื่อรองรับ Voice Over LTE (VoLTE) ด้วย และไม่มีแผนที่จะปิด 3G แต่เน้นให้คนใช้มือถือ 4G เปิดฟีเจอร์รองรับ Voice Over LTE
ในขณะที่ การก้าวเข้าสู่ Tech Company นั้น ยังเป็นช่วงเริ่มต้น เพราะควบรวมกันมา 2 ปีกว่า แต่ยังมองไกลไปว่ามีความเป็นไปได้ โดยแม้จะมีคู่แข่งแต่ก็ยังต้องแข่งขันเพื่อให้ประโยชน์กับคนไทยทุกคน ความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนไป
โดยความสำเร็จใน 100 วัน หลังจากเข้ารับตำแหน่งของคุณซิกเว่ มองเรื่องกำไร การเติบโต รายได้ ลูกค้าพึงพอใจ นำ AI, Cloud มาใช้ นำทุกอย่างขึ้น Cloud ไม่ทำแบบเดิม คือ ไม่เป็น Telco ไม่แข่ง Tariff (ค่าบริการ แพ็กเกจ) แต่มองการใช้งานดาต้า การต่อยอดกับ AI, Cloud ต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ เพราะไม่ใช่บริษัทโทรคมนาคมอีกต่อไป เป็นบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก แข่ง Google, Apple, LINE ให้ได้
จากข้อมูลการควบรวมบริษัททั่วโลก มี 60% ของบริษัทที่ควบรวม ไม่ประสบความสำเร็จในการควบรวม ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเปลี่ยนผ่าน และอีก 2 ปีเราจะได้เห็นกัน
ดังนั้น จากนี้ไป คุณซิกเว่ ในฐานะผู้บริหารทรู จะนำพาทรู คอร์ปอเรชั่น พัฒนาทั้ง สินค้า บริการ วิธีการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร เพื่อประสบการณ์ของลูกค้าในยุคปัจจุบัน ก้าวเข้าสู่บริษัท Telecom Tech Company ที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลางในอนาคต
|