ในการต่อกรกับผู้ก่อการร้ายเวลาที่มีการจับตัวประกัน หรือเรียกค่าไถ่นั้น หน่วยงานรัฐหลายแห่งมักจะยึดถือหลักการ ไม่จ่าย และ ไม่เจรจากับผู้ก่อการร้าย สำหรับในคราวนี้ก็ดูเหมือนว่าผู้ที่ตกเป็นเหยื่อมัลแวร์เรียกค่าไถ่ หรือ แรนซัมแวร์ (Ransomware) หลายรายก็กำลังหันมาใช้หลักการเดียวกัน
จากรายงานโดยเว็บไซต์ Cyber Security News ได้รายงานถึงผลงานวิจัยถึงการรับมือของเหยื่อจากการถูกโจมตีโดยแรนซัมแวร์ ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวเป็นผลงานของ Chainalysis โดยผลวิจัยได้นำเสนอหลายตัวเลขสถิติที่มีความน่าสนใจ โดยตัวเลขส่วนมากในปี ค.ศ. 2024 (พ.ศ. 2567) ได้แสดงถึงการพัฒนาไปในทิศทางเชิงบวก อย่างเช่น
ทีมวิจัยได้พบว่า ในปี ค.ศ. 2024 (พ.ศ. 2567) นั้นมีการจ่ายเงินเรียกค่าไถ่เพียง 813.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 27,302 ล้านบาท) เมื่อเทียบกับในปี ค.ศ. 2023 (พ.ศ. 2566) ที่มีการจ่ายเงินเรียกค่าไถ่ที่สูงมากถึง 1.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 41,949 ล้านบาท)
นอกจากนั้นผลจากการที่หน่วยงานรัฐได้ทำการปราบปรามกลุ่มก่อการร้ายไซเบอร์ที่ทำการปล่อยมัลแวร์ LockBit และ ALPHV/BlackCat นำมาสู่การที่การจ่ายเงินเรียกค่าไถ่ให้กลุ่มก่อการร้ายกลุ่มดังกล่าวในครึ่งหลังของปี ค.ศ. 2024 (พ.ศ. 2567) ลดลงถึง 79% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกในปีเดียวกัน
นอกจากนั้นแล้วทีมวิจัยยังพบอีกว่า เหยื่อนั้นมีการแข็งขืนกับกลุ่มผู้ปล่อยแรนซัมแวร์มากขึ้น โดยจำนวนผู้ที่ยอมเจรจาเพื่อจ่ายเงินเรียกค่าไถ่นั้นมีเพียง 30% ของเหยื่อทั้งหมดเท่านั้นที่ยอมจ่ายเงินให้กับทางผู้ก่อการร้าย
โดยทางทีมวิจัยได้ทำการสรุปรวมแบบปีต่อปีแล้ว พบว่าปริมาณของผู้ที่ยอมจ่ายเงินเรียกค่าไถ่นั้น ลดลงจากปีก่อนถึง 35% เลยทีเดียว
นอกจากนั้นยังมีข้อมูลอีกหลายอย่างจากงานวิจัยที่มีความน่าสนใจอย่างเช่น
|